คำแนะนำ
เสี่ยงซื้อในบริเวณ $1,052(ตัดขาดทุนหากหลุด $1,046) ทั้งนี้ควรพิจารณาการแกว่งตัวของค่าเงินบาทประกอบการตัดสินใจลงทุน
ทองคำ
แนวรับ 1,056 1,052 1,046
แนวต้าน 1,067 1,072 1,080
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำสปอตสหรัฐฯในปี 2558 ปรับตัวลง 122 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราว 10% โดยมีสาเหตุหลักมาจากความกังวลในประเด็นการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะที่การประชุมครั้งสุดท้ายของปี 2558 เฟดได้ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% อยู่ในช่วง 0.25-0.50% ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์กันไว้ ขณะที่ราคาทองคาในประเทศนั้นปรับตัวลงน้อยกว่าราคาทองคาในตลาดโลกค่อนข้างมาก โดยอ่อนตัวลงเพียง 350 บาทต่อบาททองคา หรือประมาณ 1.88% เนื่องจากค่าเงินบาทในปีนี้อ่อนค่าไปแล้วถึง 3.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯหรือราว 9.42 % ในส่วนของกองทุน SPDR ในปีที่ผ่านมาได้ลดการถือครองทองคาลงถึง 66.65 ตัน
ปัจจัยเทคนิค
ราคาทองคำยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ เบื้องต้นประเมินแนวรับที่ 1,052-1,056 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากทะลุลงมา จะมีแนวรับสาคัญในบริเวณจุดต่าสุดเดิมที่ 1,046 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1,067-1,072 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน
เสี่ยงซื้อในบริเวณ 1,052 ดอลลาร์ต่อออนซ์ พร้อมตัดขาดทุนหากราคาทาจุดต่าสุดใหม่(ต่ากว่า 1,046 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ขณะที่การเปิดสถานะขายอาจต้องชะลอหากราคายืนเหนือ 1,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวสารประกอบการลงทุน
(+)ราคาบ้านในจีนปรับตัวขึ้นอีกในเดือนธ.ค. คาดขยายตัวต่อเนื่องในปี 2559 ราคาบ้านใน 100 เมืองของจีนขยายตัวขึ้นเกือบ 1% โดยเฉลี่ย เมื่อเทียบรายเดือนในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ในรอบปี 2558 องค์กรวิจัยอสังหาริมทรัพย์ China Index Academy เปิดเผยว่า ราคาบ้านใหม่โดยเฉลี่ยใน 100 เมืองสาคัญของจีนอยู่ที่ 10,980 หยวน (1,690.9 ดอลลาร์) ต่อตารางเมตร เพิ่มขึ้น 0.74% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย. รายงานระบุว่า ในเดือนธ.ค.นั้น มีอยู่ 51 เมืองที่ราคาบ้านขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้น 10 เมืองเมื่อเทียบกับเดือนพ.ย. ส่วนเมืองที่ราคาบ้านปรับตัวลงมีจานวนลดลงสู่ 45 เมืองในเดือนธ.ค. จาก 56 เมืองในเดือนพ.ย. ทางสถาบันฯคาดการณ์ในรายงานอีกฉบับหนึ่งว่า ราคาบ้านในจีนจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2559 ขณะที่ความแตกต่างระหว่างเมืองขนาดใหญ่และขนาดเล็กจะยังคงมีอยู่
(+)สนง.สถิติแห่งชาติจีนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนธ.ค.ขยับขึ้นแตะ 49.7 สานักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขยับขึ้นแตะระดับ 49.7 ในเดือนธ.ค. 2558 จากระดับ 49.6 ในเดือนพ.ย. 2558 โดยดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว แต่ดัชนีที่อยู่ต่ากว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงการหดตัวลง ดัชนีย่อยด้านการผลิตเพิ่มขึ้นแตะระดับ 52.2 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 51.9 ในเดือนพ.ย. ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวที่สูงขึ้นในด้านการผลิต ส่วนดัชนีย่อยด้านคาสั่งซื้อใหม่ อยู่ที่ 50.2 ซึ่งกลับมาอยู่ในแดนบวก จากระดับ 49.8 ในเดือนพ.ย. ซึ่งบ่งชี้ว่าความต้องการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
(+/-)อิหร่านชี้การเพิ่มการส่งออกน้ามันขึ้นอยู่กับอุปสงค์ในอนาคต เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิหร่านระบุว่า การเพิ่มการส่งออกน้ามันของอิหร่านหลังจากที่มีการยกเลิกการคว่าบาตรต่ออิหร่านจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์น้ามันในตลาดโลกและจะไม่ทาให้ราคาน้ามันปรับตัวลดลง เจ้าหน้าที่รายดังกล่าวระบุว่า “การตัดสินใจเพิ่มการส่งออกจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของตลาด และอิหร่านจะปรับเพิ่มโควต้าในตลาดอย่างต่อเนื่อง" ทั้งนี้ อิหร่านได้ระบุหลายครั้งก่อนหน้านี้ว่า มีแผนจะเพิ่มกาลังการผลิตน้ามันอีก 500,000 บาร์เรลต่อวันหลังจากที่ได้รับการยกเลิกการคว่าบาตร และจะปรับเพิ่มกาลังการผลิตขึ้นอีก 500,000 บาร์เรลต่อวันหลังจากนั้น เพื่อก้าวขึ้นสู่ตาแหน่งผู้ส่งออกน้ามันรายใหญ่อันดับสองของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ามัน หรือ โอเปก นักวิเคราะห์กล่าวว่า ราคาน้ามันมีแนวโน้มจะยังคงได้รับแรงกดดันในปีนี้ เนื่องจากหลายประเทศได้ยกเลิกการคว่าบาตรต่ออิหร่านภายใต้ข้อตกลงนิวเคลียร์เมื่อเมือนมิ.ย.ที่ผ่านมา
(+/-)ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ศก.ไทยปี59 โต 3%จากการลงทุนภาครัฐ แต่ส่งออกแผ่ว นายเชาวน์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จากัด กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเป็นร้อยละ 3 จากปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยมีการลงทุนภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งหากภาครัฐลงทุนตามแผนที่วางไว้ เอกชนก็จะเริ่มลงทุนตาม ซึ่งคาดหวังว่าการลงทุนภาคเอกชนในปี 2559 จะกลับมาเป็นบวก หลังจากติดลบต่อเนื่องมา 3 ปี ซึ่งประเมินว่าเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ปลายปี 2559 และเต็มที่ในปี 2560-2561
(+/-)ศูนย์วิจัยกสิกรฯคาดกรอบค่าเงินบาท 35.90-36.20 จับตาข้อมูลศก.สหรัฐฯ สาหรับสัปดาห์ช (4-8 ม.ค. 2559) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 35.90-36.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยอาจต้องจับตาปัจจัยบวกของเงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สาคัญ อาทิ การจ้างงานนอกภาคเกษตร ดัชนี PMI ภาคการผลิต-ภาคบริการเดือนธ.ค. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนพ.ย. นอกจากนี้ นักลงทุนอาจจับตาบันทึกการประชุมเฟด (เมื่อวันที่ 15-16 ธ.ค. 58) ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการในเดือนธ.ค. ของหลายๆ ประเทศ และอัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค. ของไทย
ข่าวเด่น