คำแนะนำ
เสี่ยงซื้อในบริเวณ $1,117 และทยอยปิดสถานะทากาไรบางส่วนหากไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน $1,138-$1,140
ทองคำ
แนวรับ 1,117 1,108 1,100
แนวต้าน 1,140 1,152 1,160
ปัจจัยพื้นฐาน
ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนเพิ่มความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยภาคการผลิตของจีนหดตัวลงในเดือนมกราคมใน อัตราสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง และราคาน้ามันเริ่มปรับตัวลงอีกครั้งจากการคาดการณ์เรื่องภาวะอากาศอบอุ่นในสหรัฐ และจากการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ามัน (โอเปก) กับประเทศผู้ผลิตน้ามันนอกกลุ่มโอเปกอาจจะไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการปรับลดปริมาณการผลิตน้ามัน กระตุ้นแรงซื้อทองคาในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยดันราคาทองคาระหว่างวันขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 3 เดือนที่ 1,129.70 ดอลลาร์ หลังจากทองคาได้รับปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินสาคัญในวันจันทร์จากมุมมองที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วตามที่คาดไว้ในปีนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอ
ปัจจัยเทคนิค
ราคาทองคาพยายามขึ้นไปทดสอบแนวต้านสาคัญจะอยู่ในโซน 1,138-1,140 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้แสดงถึงแรงเข้าซื้อในระยะสั้น หากยืนได้แข็งแกร่ง ทาให้ประเมินว่าในระยะสั้น ยังคงมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบ แนวต้านถัดไป 1,152 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวรับนั้นอยู่ในบริเวณ 1,117 หรือ 1,108 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กยุทธ์การลงทุน
เสี่ยงเปิดสถานะซื้อหากราคาอ่อนตัวลงมาในโซน 1,117 ดอลลาร์ต่อออนซ์ พร้อมลดการลงทุนหากราคาหลุด 1,108 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้อาจพิจารณาแบ่งทองคาออกขายทากาไรบางส่วนหากราคาทองคาไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,138-1,140 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวสารประกอบการลงทุน
(+)ดอลล์อ่อนค่าลงเทียบตะกร้าเงิน ดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินสาคัญในวันจันทร์จากมุมมองที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วตามที่คาดไว้ในปีนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอ และการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงอีกของธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินสาคัญ 6 สกุลลดลง 0.62% สู่ระดับ 98.989 ขณะที่ดอลลาร์ลดลง 0.06% สู่ 121.070 เยน และอ่อนลง 0.42% สู่ 1.01910 ฟรังก์สวิส
(+)ISM เผยภาคการผลิตสหรัฐหดตัวเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนม.ค. ผลสารวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ภาคการผลิตของสหรัฐหดตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนม.ค. การร่วงลงของดัชนีได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ และการแข็งค่าของดอลลาร์ ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของ ISM ขยับขึ้นสู่ระดับ 48.2% ในเดือนม.ค. จากระดับ 48 ในเดือนธ.ค. อย่างไรก็ดี ดัชนี PMI อยู่ต่ากว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการหดตัว
(+/-)รองปธ.เฟดชี้ยากจะประเมินผลกระทบของความผันผวนทั่วโลกต่อศก.สหรัฐ นายสแตนลีย์ ฟิสเชอร์ รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเมื่อวานนี้ว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าความผันผวนของตลาดทั่วโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในช่วงที่ผ่านมาจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างไร “ในขณะนี้ เป็นเรื่องยากที่จะระบุถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากความผันผวนนี้" นายฟิสเชอร์กล่าวในงานที่จัดโดยสภาวิเทศสัมพันธ์ โดยระบุถึงความปั่นป่วนของตลาดโลกเมื่อเร็วๆนี้ “หากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ภาวะทางการเงินตึงตัวต่อเนื่อง ก็อาจจะส่งสัญญาณถึงเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวและเงินเฟ้อในสหรัฐ" เขากล่าวเสริม “แต่เราเคยเผชิญความผันผวนที่คล้ายคลึงกันนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งแทบไม่ส่งผลกระทบยืดเยื้อต่อเศรษฐกิจ"
(+/-)ประธาน ECB เตือนความเสี่ยงเศรษฐกิจยุโรปรุนแรงขึ้น หลังตลาดเกิดใหม่ป่วน นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุเตือนว่า ความเสี่ยงในช่วงขาลงที่เศรษฐกิจยุโรปกาลังเผชิญอยู่ ได้เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะปั่นป่วนในตลาดเกิดใหม่ ประธาน ECB กล่าวว่า ความเสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่แน่นอน นับตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. ซึ่งขณะนั้น ECB ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย และขยายช่วงเวลาในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) คากล่าวของนายดรากีมีขึ้น ขณะที่ ECB กาลังพิจารณาขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุมนโยบายการเงินครั้งต่อไปในวันที่ 10 มี.ค. นายดรากีได้กล่าวย้าท่าทีก่อนหน้านี้ของเขาที่ว่า ECB ได้พบความเสี่ยงในระดับสูง ซึ่งได้ทาให้ ECB ทาการพิจารณาทบทวนความพยายามในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ข่าวเด่น