ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
วายแอลจีมองราคาทองในระยะสั้นยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ เน้นเก็งกำไรในกรอบ 1,185-1,230 ดอลลาร์ต่อออนซ์


คำแนะนำ
   

เน้นการเก็งกำไรในกรอบ 1,185-1,230 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำยังคงพยายามยืนเหนือโซนแนวรับแรกได้ ทำให้ราคายังคงมีโอกาสขยับขึ้นเพื่อทดสอบแนวต้านอีกครั้ง

ทองคำ
   แนวรับ 1,19ะ5 1,185 1,170
   แนวต้าน 1,218 1,230 1,241

ปัจจัยพื้นฐาน
   

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากการร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์ หลังรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ในเดือนม.ค.บ่งชี้ถึงความวิตกของเฟดที่ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ และรายงานการประชุมบ่งชี้ว่าผู้กาหนดนโยบายของเฟดพิจารณาเรื่องการปรับเปลี่ยนแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2016 อย่างไรก็ดีราคาทองปรับขึ้นไม่มากนักเนื่องจากตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งขึ้นหลังราคาน้ามันพุ่งขึ้น 7% ในวันพุธหลังอิหร่านสนับสนุนรัสเซียและซาอุดิอาระเบียในการตรึงการผลิต ในระยะนี้ราคาปรับตัวผันผวนนักลงทุนควรพิจารณาทั้งปัจจัยพื้นฐาน-ปัจจัยทางเทคนิคและค่าเงินบาทประกอบการลงทุน

ปัจจัยเทคนิค
  

ราคาทองคาพยายามขึ้นไปทดสอบโซน 1,218 ดอลลาร์ต่อออนซ์วานนี้ เบื้องต้นประเมินว่าในระยะสั้น ยังคงมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ โดยหากทะลุ 1,218 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปได้ แนวต้านสาคัญจะอยู่ในโซน 1,230 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวรับนั้นอยู่ในบริเวณ 1,195-1,185 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 
(+) ดอลล์ร่วงเทียบเยนหลังเฟดเผยรายงานประชุม ดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับเยนในวันพุธ หลังรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนม.ค.บ่งชี้ถึงความวิตกของเฟดที่ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ รายงานการประชุมสนับสนุนมุมมองที่ว่า เฟดจะยกเลิกการส่งสัญญาณในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการร่วงลงอย่างรุนแรงของตลาดหุ้น ?
  

(-) การประชุมปท.ผลิตน้ามันเสร็จสิ้นแล้ว อิหร่านประกาศจับมือโอเปกสร้างเสถียรภาพราคา การประชุมระหว่างรัฐมนตรีน้ามันของอิหร่าน และประเทศผู้ผลิตน้ามันรายอื่นได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยรัฐมนตรีน้ามันของอิหร่านประกาศว่าจะสนับสนุนความพยายามในการสร้างเสถียรภาพต่อราคาน้ามัน ซึ่งรวมถึงการให้ความร่วมมือกับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ามัน (โอเปก) และผู้ผลิตน้ามันนอกกลุ่มโอเปก ทั้งนี้ นายบิจาน ซานกาเนห์ รมว.น้ามันอิหร่าน กล่าวว่า เขาสนับสนุนการกาหนดเพดานการผลิตน้ามันเพื่อสร้างเสถียรภาพต่อราคา โดยจะเป็นขั้นตอนแรกที่ควรมีการดาเนินการ ท่าทีของอิหร่านดังกล่าวถือว่าแตกต่างจากจุดยืนก่อนหน้านี้ที่ว่า อิหร่านจะไม่สนับสนุนแผนการจากัดการผลิตน้ามัน เนื่องจากอิหร่านต้องการเพิ่มการผลิตเพื่อชดเชยจานวนที่ขาดหายไปในช่วงที่ถูกนานาชาติคว่าบาตร
   

(-) ข่าวอิหร่านหนุนน้ามันดิบเบรนท์พุ่งขึ้น 7.2% ราคาน้ามันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้น 5.6% ในวันพุธ หลังจากอิหร่านประกาศสนับสนุนความเคลื่อนไหวของรัสเซียกับซาอุดิอาระเบียในการตรึงปริมาณการผลิตน้ามันไว้ที่ระดับเดิมเพื่อแก้ไขภาวะน้ามันล้นตลาด
   

(-) หุ้นกลุ่มพลังงานหนุนดาวโจนส์ปิดบวก 1.6% ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันในวันพุธ นาโดยหุ้นกลุ่มพลังงานขณะที่ราคาน้ามันพุ่งขึ้น และข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งนี้ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่ง 257.42 จุดหรือ1.59%สู่16,453.83,ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 31.24 จุดหรือ 1.65%สู่ 1,926.82 และดัชนี Nasdaq ปิดเพิ่มขึ้น98.11จุดหรือ2.21% สู่ 4,534.07
   

(-) สหรัฐเผยดัชนี PPI ทั่วไปเพิ่มขึ้นเกินคาด 0.1% ในเดือนม.ค. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ทั่วไปเพิ่มขึ้นเกินคาด 0.1% และดัชนี PPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเกินคาด 0.4% ในเดือนม.ค.นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสารวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าดัชนี PPI ทั่วไปอาจลดลง 0.2%ในเดือนม.ค. หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนธ.ค. และดัชนี PPIพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานอาจเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค. ?
  

(-) เฟดเผยการผลิตภาคอุตฯดีดตัวขึ้นเกินคาดในเดือนม.ค. หลังร่วงลง 3 เดือนติด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 0.9% ในเดือนม.ค. หลังจากร่วงลง 3 เดือนติดต่อกัน นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนม.ค. การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้นในเดือนม.ค. โดยได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของภาคการผลิต และภาคสาธารณูปโภค ขณะที่ภาคเหมืองแร่ทรงตัว ส่วนอัตราการใช้กาลังการผลิตในเดือนม.ค.ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 77.1% จากระดับ 76.4% ในเดือนธ.ค. ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นการประเมินผลผลิตในภาคการผลิต ภาคสาธารณูปโภค และภาคเหมืองแร่ของสหรัฐ

    


บันทึกโดย : วันที่ : 18 ก.พ. 2559 เวลา : 10:42:47

20-09-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 20, 2024, 6:23 pm