ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
หยิบเงินหยิบทอง - บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง


กลยุทธ์วันนี้ Sideways

ตลาดหุ้นวานนี้: ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่ผ่านมา SET INDEX ยังคงเป็นทิศทางของการไต่ระดับขึ้นทดสอบด่าน 1,340 จุด ผลักดันด้วยกลุ่ม ICT / พลังงาน / ค้าปลีก อีกทั้งตลาดหุ้นยุโรปเปิดบวกต่อเนื่องในรอบบ่าย ทำให้บรรยากาศการลงทุนที่แม้เผชิญกับแรงขายทำกำไร แต่ยังสามารถประคองในแดนบวกได้ ปิด ณ สิ้นวันที่ 1,343.07 จุด บวกอีก 9.65 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเพียง 40,234 ล้านบาท

 

 

เม็ดเงินทุนต่างชาติ แม้ว่าจะขายสุทธิตลาดหุ้นเป็นวันแรกในรอบ 9 วันทำการ 1,373 ล้านบาท แต่ Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 3 อีก 3,761 สัญญา และซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 2 มากถึง 15,350 ล้านนบาท


ปัจจัยสำคัญวันนี้

- ติดตามภาวะเศรษฐกิจไทย เดือนม.ค. วันนี้ คาดการลงทุนจากภาครัฐยังคงขยายตัวเด่น

- การทยอยประกาศจ่ายเงินปันผลของหุ้นหลักในกลุ่มธนาคาร ยังเหลือ KTB

- ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัว หลังท่อส่งน้ำมันอิรัก และไนจีเรียมีปัญหา ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมัน 8.0 แสนบาร์เรล/วัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์

มุมมองต่อตลาด

ภาพการลงทุนในวันนี้ เรากลับให้น้ำหนักเป็น “กลาง” แม้ว่า SET INDEX จะยังคงไต่ระดับขึ้นทดสอบด่านสำคัญ 1,350 จุดในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายก็ตาม แต่เราประเมินว่าด่านนี้ ยังต้องใช้เวลาในการทดสอบสักพัก รวมถึงติดตามมูลค่าการซื้อขายที่จะกลับมาหนาแน่นระดับ 5.0 หมื่นล้านบาท/วัน +/- ได้อีกหรือไม่

 

แต่ Downside risk ของ SET INDEX ก็ยังเป็นไปอย่างจำกัดอีกเช่นกัน เพราะด้านพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง หากวันนี้ ธปท.รายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือนม.ค.ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนภาครัฐ และการบริโภคภายในประเทศ อีกทั้งผลการดำเนินงานใน 4Q58 ออกมาใกล้เคียงคาด หรือดีกว่าคาด เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การปรับประมาณการปี 2559 รวมถึงราคาเหมาะสมลง เป็นไปอย่างจำกัด

 

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกเหนือจากการเก็งกำไรต่อการประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันวันที่ 1 มี.ค. เพื่อตกลงถึงเพดานกำลังการผลิตน้ำมันตามที่ซาอุฯ และรัสเซีย ได้ตกลงร่วมกันในกลางเดือนก.พ.ที่ผ่านมา

อีกทั้งปัญหาจากท่อส่งน้ำมันของอิรัก และไนจีเรีย ช่วยจำกัด Downside risk ของราคาน้ำมันได้อีกเช่นกัน แต่อาจกลับมาเป็นประเด็นเชิงบวกต่อการเก็งกำไรด้านขึ้นของราคาน้ำมันดิบได้ในช่วงสั้นๆ เป็นบวกต่อกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี รวมถึง SCC

เราประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX ระหว่าง 1,335-1,350 จุด หุ้นหลักมีแนวโน้มพักฐานมากขึ้น ทั้งกลุ่มธนาคาร / อสังหาฯ / พลังงาน /ปิโตรเคมี และหุ้นขนาดกลางและเล็กมีแนวโน้มจะกลับมาโดดเด่น ตามผลการดำเนินงาน 4Q58 ที่ออกมาดีกว่าคาดและทิศทางยังเป็นบวกในปีนี้

 

กลยุทธ์การลงทุน

เราแนะนำให้ “นักลงทุนทยอยเก็งกำไรหุ้นรายตัว แบบจำกัดวงเงินมากขึ้น เพราะด่านใหญ่ 1,350 จุด ยังไม่น่าผ่านได้ในเร็วๆ นี้ และความผันผวนจะกลับมาอยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้ จากทิศทางการลงทุนของพอร์ตโบรกเกอร์”

Accumulative Buy: KTB

Speculative Buy: TPIPL

Stock Pick of the Day

 

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ “เก็งกำไร” ได้แก่

1. TPIPL : ราคาปิด 2.26 บาท ราคาเหมาะสม 3.40 บาท

a) TPIPL จะรายงานผลประกอบการในวันนี้ โดยคาดว่าผลประกอบการ 4Q58 จะพลิกเป็นกำไรสุทธิ 391 ล้านบาท จากขาดทุนสุทธิ -509 ล้านบาท ใน 3Q58 และขาดทุนสุทธิ -237 ล้านบาท ใน 4Q57

b) จากแรงหนุนของธุรกิจโรงไฟฟ้าซึ่งจะสร้างกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 200 ล้านบาท ใน 4Q58 จากการรับรู้รายได้เต็มไตรมาสของโรงไฟฟ้าขยะอีก 55 MW ส่งผลให้ TPIPL มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมเพิ่มขึ้นเป็น 113 MW ได้แก่ โรงไฟฟ้าความร้อนทิ้ง 40MW และโรงไฟฟ้าขยะ 73MW

c) ขณะที่ธุรกิจที่เหลือ คาดว่าธุรกิจปูนซีเมนต์จะมีกำไรสุทธิราว 150 ล้านบาท แต่ถูกหักลบจากธุรกิจปิโตรเคมีที่คาดว่าจะมีผลขาดทุนราว150 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม TPIPL จะมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนราว 191 ล้านบาทใน 4Q58 จากค่าบาทที่แข็งค่าขึ้นราว 1.47 บาทต่อยูโร เนื่องจาก TPIPL มีหนี้สินในรูปสกุลยูโรราว 163 ล้านบาท

d) คงมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการปี 2559 โดยคาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตถึง +1,041.9% เป็น 2,879 ล้านบาท จากการรับรู้รายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าจำนวน 113MW แบบเต็มปี และคาดว่าธุรกิจปูนซีเมนต์จะฟื้นตัวในปี 2559 จากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นตามแผนลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ และ “สะสม” ได้แก่

 

2. KTB : ราคาปิด 18.00 บาท ราคาเหมาะสม 21.00 บาท

a) MBKET คาดว่าหุ้นกลุ่มธนาคารจะ Outperform ตลาด จากกระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นเอเซียเกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในกลุ่ม TIPs ที่ให้ผลตอบแทน Underperform ประเทศในกลุ่ม North Asia ในปีที่ผ่านมา

a) KTB จะประกาศเงินปันผลปี 2558 (จ่ายปีละ 1 ครั้ง) ในช่วงต้นเดือน มี.ค. โดยคาดการณ์เงินปันผลหุ้นละ 0.80 บาท คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผล 4.4%

b) และมีโอกาสที่เงินปันผลจะออกมาดีกว่าคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากกำไรสุทธิปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการตั้งสำรอง แต่หากพิจาณากำไรก่อนตั้งสำรองเติบโตถึง +20% yoy จึงมีโอกาสที่จะจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.90 – 1.00 บาทได้เช่นกัน

b) Valuation ถูกที่สุดในหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ โดยซื้อขาย PER2559 ที่ 7.5x เทียบกับ BBL 8.1x. SCB 9.7x, KBANK 9.7x, BAY 10.2x


Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 อีก US$264 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$202 ล้าน

 

Foreign Investors Action วานนี้

คาดต่างชาติทำ Arbitrage ระหว่างตลาด Spot และตลาด Futures นักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นครั้งแรกในรอบ 9 วันทำการ 1,373 ล้านบาท เทียบกับ 8 วันทำการก่อนหน้า ซื้อสุทธิ 8,619 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD

 

นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิสะสมขยับขึ้นเป็น 7,340 ล้านบาท SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 3 อีก 3,761 สัญญา รวม 3 วันทำการ Long สุทธิ 10,881 สัญญา น่าจะเป็นการเปิดสถานะ Long ต่อเนื่อง ภายใต้ SET50 Index ปิดยืนเหนือ 850 จุด ต่อเนื่อง กดดันให้ S50H16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index แคบลงเหลือ 5.11 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 6.47 จุด ทำให้ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Long สุทธิยังคงทะลุ 100,000 สัญญา เป็น 116,681 สัญญา

และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้คงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 มากถึง 15,350 ล้านบาท รวม 2 วันทำการ ซื้อสุทธิ 20,088 ล้านบาท เทียบกับ 5 วันทำการก่อนหน้าขายสุทธิ 39,768 ล้านบาท ทำให้ราคาพันธบัตรไทยกลับมาแกว่งในกรอบแคบเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการเพียง 0.83bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 6.31bps ปิดที่ 2.125%

Short-Selling วานนี้

ลดลงเหลือ 846 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 946 ล้านบาท

NVDR Movement

NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10 เน้นกลุ่มธนาคาร อย่างโดดเด่น การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิเร่งขึ้นเป็น 1,561 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 1,240 ล้านบาท รวม 10 วันทำการซื้อสุทธิ 10,595 ล้านบาท โดยเน้นกลุ่มธนาคารอย่างโดดเด่น

สรุปภาพรวมดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มธนาคารซื้อสุทธิสูงสุดอีกครั้ง 639 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 161 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มพลังงานซื้อสุทธิ 312 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 410 ล้านบาท กลุ่มโรงพยาบาลซื้อสุทธิ 268 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 317 ล้านบาท และกลุ่ม ICT ซื้อสุทธิ 203 ล้านบาท 2. ส่วนกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขายสุทธิ 47 ล้านบาท

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ

– การเงินรายภูมิภาค สหรัฐอเมริกา ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นกลางถึงบวก GDP ใน 4Q58 เพิ่มขึ้น 1.0% qoq ดีกว่า Bloomberg consensus คาด +0.4% qoq และตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 0.7% qoq

 

ดุลการค้าเดือนม.ค. ขาดดุล US$6.22 หมื่นล้าน ขาดดุลมากกว่า Bloomberg consensus คาด US$6.10 หมื่นล้าน และเดือนก่อนหน้าขาดดุล US$6.15 หมื่นล้าน โดยส่งออกชะลอตัวถึง 3.0% mom ส่วนการนำเข้าหดตัวแรงเช่นกัน 6.8% mom

 

รายได้ส่วนบุคคลเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 0.5% mom ใกล้เคียงกับ Bloomberg consensus คาดที่ 0.4% mom เดือนก่อนหน้า 0.3% mom

ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล เดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 0.5% mom ดีกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 0.3% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 0.1% mom โดยการใช้จ่ายสินค้าคงทนเพิ่มขึ้นถีง 1.2% mom และการบริการโต 0.6% mom

 

ยุโรป

โอกาสที่สมาชิกกลุ่มโอเปกจะคงกำลังการผลิตน้ำมันมีความเป็นไปได้สูง: รมว.พลังงานของไนจีเรีย ให้ความเห็นว่า รมว.พลังงานของกาต้าร์ และประธานกลุ่มโอเปก จะนำการประชุมวันที่ 1 มี.ค. ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะเสนอให้คงกำลังการผลิตต่อสมาชิกกลุ่ม และสมาชิกส่วนใหญ่น่าจะเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว

ทั้งนี้การคงกำลังการผลิตเป็นขั้นตอนเริ่มต้น ซึ่งจะนำไปสู่งการลดระดับสต็อกน้ำมันดิบ แม้ว่าจะใช้เวลาก็ตาม แต่ไม่คิดว่าจะเกิดการพิจารณาลดกำลังการผลิต

 

ตลาดคาดอัตราเงินเฟ้อของอียูจะใกล้แตะ 0% อีกครั้ง: Bloomberg consensus คาดอัตราเงินเฟ้อของอียูเดือนม.ค. เท่ากับ 0.3% mom ซี่งยังห่างจากเป้าหมายของ ECB ที่ 2.0% มาตลอด 3 ปี

จีน

ธนาคารกลางจีนยืนยันนโยบายการเงินยังมีพื้นที่สำหรับการผ่อนคลายอีก: พร้อมกับการบริหารจัดการความคาดหวังของตลาด ต่อการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของจีน ธนาคารกลางจีนยืนยันต่อเป้าหมายเศรษฐกิจ และไม่มีนโยบายที่จะลดค่าเงินหยวนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ธนาคารกลางจีนยืนยันว่ายังมีช่องว่างที่ใช้นโยบายการเงินในการบริหารจัดการความเสี่ยงของเศรษฐกิจจีน เอเชียแปซิฟิก

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ดีกว่าคาด: ลดลงเพียง 0.5% yoy ในเดือน ม.ค.เทียบกับที่ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 5.1% yoy และเดือนก่อนหน้าหดตัว 11.9% yoy นอกจากนี้ยังเป็นการขยายตัว 9.3% mom สวนทางกับที่ตลาดคาดที่ -2.2% mom นำโดยการผลิตเวชภัณฑ์และอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัว 34.3% yoy และ 1.7% yoy ตามลำดับ ขณะที่ยังหดตัว 14.1% yoy ในปิโตรเคมี

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไต้หวันหดตัวต่อเนื่อง: อีก -5.65% yoy ในเดือน ม.ค. จากเดือนก่อนหน้าที่ -5.85% yoy แต่หดตัวน้อยกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 6.05% yoy ทั้งนี้ผลผลิตในคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลดลง 7.77% และ 7.46% yoy ตามลำดับ

 

ไทย

-ไม่มี


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 00 0000 เวลา : 10:46:11

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 3:22 am