ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
หยิบเงินหยิบทอง - บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง


 


กลยุทธ์วันนี้  Test 1350

ตลาดหุ้นวานนี้: 
          ตลาดหุ้นไทยวานนี้ กลับมาฟื้นตัวไต่ระดับขึ้นอย่างโดดเด่นในรอบบ่าย นำโดย PTT / SCC / PTTEP/ AOT รวมถึงหุ้นตลาดอย่าง TRUE ทำให้บรรยากาศกลับมาเป็นบวก แม้ว่าจะไม่มีปัจจัยบวกที่เด่นก็ตาม ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX บวก 14.58 จุด มาอยู่ที่ 1,346.95 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 41,525 ล้านบาท มีรายการ Big Lot ของ WHA รวม 2.14 พันล้านบาท
          เม็ดเงินทุนต่างชาติ แม้คงการขายสุทธิตลาดหุ้นเป็นวันที่ 3 แต่ก็เพียง 146 ล้านบาท และกลับมา Short สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันแรกในรอบ 5 วันทำการ 5,174 สัญญา แต่ยังคงซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 4 อีก 821 ล้านบาท
 
 
 

ปัจจัยสำคัญวันนี้
          - เอกชนรัสเซียตกลงคงกำลังการผลิตน้ำมันไม่ให้เกินค่าเฉลี่ยในเดือนม.ค.
          - Moody’s ลดแนวโน้มของจีนลงจากเดิม “คงที่” เป็น “ลบ”
          - ติดตามตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ คืนนี้ ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 1.88 แสนตำแหน่ง ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.05 แสนตำแหน่ง
          - AOT เตรียมเสนอแผนการลงทุนขยายสนามบินดอนเมืองให้รองรับนักท่องเที่ยวได้ 40 ล้านคน/ปี จากปัจจุบัน 30 ล้านคน/ปี

มุมมองต่อตลาด
          เราคงมุมมองต่อการลงทุนเป็น “กลาง” เป็นวันที่ 3 หลังวานนี้ SET INDEX ทะลุแนว 1,340 จุดขึ้นมาได้ และภาคเอกชนของรัสเซียตกลงคงกำลังการผลิตไม่ให้เกินกำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนม.ค. ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขยับขึ้นเด่น ส่งผลบวกต่อกลุ่มพลังงาน / ปิโตรเคมีในวันนี้ แต่เราประเมินว่าถึงโอกาสที่จะเกิดแรงขายทำกำไรบริเวณเหนือ 1,350 จุดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าทีของพอร์ตโบรกเกอร์ที่ซื้อสุทธิ YTD หนาแน่นที่สุด 1.02 หมื่นล้านบาท
          สำหรับกรณีการปรับลดแนวโน้มของจีน โดย Moody’s เป็น “ลบ” จากเดิม “คงที่” อาจส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนในช่วงเปิดตลาดเช้าของจีนอยู่บ้าง แต่เรากลับมองว่า เงินทุนจะไหลมายังตลาดหุ้นเกิดใหม่อื่นๆ แทน การลงทุนในตลาดหุ้นจีน หากแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งตลาดหุ้นไทยน่าจะได้อานิสงค์เชิงบวกต่อประเด็นดังกล่าวในแง่ของเงินทุนไหลเข้า
          ทั้งนี้หุ้นขนาดกลาง และ High Beta เชื่อว่าจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ราคาหุ้นปรับฐานลงมาสะท้อนผลการดำเนินงานใน 4Q58 ที่อ่อนแอ และต่ำกว่าคาดไปมากแล้ว ขณะที่ รมว.คมนาคม วันนี้จะไปฟังความเห็นของประชาชนในจ.สระบุรี ต่อโครงการลงทุนรถไฟรางมาตรการ ไทย – จีน ซึ่งเป็นการแสดงถึงความจริงจังในการเดินหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ถูกกำหนดใน Master Plan และเราคาดว่าจะมีการประมูลงานโครงการขนาดใหญ่ในช่วงครึ่งหลังของเดือนมี.ค. รวมถึง ครม. เตรียมพิจารณาแผนการลงทุนเพิ่มเติมในช่วง 1-2 เดือนนี้ เพื่อให้สอดรับกับโครงการ Fast Track PPP ที่ต้องเปิดประมูลงานให้ได้ภายใน 9 เดือน หรือช่วง 4Q59 เป็นอย่างช้า 
          ขณะที่แรงเก็งกำไรต่อหุ้นกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เริ่มมีสีสันมากขึ้น เพราะเข้าสู่เดือนมี.ค. พร้อมเส้นตายการชำระเงินงวดแรก และ Bank Guarantee ของใบอนุญาตคลื่น 4G ย่านความถี่ 900MHz ภายในวันที่ 21 มี.ค. เราคาดว่า TRUE จะเข้าไปชำระเงินงวดแรกพร้อม Bank Guarantee ในเร็วๆ นี้ หลังชี้แจงแผนการทำธุรกิจที่ชัดเจนวานนี้ ทำให้มีการประเมินกรณีว่า JAS จะชำระเงินตามมา จะเกิดผลกระทบอย่างไร แต่หาก JAS ไม่สามารถชำระเงินได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตาม จะเกิดผลกระทบอย่างไร ทำให้มีแรงเก็งกำไรไปตามความเห็นต่างๆ ของตลาด
          ประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX วันนี้ระหว่าง 1,340-1,355 จุด นำโดยกลุ่มพลังงาน / ปิโตรเคมี / SCC เป็นสำคัญ

กลยุทธ์การลงทุน 
          เราแนะนำให้ “นักลงทุนที่ทยอยเก็งกำไรหุ้นรายตัว ไปก่อนหน้านี้ อาจพิจารณาขายทำกำไรเมื่อ SET INDEX ทะลุแนว 1,350 จุดขึ้นไป และกลับมาถือเงินสดให้มากขึ้นอีกครั้ง”

          Accumulative Buy: WHA 
          Speculative Buy: PTTGC

Stock Pick of the Day

          กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ “เก็งกำไร” ได้แก่
          1.  PTTGC : ราคาปิด 55.25 บาท ราคาเหมาะสม 60.00 บาท
          a)  MBKET คาดว่าหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีจะ Outperform ตลาดในวันนี้ จากการไต่ระดับขึ้นของราคาน้ำมันดิบ NYMEX +1.9% และ BRENT ที่ปรับตัวขึ้น +0.6% เมื่อคืนนี้ หลังรัสเซียระบุว่าได้บรรลุข้อตกลงกับโอเปคเพื่อคงเพดานผลิตน้ำมัน โดยการตกลงขั้นสุดท้ายจะเกิดขึ้นภายในเดือน มี.ค.  
          b)  หุ้นกลุ่มน้ำมันขั้นปลายน้ำจะได้ประโยชน์จากการไต่ระดับขึ้นของราคาน้ำมันดิบเนื่องจากส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวขึ้น ขณะที่ PTTGC มีจุดเด่นคือสายการผลิตเป็นแบบ Gas Base ดังนั้น การเร่งตัวขึ้นของอัตรากำไรจะเร็วกว่าสายการผลิตแบบ Naphtha เนื่องจากราคา Gas ปรับขึ้นช้ากว่า Naphtha 
          c)  ทิศทางผลประกอบการ 1Q59 คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโต qoq เนื่องจากจะไม่มีผลขาดทุนจาก Stock น้ำมันเป็นจำนวนมากเหมือนใน 4Q58 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบสิ้นสุดวานนี้อยู่ที่ US$33.61/barrel เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2558 ที่ US$32.37/barrel 
          d)  ซื้อขายที่ระดับ PBV2559 เพียง 1.04 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว -1SD และและหุ้นในกลุ่มโรงกลั่น เช่น TOP 1.3 เท่า, IRPC 1.1 เท่า และ SPRC ที่ 1.2 เท่า
และ “สะสม” ได้แก่ 
          2.  WHA  : ราคาปิด 2.76 บาท ราคาเหมาะสม 4.60 บาท
          a)  MBKET คงมุมมองเชิงบวกต่อภาพระยะกลาง-ยาว และเชื่อว่าการขายหุ้น Big lot วานนี้ จำนวน 826.7 ล้านหุ้น จะเป็นการปลดล็อก Overhang ที่ตลาดกังวลก่อนหน้า และสัดส่วนการขายหุ้นส่วนใหญ่เป็นการขายให้กับกองทุน Templeton และ Capital Research ซึ่งเป็นกองทุน Long only ระยะยาวจะช่วยเสริมความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของบริษัท 
          b)  คาดตลาดจะตอบรับเชิงบวกจากการแถลงแผนธุรกิจในวันพรุ่งนี้ (3 มี.ค.) จากการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ แบ่งเป็น 4 สายธุรกิจ ได้แก่ Logistic Hub, Industrial Hub, Utility  & Power Hub แบะ Digital Hub 
          c)  ปี 2559 จะเป็นปีที่เห็นประโยชน์ชัดเจนจากการเข้าซื้อ HEMRAJ จากการ Spin-off สินทรัพย์ ได้แก่ การจัดตั้งกองทุน HEMRAJ REIT ในช่วงกลางปี 2559 และนำธุรกิจ Utilities เข้าจดทะเบียน IPO ในช่วงปลายปี 2559 
          d)  ผลักดันให้กำไรสุทธิปี 2559 เติบโต +107% yoy เป็น 4,678 ล้านบาท และฐานะการเงินดีขึ้นมากจากการชำระคืนหนี้ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ D/E สิ้นปี 2558 อยุ่ที่ 2.1 เท่า และภาระดอกเบี้ยจ่ายในปีนี้จะลดลง -68% yoy เหลือ 1.54 พันล้านบาทจากปีก่อนหน้าที่ 2.28 พันล้านบาท
          e)  Valuation ค่อนข้างถูก ซื้อขายระดับ PER2559 เพียง 8.6 เท่า

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 อีก US$172 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$147 ล้าน 

Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติขายทำกำไรตลาดไทย แต่ไม่หนาแน่น
          นักลงทุนต่างชาติคงการขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 3 เพียง 146 ล้านบาท เบาบางต่อเนื่องจากวันก่อนหน้า และทำให้ 3 วันทำการ ขายสุทธิเพียง 1,654 ล้านบาท และ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิสะสมขยับขึ้นเป็น 7,620 ล้านบาทก็ตาม
          ส่วน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมา Short สุทธิเป็นวันแรกในรอบ 5 วันทำการ 5,174 สัญญา เทียบกับ 4 วันทำการก่อนหน้า Long  สุทธิ 13,590 สัญญา น่าจะเป็นการปิดสถานะ Long บางส่วน เมื่อ  SET50 Index ทะลุแนว 860 จุด และกดให้ S50H16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index แคบเหลือเพียง 3.30 จุด เท่ากัน จากวันก่อนหน้า Discount กว้างถึง 7.42 จุด ทำให้ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Long สุทธิยังคงทะลุ 100,000 สัญญา เป็น 114,216 สัญญา  
          และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้คงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 แต่ชะลอตัวลงเหลือ 821 ล้านบาท รวม 4 วันทำการ ซื้อสุทธิ 26,731 ล้านบาท เมื่อค่าเงินบาทแกว่งกรอบแคบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยขยับขึ้นเด่นเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงมากถึง 4.19bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 0.23bps ปิดที่ 2.085% 

Short-Selling วานนี้ 
ลดลงเป็นวันที่ 2 เหลือ 562 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 846 ล้านบาท 

NVDR Movement
NVDR กลับมาซื้อสุทธิ โดยเป็นการปรับพอร์ต Domestic และกลับไปสะสมกลุ่มพลังงานแทน 
          การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิ 177 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิเพียง 7 ล้านบาท โดยเป็นการปรับพอร์ตกลุ่ม Domestic Play อย่างกลุ่มธนาคาร / ICT ออก และเน้นกลุ่มพลังงานแทน สรุปภาพรวมได้ดังต่อไปนี้
          1. กลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิสูงสุด 543 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 125 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มโรงพยาบาลซื้อสุทธิ 115 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 169 ล้านบาท กลุ่มปิโตรเคมี ซื้อสุทธิ 81 ล้านบาท 
          2. ส่วนกลุ่มธนาคารถูกขายสุทธิสูงสุด 251 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 112 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่ม ICT ขายสุทธิ 231 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 333 ล้านบาท และกลุ่มอาหาร ขายสุทธิ 171 ล้านบาท  

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ – การเงินรายภูมิภาค

สหรัฐอเมริกา
          ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นกลางถึงบวก
          ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. เท่ากับ 51.3 จุด เท่ากับ Bloomberg consensus คาด แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 52.4 จุด เป็นระดับต่ำสุดลำดับที่ 2 นับตั้งแต่เดือนต.ค. 2555
          ดัชนี ISM ภาคการผลิต เดือนก.พ. เท่ากับ 49.5 จุด ดีกว่า Bloomberg consensus คาด 48.5 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 48.2 จุด คำสั่งซื้อใหม่ ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ Backlog มีการหดตัวลง 
          สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีเหล็กจากจีน 266%: เนื่องจากผู้ผลิตจีน และอีก 6 ประเทศ ได้ขายเหล็กรีดเย็นในราคาที่ต่ำเกินจริงในตลาดสหรัฐฯ ทำให้รับบาลตัดสินใจจัดเก็บภาษีนำเข้าเหล็กจากจีน แม้ว่าจะเป็นสินค้าของอินเดีย, บราซิล, เกาหลีใต้, รัสเซีย, ญี่ปุ่น และอังกฤษ ด้วยอัตราภาษี 266% 

ยุโรป
          ไม่มี

จีน          
          ดัชนี PMI ยังชะลอตัวต่อเนื่อง
          ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือนก.พ. ปรับตัวลงสู่ 49.0 จุด ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 49.4 จุด 
          ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.พ. เท่ากับ 52.7 จุด ชะลอตัวจากเดือนม.ค.ที่ 53.5 จุด โดยคำสั่งซื้อใหม่, ราคาขาย, การจ้างงาน, Backlog และระดับสินค้าคงคลังต่างอยู่ในระดับต่ำกว่า 50.0 จุดทั้งสิ้น 
          Moody’s ลดแนวโน้มของจีนลง: จากเดิม “คงที่” เป็น “ลบ” เนื่องจากฐานะการคลังที่อ่อนแอลง และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ลดลงต่อเนื่อง

เอเชียแปซิฟิก
          ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย: ที่ 2.0% สอดคล้องกับที่ Bloomberg consensus คาดการณ์ ทั้งนี้ธนาคารกลางยังคงให้น้ำหนักกับตลาดการจ้างงานในประเทศ และภาพรวมเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ชะลอตัวจากความผันผวนของตลาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงถูกกดดันให้อยู่ในระดับต่ำต่อไปอีก 1-2 ปีข้างหน้า
          บริษัทน้ำมันเอกชนของรัสเซียเห็นด้วยกับการคงกำลังการผลิต: รมว.น้ำมันของรัสเซีย กล่าวว่า ภาคเอกชนในรัสเซียเห็นชอบในการคงกำลังการผลิตน้ำมันให้เท่ากับค่าเฉลี่ยการผลิตในเดือนม.ค. ตามที่ประธานาธิบดีปูติน ตกลงกับ ซาอุฯ ก่อนหน้านี้
          อัตราเงินเฟ้ออินโดนีเซียเร่งตัวขึ้น: เพิ่มขึ้น 4.42% yoy ในเดือน ก.พ. จากเดือนก่อนที่ +4.14% yoy และสูงกว่าที่ Bloomberg Consensus คาด +4.36% yoy โดยทั้งราคาอาหารและขนส่งเร่งตัวขึ้น 7.55% และ 2.89% จากเดือนก่อนที่ +6.60% และ +1.47% ตามลำดับ 
          ตัวเลขการผลิตเดือน ก.พ.ของเอเชียส่วนใหญ่ลดลง:
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นลดลงอยู่ที่ระดับ 50.1 จุด จากเดือน ม.ค. 50.2 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของไต้หวันลดลงอยู่ที่ระดับ 49.4 จุด จากเดือน ม.ค. 50.6 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของอินโดนีเซียลดลงอยู่ที่ระดับ 48.7 จุด จากเดือน ม.ค. 48.9 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของมาเลเซียลดลงอยู่ที่ระดับ 47.8 จุด จากเดือน ม.ค. 48.6 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของเวียดนามลดลงอยู่ที่ระดับ 50.3 จุด จากเดือน ม.ค. 51.5 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของอินเดียคงที่อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด เท่ากับเดือน ม.ค.

ไทย
          อัตราเงินเฟ้อของไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14: ลดลง 0.50% yoy ในเดือน ก.พ. ใกล้เคียงกับที่ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 0.51% yoy และเดือนก่อนหน้าที่ -0.53% yoy ขณะที่เป็นการเพิ่มขึ้น 0.15% mom ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) เพิ่มขึ้น 0.68% yoy กระทรวงพาณิชย์ยังได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2559 เป็น  0.0-1.0% จากเดิมคาดไว้ 1.0-2.0%
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 มี.ค. 2559 เวลา : 10:24:10

11-09-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 11, 2024, 4:48 am