สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ข้อมูลบริโภคขนมจีน-ก๋วยเตี๋ยวอย่างไรให้ปลอดภัย
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประเมินความปลอดภัยจากการได้รับกรดเบนโซอิกในการบริโภคขนมจีนและเส้นก๋วยเตี๋ยวของคนไทย แนะผู้บริโภคไม่ควรบริโภคอาหารชนิดเดียวซํ้าๆ และบริโภคในปริมาณมากๆโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนี้ ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรซื้ออาหารมาค้างไว้นานๆหากมีความจำเป็ นต้องเก็บอาหารนั้น ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และนำมาอุ่นก่อนรับประทาน
คนไทยนิยมบริโภคอาหารประเภทเส้นรองจากข้าว ซึ่งอาหารเส้นที่ได้รับความนิยมสูงได้แก่ขนมจีนและก๋วยเตี๋ยว อาหารดังกล่าวจึงมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป แต่เนื่องจากประเทศไทยมีอากาศค่อนข้างร้อน ทำให้อาหารมี
โอกาสเน่าเสียได้ง่าย เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบางรายที่ผลิตเส้นขนมจีน และเส้นก๋วยเตี๋ยวใช้วัตถุกันเสียในการผลิต โดยวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กัน คือ กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้ใน
อาหารไม่เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ The Joint FAO/WHO Expert Committee of Food Additives
(JECFA) ได้กำหนดเกณฑ์ความปลอดภัย (Acceptable Daily Intake: ADI) ของกรดเบนโซอิกไว้เท่ากับ 5มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน และค่าความปลอดภัยของกรดซอร์บิก เท่ากับ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว1 กิโลกรัมต่อวัน
ที่ผ่านมา (ปีพ.ศ. 2555-2557) สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เฝ้าระวังการใช้วัตถุกันเสียในอาหารประเภทเส้นโดยตรวจวิเคราะห์อาหารประเภทเส้นจำนวน 192 ตัวอย่าง พบว่ามีการใช้กรดเบนโซอิกจำนวน 136 ตัวอย่าง(ร้อยละ70.8)โดยมีการใช้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจำนวน 33 ตัวอย่าง (ร้อยละ 17.2) และปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 20 ถึง3,474 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดเส้นใหญ่มีการใช้กรดเบนโซอิกทุกตัวอย่างและมีตัวอย่างที่ใช้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดร้อยละ 40 ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 94.3 ถึง 2,633และค่าเฉลี่ ย 1,114.9มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ในขณะที่เส้นขนมจีนพบการใช้กรดเบนโซอิกร้อยละ 87.5 ปริมาณที่ใช้อยู่ในช่วง 166 ถึง 1,272 และค่าเฉลี่ย 652.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่ใช้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เส้นก๋วยเตี๋ยวชนิด
เส้นเล็ก พบการใช้กรดเบนโซอิกร้อยละ 82.4 ปริมาณที่ใช้อยู่ในช่วง 20 ถึง 3,474 ค่าเฉลี่ ย 683.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และใช้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดร้อยละ 13.5 นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการใช้กรดซอร์บิก ร่วมกับกรด
เบนโซอิกในก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ จำนวน 1 ตัวอย่าง และในเส้นบะหมี่ จำนวน 2 ตัวอย่าง แต่ปริมาณที่ใช้ต่ำมากอยู่ระหว่าง 192-198 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ข้อมูลที่ตรวจพบวัตถุกันเสียนี้หากนำมาประเมินความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร(น้ำหนักตัวประมาณ 58.28 กิโลกรัม) พบว่า หากรับประทานเส้นขนมจีน1 กิโลกรัม จะได้รับกรดเบนโซอิกสูงสุด เท่ากับ
1,272 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ถ้าจะรับประทานขนมจีนให้ปลอดภัย (ไม่เกินค่า ADI) สามารถรับประทานได้วันละ229 กรัม (ประมาณ 2 ขีด) ทุกวันตลอดช่วงชีวิต ส่วนการบริโภคก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่และเส้นเล็ก 1 กิโลกรัม จะ
ได้รับกรดเบนโซอิกสูงสุด เท่ากับ 2,633 และ 3,474 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และหากไม่ต้องการจะได้รับกรดเบนโซอิกเกินสามารถรับประทานได้วันละ 111 กรัม และ 84 กรัม (ประมาณ 1 ขีด) ตามลำดับ ทุกวันตลอด
ช่วงชีวิต
กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอต เป็นสารประกอบอะโรมาติกแอซิด (aromatic acid) สามารถผลิตได้จากการออกซิไดซ์เบนซาลดีไฮด์ด้วยอากาศที่อุณหภูมิห้องได้เป็นเปอร์เบนโซอิก และออกซิไดซ์เบนซาลดีไฮด์และเปอร์เบนโซอิกต่อจนได้เป็นกรดเบนโซอิก นิยมใช้เป็ นวัตถุกันเสียในอุตสาหกรรมอาหารหลายชนิด ทั้งเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ อาหารหมักดอง รวมถึงใช้สำหรับรักษาคุณภาพของเครื่องสำอาง และยาสีฟัน โดยกรดเบน
โซอิกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ความเป็นพิษของกรดเบนโซอิกหากได้รับในปริมาณที่สูงอาจทำใหhเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและท้องเสียได้ หากได้รับในปริมาณน้อยร่างกายจะสามารถขับออกให้หมดไปได้ แต่หากได้รับในปริมาณมากและหรือได้รับทุกวันอาจเกิดการสะสมจนถึงระดับที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายได้โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการแพ้
ดังนั้นผู้บริโภคไม่ควรบริโภคอาหารชนิดเดียวซ้ำๆ และบริโภคในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนี้ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรซื้ออาหารมาค้างไว้นานๆ หากมีความจำเป็นต้องเก็บ
อาหารนั้น ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นก่อนรับประทาน
ข่าวเด่น