ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
สวนดุสิตโพลสะท้อนประชาชนคิดอย่างไร? ต่อร่างรัฐธรรมนูญ


 


จากที่ประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเสนอปรับปรุงเนื้อหาในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญที่ คสช. เสนอมา 3 ข้อ โดยกรธ.รับข้อเสนอ คสช. 2 ข้อ คือ "เปิดทางสว.สรรหา-เลือกนายกฯนอกบัญชี" แต่ให้ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวตามที่กรธ.ได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,326 คน สำรวจระหว่างวันที่ 22-26 มีนาคม 2559 สรุปผลได้ ดังนี้  

1.จากที่ กรธ. ปรับปรุงเนื้อหาในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญที่ คสช.เสนอประชาชนคิดว่าการปรับปรุงเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญมี ผลดี-ผลเสีย อย่างไร?

1.1)  เห็นชอบให้มีวุฒิสภาจำนวน 250 คน โดยแบ่งเป็นสว.จำนวน 200 คน มาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาจำนวน 8-10 คน ตามที่คสช.กำหนด ส่วนอีก 50 คนมาจากการเลือกกันเองของส่วนภูมิภาคตามสาขาวิชาชีพ 20 ด้าน จำนวน 231 คน ก่อนเลือกให้เหลือ 50 คน ตามหลักเกณฑ์ที่คสช.กำหนด ทั้งนี้ กำหนดให้บุคคลในคสช.และผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำสามารถเป็น สว.ได้  โดยสว. ไม่มีอำนาจ               ในการเลือกนายกฯ และเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
    
 ผลดี คือ
                  
อันดับ 1 ได้คนที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพและตัวแทนที่มาจากส่วนภูมิภาค 74.91%
อันดับ 2 ได้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน มีความเห็นมุมมองที่หลากหลาย 72.77%
อันดับ 3 ทำงานคล่องตัว เป็นอิสระ ตรวจสอบการทำงานได้ง่าย 62.51%
อันดับ 4 สานต่องานหรือนโยบายต่างๆที่กำหนดไว้ สามารถจัดการเลือกตั้งได้ตามเวลา 54.81%

ผลเสีย คือ
                  
อันดับ 1 ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการเลือก สว. ไม่เป็นประชาธิปไตย 77.29%
อันดับ 2 มีการทุจริตคอรัปชั่น แบ่งพรรคแบ่งพวก เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง 74.06%
อันดับ 3 อาจเกิดความขัดแย้งหรือมีปัญหาในการทำงานภายหลัง 69.47%
อันดับ 4 สว. ไม่มีสิทธิอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบเท่าที่ควร 63.10%


 
 
 
 
 
 
1.2) ยืนยันให้ใช้ระบบการเลือกตั้ง สส.แบบจัดสรรปันส่วนผสมด้วยการลงคะแนนในบัตรเลือกตั้ง                     เพียงหนึ่งใบตามที่กรธ.ได้กำหนดไว้
  ผลดี คือ
2.                  
อันดับ 1 ประหยัดงบประมาณ /กระดาษ /กำลังคนและเจ้าหน้าที่ 70.96%
อันดับ 2 การกาบัตรสะดวก เข้าใจง่าย กาเพียงใบเดียว 62.40%
อันดับ 3 เจ้าหน้าที่สามารถนับคะแนนได้เร็ว ตรวจสอบง่าย 59.22%
อันดับ 4 ประชาชนได้มีส่วนร่วม มีสิทธิมีเสียงในการตัดสินใจเลือก ส.ส.ที่ต้องการ 55.93%

ผลเสีย คือ
                  
อันดับ 1 เป็นการจำกัดสิทธิประชาชน บังคับให้เลือกได้เพียงอย่างเดียว ความชื่นชอบพรรค
กับตัวบุคคลอาจไม่เหมือนกัน 70.15%
อันดับ 2 เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงเพื่อแย่งชิงตำแหน่ง ส.ส. ทำให้เกิดการทุจริต ซื้อเสียง 68.90%
อันดับ 3 โอกาสของผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อที่จะได้รับเลือกเข้ามามีน้อยมาก 54.02%
อันดับ 4 อาจได้นักการเมืองหน้าเดิมๆเข้ามา  ไม่เกิดการพัฒนาทางการเมืองอย่างแท้จริง 49.73%

1.3) การเลือกนายกรัฐมนตรี กรธ.ยังคงยืนยันในหลักการที่ให้พรรคการเมืองต้องเสนอชื่อว่าที่นายกฯ จำนวน
3 คน ตามเดิม แต่หากเกิดกรณีสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถเลือกนายกฯได้ จะต้องมีการเปิดประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อลงมติ 2 ใน 3 เพื่อของดเว้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกนายกฯจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง จากนั้นสภาฯจะเป็นผู้พิจารณาต่อไปว่าจะให้บุคคลใดมาดำรงตำแหน่งนายกฯ                   โดยบุคคลนั้นจะเป็นหรือไม่เป็น สส.ก็ได้
ผลดี คือ
                  
อันดับ 1 ประชาชนได้รู้ล่วงหน้าว่าแต่ละพรรคส่งใครเป็นนายกรัฐมนตรีบ้าง 81.33%
อันดับ 2 เปิดโอกาสให้คนนอกหรือคนที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี 61.51%
อันดับ 3 เป็นการแก้ปัญหาทางการเมืองร่วมกัน อยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าพัฒนาต่อไปได้ 58.87%
อันดับ 4 การเมืองไม่อึมครึม ข้อเสนอต่างๆมีความชัดเจน จะได้รู้ทิศทางในการทำงาน 41.20%

ผลเสีย คือ
                  
อันดับ 1 คนที่ไม่เห็นด้วยออกมาคัดค้าน เคลื่อนไหว สร้างความขัดแย้งวุ่นวายในสังคม 83.42%
อันดับ 2 คสช.ถูกมองว่าใช้อำนาจมากเกินไป เผด็จการ เป็นการสืบทอดอำนาจจาก คสช. 71.02%
อันดับ 3 หากเป็นนายกฯคนนอกเข้ามาโดยที่ประชาชนไม่ได้เลือก อาจเกิดความไม่พอใจ 65.28%
อันดับ 4 หากที่มาของนายกรัฐมนตรีไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม ต่างชาติอาจไม่ยอมรับก็เป็นได้ 60.74%
 
 
 
 
 

บันทึกโดย : วันที่ : 27 มี.ค. 2559 เวลา : 09:03:32

11-10-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ October 11, 2024, 4:48 pm