ตลาดหุ้นไทยวานนี้
SET INDEX ปรับฐานลงทดสอบ 1,400-1,405 จุด จากการขึ้นเครื่องหมาย XD ของ ADVANC มีผลต่อ SET INDEX ราว 2 จุด ภายใต้บรรยากาศการลงทุนรอบเอเชียที่เผชิญกับแรงขายทำกำไรเช่นกัน ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX อยู่ที่ 1,407.70 จุด ลบเพียง 2.59 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 41,055 ล้านบาท
ด้านเงินทุนต่างชาติยังคงหนาแน่น ซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 4 อีก 1,791 ล้านบาท ซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 4 อีก 6,572 ล้านบาท แม้ว่าจะกลับมา Short สุทธิใน SET50 Index Futures จำนวน 4,533 สัญญา ก็ตาม
ปัจจัยสำคัญวันนี้
ติดตามภาวะการจ้างงานของสหรัฐฯ คืนนี้
กทค. กำหนดวันประมูลคลื่น 900MHz อีกครั้งวันที่ 24 มิ.ย. ด้วยราคาตั้งต้น 7.6 หมื่นล้านบาท
ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า
- ติดตามการเสนอโครงการรถไฟรางคู่ 4 เส้นทางของร.ฟ.ท. ต่อ รมว.คมนาคม เพื่อพิจารณา
- ก.คมนาคมเสนอเพื่อรับทราบการปรับแบบรถไฟฟ้าสีส้มต่อครม
- การประมาณการงบ 1Q59 ของกลุ่มธนาคาร
- ช่วงวันหยุดคาบเกี่ยวของตลาดหุ้นไทย
มุมมองต่อตลาดวันนี้: บวก (วันที่ 2)
เรายังประเมิน SET INDEX แกว่งลักษณะ Sideways-to-Sideways-Up เพื่อทดสอบด่าน 1,420 / 1,430 จุด ตามลำดับ ด้วยปัจจัยสนับสนุนดังนี้
- กระแสเงินทุนต่างชาติยังคงเลือกลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องในระลอกนี้ ทั้งนี้นักลงทุนควรติดตามการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อประเมินกระแสเงินทุนต่างชาติ
- การเร่งผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญ่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการรถไฟฟ้า และ รถไฟรางคู่ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต่างชาติให้น้ำหนัก
เรายังคงให้ความสนใจกับกลุ่ม Domestic Play อย่างกลุ่มธนาคาร / กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง / กลุ่มวัสดุก่อสร้าง / กลุ่มท่องเที่ยว เป็นสำคัญในรอบนี้ เพราะภาพรวมเศรษฐกิจและปัจจัยบวกของแต่ละกลุ่มอุตฯ มีความชัดเจน โอกาสถูกปรับประมาณการกำไรสุทธิในปีนี้ลงเป็นไปได้อย่างจำกัด
ทั้งนี้เราประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX วันนี้ระหว่าง 1,400-1,420 จุด
Stock Pick of The Day
1. ITD : ราคาปิด 7.30 บาท ราคาเหมาะสม 12.00 บาท
a) MBKET คงมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และคาดว่าจะเป็นหุ้นกลุ่มเด่น ในเดือน เม.ย. เนื่องจากจะมีการนำเสนอโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ให้ครม.รับทราบและอนุมัติ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม, รถไฟฟ้ารางคู่ 2 เส้นทาง ซึ่งจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
b) ความคืบหน้าของโครงการเหมืองแร่โปรแตซจะเป็นปัจจัยบวกสำคัญเพื่อขับเคลื่อนราคาหุ้น โดยคาดว่าจะมีการกำหนดวันทำประชาพิจารณ์รอบสุดท้ายระดับจังหวัดในเร็วๆนี้ ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนต่างๆเดินหน้าได้ต่อเนื่อง และเป็น Upside ที่สำคัญต่อ ITD นอกเหนือจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
a) ให้เป็น Top pick ของกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เนื่องจาก Upside สูงสุด และมูลค่าของโครงการเหมืองแร่โปรแตซเฉพาะโครงการอุดรใต้ คิดเป็นมูลค่าต่อหุ้น ITD แบบ Conservative ไม่ต่ำกว่า 5.00 บาทต่อหุ้น
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 ลดลงเหลือ US$63 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิมากถึง US$773 ล้าน
Foreign Investors Action วานนี้
กระแสเงินทุนยังคงซื้อหนาแน่น
นักลงทุนต่างชาติคงการซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 4 อีก 1,791 ล้านบาท รวม 4 วันทำการซื้อสุทธิ 11,400 ล้านบาท ทำให้ยอด YTD ซื้อสุทธิขยับขึ้นทะลุ 10,000 ล้านบาท เป็น 18,978 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมา Short สุทธิอีกครั้ง 4,533 สัญญา คาดว่าเป็นการปิดสถานะ Long บางส่วน เมื่อ S50M16 ยังไม่สามารถทะลุผ่าน 900 จุดได้ ส่งผลให้ S50M16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index แคบลงเป็น 7.33 จุด จากวันก่อนหน้า Discount มากถึง 8.19 จุด แต่ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Long สุทธิยังคงทะลุ 130,000 สัญญา เป็น 134,512 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้คงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 อีก 6,572 ล้านบาท รวม 4 วันทำการซื้อสุทธิ 22,404 ล้านบาท เทียบกับ 4 วันทำการก่อนหน้าขายสุทธิ 12,464 ล้านบาท ผลักดันให้ราคาพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นเด่นต่อเนื่อง ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงเป็นวันที่ 4 อีก 5.31bps จากวันก่อนหน้าลดลงมากถึง 5.47bps ปิดที่ 1.714%
Short-Selling วานนี้
เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 วันทำการ 772 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 630 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 ยังคงเป็นลักษณะ Basket orders
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิอีก 2,312 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 7,855 ล้านบาท รวม 4 วันทำการซื้อสุทธิ 12,733 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิแบบ Basket orders
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ – การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ยอดขอสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด: เพิ่มขึ้น 2.76 แสนตำแหน่ง จากที่ Bloomberg consensus คาด 2.66 แสนตำแหน่ง และสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.65 แสนตำแหน่ง
ยุโรป
เศรษฐกิจอังกฤษขยายตัวดีกว่าคาด: 4Q58 เติบโต 0.6% qoq ดีขึ้นกว่าตัวเลขก่อนหน้าที่ 0.5% qoq โดยเป็นการปรับการเติบโตทางด้านบริการ, ผลผลิตภาคอุตฯ และการก่อสร้าง ถือเป็นการเติบโตที่เร่งขึ้นจาก 3Q58 ที่ขยายตัว 0.4% qoqไม่มี
จีน
ยอดค้าปลีกในฮ่องกงหดตัวลงแรงสุดในรอบ 17 ปี: ยอดขายเดือนก.พ. ลดลง 21% yoy เป็น HK$3.7 หมื่นล้าน เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวน้อยกว่าคาดในช่วงเทศกาลตรุษจีน แนวโน้มระยะสั้นของค้าปลีกจะยังมีแรงกดดันจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาลดลง และความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจ
S&P ลดแนวโน้มของจีนลงเป็น “ลบ”: โดยอันดับความน่าเชื่อถือยังคงที่ AA- แต่แนวโน้มลดลงจาก “คงที่” เป็น “ลบ” ส่วนอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นคงที่ที่ A-1+ ทั้งนี้การปรับแนวโน้มของจีนลง เป็นผลจากความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและตลาดเงิน ที่เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป S&P คาดการณ์ว่าจีนจะต้องใช้เวลา 5 ปีในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งกลายเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของสินเชื่อ
ดัชนี PMI ของจีนขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน: ภาคการผลิตอยู่ที่ 50.2 จุดในเดือน มี.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 49.0 จุด และดีกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดที่ 49.4 จุด ซึ่งตัวเลขที่มากกว่า 50 จุด สะท้อนถึงภาคการผลิตที่ขยายตัว
เอเชียแปซิฟิก
Moody’s ลดแนวโน้มของ 4 ธนาคารพาณิชย์ในสิงคโปร์: ได้แก่ DBS Bank, DBS Group Holdings, Oversea Chinese Banking Corp (OFBC) และ United Overseas bank (UOB) เป็น “ลบ” จากเดิม “คงที่” เนื่องจากความกังวลต่อคุณภาพสินทรัพย์ และความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร
ดัชนี Tankan ของภาคการผลิตขนาดใหญ่ทำระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี: อยู่ที่ 6 จุดใน 1Q59 ซึ่งเป็นการลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 12 จุด และต่ำกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดที่ 8 จุด เป็นผลจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของกิจการ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการลงทุนและการเติบโตของค่าแรงที่อ่อนแอ
ไทย
กนง.มองแรงส่งเศรษฐกิจปีนี้มาจากการลงทุน-ท่องเที่ยว-มาตรการภาครัฐ: กนง.คาดเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวราว 3.1% ซึ่งลดลงจากประมาณการในครั้งก่อนที่ระดับ 3.3% โดยมองว่าแรงส่งของเศรษฐกิจไทยปีนี้มาจากการลงทุน การท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปีนี้ลงจากประมาณการครั้งก่อน แต่ยังปรับเข้าใกล้เป้าหมายในปี 60 ตามแนวโน้มราคาน่ามันที่ทยอยเพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจไทยที่ค่อยๆ ขยายตัวดีขึ้น
ธปท.รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือน ก.พ.ทรงตัว: ภาคการท่องเที่ยวเติบโต ต่อเนื่อง และการใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวดีแม้รายจ่ายลงทุนแผ่วลงบ้างเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่มีการเร่งเบิกจ่ายสูง ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมทรงตัว โดยการใช้จ่ายเพื่อสินค้าคงทนกลับมาอยู่ใน ระดับต่า แต่การจับจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการอื่นยังขยายตัวได้ การส่งออกหักทองคำหดตัวจากเศรษฐกิจจีนและอาเซียนที่ชะลอตัวลง
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 48.2 จาก 48.5 ในเดือนม.ค. เป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในกลุ่มยานยนต์ และกลุ่มเคมีปิโตรเลียมและพลาสติก ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 54.6 เพิ่มขึ้นจาก 54.1 ในการสำรวจเดือนก่อน
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ. เกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ที่ US$7.40 พันล้าน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ US$4.07 พันล้าน และมากกว่าที่ตลาดคาดที่ US$6.10 พันล้าน
โดย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด ประจำวันที่ 1 เม.ย. 2559
ข่าวเด่น