ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังอุปสงค์น้ำมันเบนซินปรับตัวดีขึ้น ท่ามกลางแนวโน้มการผลิตน้ำมันดิบที่ลดลงทั่วโลก
+ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์น้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้น รวมไปถึงการผลิตน้ำมันดิบทั่วโลกที่ส่งสัญญาณจะปรับตัวลดลง ส่งผลทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าราคาน้ำมันดิบได้ผ่านจุดที่ต่ำที่สุดไปแล้วและกระบวนการปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ของราคาน้ำมันดิบกำลังจะสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบได้ถูกจำกัดด้วยการขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุนบางส่วน
+นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงสนับสนุนจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นของประเทศจีน โดยรายงานจากกรมศุลกากรของประเทศจีนได้รายงานว่า ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จีนได้นำเข้าน้ำมันดิบทั้งสิ้น32.61 ล้านตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.61 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศรัสเซียและซาอุดิอาระเบียมากที่สุดสองอันดับแรก
-อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางส่วนยังคงเชื่อว่า ราคาน้ำมันดิบยังคงมีโอกาสปรับตัวลงไปได้อีก จากแรงกดดันของผู้ผลิตน้ำมันดิบในชั้นหินดินดาน (ShaleOil)ในสหรัฐฯ ที่พร้อมที่จะขายน้ำมันดิบในทุกโอกาสเมื่อราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น-ดัชนีภาคการผลิตเดือนเมษายนของสหรัฐฯ (Manufacturing PMI) ที่รายงานโดย Markit Economics พบว่า มีการเติบโตที่ชะลอตัวลง โดยปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.8 จากระดับ51.5 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 เป็นต้นมา
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากราคาน้ำมันเบนซิน RBOBที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากและอุปสงค์ที่มากขึ้นจากตะวันออกกลาง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนี่องจากได้รับอานิสงค์จากอุปสงค์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนและอุปทานที่ลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นบางส่วนในภูมิภาค
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ38-44เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 40-46เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 26-27 เม.ย. นี้ ว่าจะมีการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมหรือไม่ หลังจากก่อนหน้านี้ Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25-0.50% ในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า Fedจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมประจำเดือน เม.ย. ที่จะถึงนี้
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยล่าสุดสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA)เปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับลดลงสู่ระดับ 8.98ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันดิบได้ชะลอการลงทุนและผลิตน้ำมันดิบลง จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำ
โดย หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน บมจ.ไทยออยล์ ประจำวันที่ 25 เม.ย. 2559
ข่าวเด่น