หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงานบมจ.ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันประจำวันที่ 26 เมษายน 2559
+ Genscape รายงานว่าปริมาณน้ำมันดิบ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอคลาโฮม่า ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลในระหว่างสัปดาห์จนถึงวันที่ 22 เม.ย. 58 ที่ผ่านมา
+ สำนักงานรอยเตอร์คาดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 22 เม.ย. 58 ปรับเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ขณะที่ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยคาดว่าจะมีปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับลดลง 0.7 ล้านบาร์เรล และ ปริมาณน้ำมันนดีเซลคงคลังปรับลดลง 0.3 ล้านบาร์เรล
+ ธนาคารบาร์เคลย์รายงานว่า ท่ามกลางปัจจัยพื้นฐานที่ยังคงอ่อนแอ ทางธนาคารยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันต่อไป หรือแม้กระทั้งจะปรับตัวขึ้นอีก
+/- รายงานสำหรับยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯประจำเดือน มี.ค. อยู่ที่ 511,000 ยูนิต ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 520,000 ยูนิต ส่วนตัวเลขสำหรับเดือน ก.พ. ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นจาก 512,000 ยูนิต มาอยู่ที่ 519,000 ยูนิต แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศจอร์แดน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากประเทศจีน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเล็กน้อย เนี่องจากได้รับอานิสงค์จากอุปสงค์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากประเทศศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินเดีย แต่ยังคงได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่ลดลงจากประเทศจีน
ไทยออย์ลคาดราคาการณ์น้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 37-43 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 40-46 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเล็กน้อย เนี่องจากได้รับอานิสงค์จากอุปสงค์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากประเทศศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินเดีย แต่ยังคงได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่ลดลงจากประเทศจีน
จับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 26-27 เม.ย. นี้ ว่าจะมีการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมหรือไม่ หลังจากก่อนหน้านี้ Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25-0.50% ในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า Fed จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมประจำเดือน เม.ย. ที่จะถึงนี้
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยล่าสุดสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับลดลงสู่ระดับ 8.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันดิบได้ชะลอการลงทุนและผลิตน้ำมันดิบลง จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำ
ภาวะอุปทานล้นตลาดยังไม่มีท่าทีว่าจะคลี่คลาย หลังจากการประชุมระหว่างผู้ผลิตน้ำมันดิบทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ได้เสร็จสิ้นลง โดยที่ผู้ผลิตน้ำมันดิบไม่สามารถตกลงกันได้
ข่าวเด่น