กระทรวงเกษตรฯ จะจัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติ ระดับประเทศ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในวันที่ 29-30 เมษายน 2559 ณ โรงเรียนวัดสิงห์ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เนื่องในวโรกาสอันเป็นมงคลวันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติวันที่ 29 เมษายน 2559 ปีนี้ กระทวงเกษตรฯ มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับหน่วยงานต่างๆในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ ระดับประเทศ เพื่อร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมจงรักภักดีในวโรกาสอันเป็นมิ่งมงคลนี้ ระหว่างวันที่ 29-30 เมษายน 2559 ที่จังหวัดชัยนาท อ.วัดสิงห์ โรงเรียนวัดสิงห์ เพื่อเป็นตัวแทนในพื้นที่ภาคกลางที่ประสบปัญหาภัยแล้งโรคไหม้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในนาข้าว และคลินิกต่างๆ อาทิ คลินิกพืช ตรวจวิเคราะห์โรค แมลงศัตรูพืช และนิทรรศการการปลูกพืชใช้น้ำน้อยคลินิกดิน วิเคราะห์ดิน การลดต้นทุนการผลิต แจกสารเร่ง พด.ต่างๆ น้ำหมักชีวภาพคลินิกปศุสัตว์ให้บริการและให้คำปรึกษาโรคสัตว์ พันธุ์สัตว์ และการเลี้ยงสัตว์ ฯลฯคลินิกชลประทาน การบริหารจัดการน้ำ และให้บริการตรวจคุณภาพน้ำ
รวมทั้งมีนิทรรศการทางวิชาการ ของหน่วยงานต่างๆ นอกจากเกษตรกรจะสามารถเข้าถึงบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ได้รับการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจรในคราวเดียวกันจากคลินิกต่างๆแล้ว ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อส่งเสริมการฝึกอาชีพ ได้แก่ การจัดประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวดอาหารหรือผลิตภัณฑ์แปรรูป การแข่งขันทางการเกษตร การจำหน่ายสินค้าคุณภาพของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การถ่ายทอดเทคโนโลยี และคลินิกตรวจสารพิษตกค้างในร่างกาย โดยสาธารณะสุขจังหวัด
ด้านนายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่จะเข้ามาขอรับบริการ เช่น การตรวจวิเคราะห์ดิน น้ำ โรคพืชและสัตว์ ว่า ควรทำการเก็บตัวอย่าง ดิน น้ำ พืช อย่างถูกวิธี จึงขอให้ประสานสอบถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเพื่อจะได้ทราบวิธีการเก็บตัวอย่าง ดิน น้ำ พืช ที่ถูกต้อง เพื่อผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำ รวมถึงการเตรียมตัวสัตว์ที่จะนำมาทำหมัน รักษา หรือตรวจโรค นอกจากนี้เนื่องจากการจัดงานแต่ละครั้งมีเกษตรกรเข้ามารับบริการจำนวนมาก รวมทั้งมีปัญหาที่หลากหลาย เพื่อให้มีการบันทึกประวัติและทราบสถานการณ์ความต้องการรับบริการในภาพรวม จึงจำเป็นต้องมีการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลการให้บริการอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ ติดตามประเมินผล และให้บริการต่อเนื่อง จึงขอให้เกษตรกรที่เข้ามารับบริการทุกคนนำบัตรประชาชนมาเพื่อลงทะเบียนด้วย
สำหรับการจัดงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯกระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน มีเกษตรกรมารับบริการแล้วทั้งสิ้นกว่า3,263,437ราย พบว่า เกษตรกรเข้ารับบริการตามลำดับ คลินิกดิน คลินิกปศุสัตว์ คลินิกพืช คลินิกประมง คลินิกอื่นๆ (ข้าว ชลประทาน บัญชี ชลประทาน สหกรณ์ กฎหมาย หม่อนไหม บริหารศัตรูพืช เนื้อเยื่อ ผึ้ง ที่สูง จักรกลการเกษตร)ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงานมาเป็นลำดับ เน้นให้มีการติดตามแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบรายบุคคลและแก้ไขปัญหาในภาพรวมของพื้นที่ รวมทั้งจัดให้มีระบบบันทึกข้อมูล การรายงานผลการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง
ข่าวเด่น