รองนายกฯ'สมคิด' หนุนญี่ปุ่นลงทุน 'ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก' (Eastern Seaboard Corridor) ชูรัฐ-เอกชนไทยพร้อมลงทุนกว่าแสนล้าน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมใหม่ (S-Curve Industry)
วันนี้ (2พ.ค.)เวลา 09.30 น. ณ ห้องรับรอง ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หารือนายฟุมิโอะ คิชิดะ (Mr. Fumio Kishida) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมหารือด้วย ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ รองนายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสาระสำคัญในการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นในโอกาสนี้ว่เพื่อแนะนำตัว ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น และติดตามภารกิจความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น โดยไทยเสนอให้ญี่ปุ่นเร่งรัดการดำเนินการ หลังจากที่ได้ทำการศึกษารายงานความเป็นไปได้ (feasibility study) เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ไทยยังได้เสนอให้ญี่ปุ่นพิจารณาโอกาสการลงทุน ในระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก หรือ โครงการ Eastern Seaboard ส่วนขยาย ปัจจุบันประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมหลากหลายที่มีศักยภาพ (Super Cluster Industry) เมื่อเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึกและสนามบินอูตะเภาแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อมีการเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกผ่านทางจังหวัดกาญจนบุรี และจะทำให้พื้นที่โครงการ Eastern Seaboard Corridor เป็นฐานของไทยไปสู่โลก เป็นประตูการค้าและเส้นทางการส่งออกที่สำคัญของไทย และในโอกาสที่ได้รับมอบหมายให้ไปกล่าวสุนทรพจน์ ในเวที Nikkei กลางปีนี้ จะได้พบปะกับภาคเอกชนญี่ปุ่น และจะเชิญชวนให้เอกชนญี่ปุ่นในทุกอุตสาหกรรม เร่งหาโอกาสและเพิ่มการลงทุนในสาขาต่างๆ ที่รัฐบาลได้ริเริ่มขึ้น
ไทยได้แจ้งให้ญี่ปุ่นทราบว่า ไทยยังอุตสาหกรรมอื่นๆที่มีศักยภาพที่หลายหลาย นอกเหนือจากการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงแล้ว โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมการทาองเที่ยวและอาหาร ซึ่งรัฐบาลได้ริเริ่มจัด โครงการ Food Meapolis ขึ้นเป็นครั้งแรกและจะกระทรวง ICT จะมีการจัดงาน Digital Day เพื่อส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจดิจิตอล หลังจากที่รัฐบาลได้จัดงาน Startup Thailand เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการหน้าใหม่ทั้งไทยและต่างประเทศ
รองนายกรัฐมนตรียังกล่าวรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้แจ้งถึงความพร้อมที่จะเดินหน้าพัฒนาความร่วมมือทั้งระบบรางเพื่อสร้างความเชื่อมโยงและโอกาสทางเศรษฐกิจร่วมกับไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านความเชี่ยวชาญของภาคเอกชนญี่ปุ่นมีส่วนสำคัญในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย เช่นเดียวกับ ศักยภาพทางอุตสาหกรรมที่ความโดดเด่นของไทยก็มีสำคัญต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยงแล้ว ญี่ปุ่นโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มองว่าการสร้างบุคคลากรที่มีศักยภาพ จะส่วนสำคัญช่วยสนับสนุนและเติมเต็มการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคทั้งระบบ อีกทั้งยังเป็นการผลิตบุคลากรป้อนเข้าสู่ระบบแรงงานและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นจะกล่าวปาถกภา ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในบ่ายวันนี้ ด้วย
ข่าวเด่น