ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ประชาชนกว่า30%ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมกรณีร่างรธน.ก่อนไปลงประชามติ


 


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน        เรื่อง “ความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 และข้อห้าม กกต.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2559 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 และข้อห้าม 8 ข้อ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติ 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึง ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญก่อนจะตัดสินใจลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
 
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.32 ระบุว่า ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมทุกข้อ รองลงมา ร้อยละ 25.04 ระบุว่า ไม่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมใด ๆ ร้อยละ 11.20 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 10.32 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ร้อยละ 5.60 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องหน้าที่และแนวนโยบายแห่งรัฐ ร้อยละ 5.12 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องคุณสมบัติและที่มาของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 5.04 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการเลือกตั้งและคุณสมบัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ร้อยละ 3.68 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการเลือกตั้งทางอ้อมและคุณสมบัติสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ร้อยละ 3.36 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการสรรหาและคุณสมบัติสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี  และประเด็นเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 3.20 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องที่มา อำนาจและหน้าที่ของศาลและองค์กรอิสระ (เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ปปช. เป็นต้น) ร้อยละ 0.24 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่เข้าใจ แต่จะศึกษาด้วยตัวเอง และร้อยละ 11.84 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึง ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นในข้อห้าม 8 ข้อของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติที่ไม่เข้าใจและต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจาก กกต.
 
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.60 ระบุว่า ไม่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมใด ๆ รองลงมา ร้อยละ 26.40 ระบุว่า ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมทุกข้อ ร้อยละ 10.96 ระบุว่า การนำเข้าข้อมูล (โพสต์) อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดมหรือข่มขู่ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือส่งต่อข้อมูล (แชร์) ในลักษณะดังกล่าว 

ร้อยละ 9.20 ระบุว่า การสัมภาษณ์ผ่านสื่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่  และการจัดเวทีสัมมนา อภิปราย โดยกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่ไม่มีหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรสื่อมวลชน                ตามกฎหมายเข้าร่วม และมีเจตนาเพื่อปลุกระดมทางการเมือง ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 7.68 ระบุว่า การชักชวนให้ใส่เสื้อ หรือติดป้าย เข็มกลัด ธง ริบบิ้น หรือเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการขายการแจกจ่ายสิ่งของดังกล่าว ในลักษณะรณรงค์ทั่วไปเพื่อนำไปสู่การปลุกระดมทางการเมือง

ร้อยละ 6.80 ระบุว่า การรายงานข่าวหรือการจัดรายการของสื่อมวลชนที่นำไปสู่        การปลุกระดมหรือสร้างความวุ่นวายในสังคม ร้อยละ 6.40 ระบุว่า การรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามของคนในสังคม เพื่อให้ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง มีลักษณะการปลุกระดมหรือขัดขวางการออกเสียง ร้อยละ 5.84 ระบุว่า การทำหรือส่งสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย         อันมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ ร้อยละ 5.12 ระบุว่า การใช้เอกสารใบปลิวหรือแผ่นพับ ที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคายหรือปลุกระดมทางการเมือง และร้อยละ 11.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

บันทึกโดย : วันที่ : 08 พ.ค. 2559 เวลา : 08:30:33

08-12-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ December 8, 2024, 10:24 pm