พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข ระยะที่ 3 ปีที่ 5 ครั้งที่ 1/2559 (เมื่อ10พ.ค.)เพื่อพิจารณาโครงการใหม่ระยะที่ 4 ที่จะดำเนินการในปี 2017 จำนวน 8 โครงการ โดยมีผู้บริหารศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐด้านสาธารณสุข (TUC) ผู้บริหารสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกทม.
รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.มีการประชุมร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย–สหรัฐด้านสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เป็นปีสุดท้ายของการดำเนินการระยะที่ 3 และที่ประชุมจะมีการเสนอโครงการที่จะดำเนินการในระยะที่ 4 กล่าวคือ เป็นโครงการที่จะดำเนินการระหว่างปี 2017 – 2021 ซึ่งที่ผ่านมางานด้านการป้องกัน ดูแล รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กทม.ทำได้ดีขึ้นทั้งในลักษณะของความต่อเนื่องและความครบวงจร สำหรับโครงการระยะที่ 4 ปีที่ 1 (ดำเนินการในปี 2017) ที่ประชุมได้เสนอโครงการทั้งสิ้นจำนวน 8 โครงการ ได้แก่
1. โครงการ BMA-BCU เป็นโครงการประสานงาน ดูแลโครงการทั้งหมดที่อยู่ในความรับชอบของกทม. ลักษณะของงานคือการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการ จัดประชุมคณะกรรมการบริหาร จัดสรรงบประมาณ ทำเวิร์คชอปด้านต่างๆ
2. โครงการ BMA-DGHP-Zoo : Zoonotic prevention and control เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคที่มาจากสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก เนื่องจากปัจจุบันมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. โครงการ BMA-DGMQ-NR7: TB Care in migrant patients in BMA facilitiesการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในแรงงานข้ามชาติ เนื่องจากเมื่อประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนทำให้มีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานมากขึ้น การป้องกันและควบคุมการติดต่อของโรคจึงมีความจำเป็นมากขึ้น
4. โครงการ TB-TBRC-BMA พัฒนาระบบข้อมูลวัณโรคในกทม. ส่วนโครงการที่ 5 – 8 มีเป้าหมายในการควบคุมและป้องกันแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชายและกลุ่มเพศที่สาม ได้แก่
5.โครงการ BMA Cascade เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี สร้างศูนย์ข้อมูลและห้องแลปที่มีประสิทธิภาพ
6. โครงการ BMA-HTS เพิ่มการเข้าถึงการตรวจเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเอชไอวี
7.โครงการ BMA-CARE Network การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการตรวจพบเชื้อเอชไอวีให้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษา
8. โครงการ BMA-SI พัฒนาระบบฐานข้อมูลการติดตาม ควบคุมและป้องกันรักษาเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โดยเป็นการทำร่วมกันระหว่างสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พญ.วันทนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กทม.จะส่งโครงการดังกล่าวให้ TUC พิจารณาเพื่อจัดสรรงบประมาณดำเนินการ อย่างไรก็ตาม หาก กทม.ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนครบทุกโครงการตามที่เสนอขอไป กทม.ก็ยังต้องดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป แม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณของกทม.เอง เพื่อให้ประชาชนในเมืองหลวงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ข่าวเด่น