ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ปชช.60%หนุนปฏิรูปองค์กรตำรวจให้เสร็จในยุคคสช.


 


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน       เรื่อง “การปฏิรูปองค์กรตำรวจในยุค คสช.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13 – 14 มิถุนายน 2559 จากประชาชนทั่วประเทศ  กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิรูปองค์กรตำรวจในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)    

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อระดับความสำเร็จในการปฏิรูปองค์กรตำรวจในยุค คสช. ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.40 ระบุว่า ยุค คสช. ค่อนข้างประสบความสำเร็จในการปฏิรูปองค์กรตำรวจ รองลงมา ร้อยละ 23.60 ระบุว่า ยุค คสช. ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ร้อยละ 20.64 ระบุว่า ยุค คสช. ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการปฏิรูปองค์กรตำรวจ             ร้อยละ 15.44 ระบุว่า ยุค คสช. ประสบความสำเร็จสูงในการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ร้อยละ 0.48 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ประสบความสำเร็จในบางเรื่องบางเรื่องก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ต้องดูเป็นเรื่อง ๆไป และร้อยละ 7.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 
 
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อระยะเวลาที่ควรปฏิรูปองค์กรตำรวจให้แล้วเสร็จ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.88 ระบุว่า ควรปฏิรูปองค์กรตำรวจให้เสร็จในยุค คสช. รองลงมา ร้อยละ 16.56 ระบุว่า การปฏิรูปองค์กรตำรวจเป็นเรื่องเพ้อฝัน ไม่มีรัฐบาลไหนที่จะทำได้จริง ร้อยละ 14.24 ระบุว่า ควรรอให้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการ ร้อยละ 4.80 ระบุว่า การปฏิรูปองค์กรตำรวจเป็นเรื่องไม่จำเป็นเร่งด่วน จะทำเมื่อไรก็ได้ ร้อยละ 0.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการแก้ไข และควรแก้ไขต่อเนื่องกันไปทุกรัฐบาล และร้อยละ 3.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
 
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาขององค์กรตำรวจที่สำคัญ ซึ่งควรได้รับการแก้ไขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.20 ระบุว่า ปัญหาพฤติกรรมการประพฤติมิชอบ รองลงมา ร้อยละ 30.56 ระบุว่า ปัญหาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 22.88 ระบุว่า ปัญหาประสิทธิภาพของระบบการทำงาน ร้อยละ 13.04 ระบุว่า ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 10.16 ระบุว่า ปัญหาการถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง ร้อยละ 8.96 ระบุว่า ปัญหาโครงสร้างองค์กรตำรวจ ร้อยละ 4.24 ระบุว่า ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจ และปัญหาเงินเดือน ค่าจ้างและสวัสดิการของตำรวจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 3.60 ระบุว่า ปัญหาขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ร้อยละ 1.92 ระบุว่า ปัญหาภาระงาน ร้อยละ 0.08 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาการถูกฝ่ายทหารแทรกแซง การบังคับใช้กฎหมาย การมีระเบียบวินัย และการเคารพกฎกติกาบ้านเมือง และร้อยละ 8.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ร้อยละ 4.80 ระบุว่า องค์กรตำรวจไม่มีปัญหาใด ๆ ที่ต้องปฏิรูป   

 

บันทึกโดย : วันที่ : 19 มิ.ย. 2559 เวลา : 08:52:50

23-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 23, 2024, 8:13 pm