MPPM NIDA คาด กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายต่อรับความเสี่ยงหากอังกฤษออกจากการเป็นสมาชิก EU
ผู้อำนวยการหลักสูตร MPPM มองกลุ่มสหภาพยุโรปสั่นคลอน เมื่อ UK เตรียมตัดสินใจออกจากการเป็นสมาชิก EU ด้วยความไม่มั่นใจภาวะภาวะเศรษฐกิจของกลุ่ม EU ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของโลกระส่ำระส่าย นับเป็นปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ควรจับตามอง มีผลให้ กนง. พิจารณาคงดอกเบี้ยต่อไป
รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทการจัดการภาครัฐและเอกชน (MPPM) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) (Assoc Prof Dr. Montree Socatiyanurak Director of the Nation Institute of Development Administration ‘s Master of Public Administration ‘s Master of Public and Private Management program) กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดเงินตลาดทุนกำลังจับตาประเทศอังกฤษที่เปิดให้ประชาชนลงประชามติออกจากการประเทศสมาชิก (Brexit) เนื่องจากอังกฤษมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก คิดเป็นประมาณ 2.4% ของขนาดเศรษฐกิจโลก มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 11 และมีมูลค่าการนำเข้าสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก ซึ่งหากอังกฤษตัดสินใจออกจาก EU จะทำให้ภาคการค้าของประเทศได้รับผลกระทบอาจสูญเสียประเทศคู่ค้า และต้องเผชิญกับการกีดกันทางการค้า
ปัจจุบันตลาด EU ถือเป็นคู่ค้าสำคัญของอังกฤษ โดยมีสัดส่วนการค้ากว่า 35% ที่จะส่งผลกระทบต่อทันทีหากอังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการเปลี่ยนแปลงในกฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งอาจเกิดความเสี่ยงในธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ดำเนินการอยู่ใน UK ด้วยเหตุของมาตรการทางภาษีและเงื่อนไขในการทำการค้าการผลิต ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจระดับการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงและค่าเงินสหรัฐจะแข็งค่าขึ้น
ในส่วนผลกระทบกับประเทศไทย คาดว่าในระยะสั้นจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่ในระยะยาวจะส่งผลต่อการค้าส่งออกของไทย เนื่องจากไทยมีมูลค่าการส่งออกไปอังกฤษมากที่สุดในสหภาพยุโรป โดยในปีที่ผ่านมาไทยได้ดุลการค้าจากอังกฤษประมาณ 9.7% จากมูลค่าการค้ารวม 215,412 ล้านบาท และสัดส่วนมูลค่าการส่งออกที่ไทยส่งไปยังอังกฤษประมาณ 1.8% ของมูลค่าการส่งออกรวม ซึ่งการเติบโตในด้านการค้าระหว่างประเทศระหว่างไทยกับอังกฤษนั้นอยู่ภายใต้การทำข้อตกลงทางการค้าที่เกิดขึ้นจาก EU เป็นสำคัญ ดังนั้น หากอังกฤษออกจาก EU ข้อตกลงในเรื่องสิทธิพิเศษทางการค้าต่างๆต้องยุติ และย่อมส่งผลกระทบต่อมูลค่าการค้าการส่งออกของไทยไปอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของอังกฤษในครั้งนี้ คาดว่าผลการประชุมของ กนง. ในวันที่ 22 มิถุนายนนั้น จะพิจารณาให้ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างละเอียดอ่อนต่อเศรษฐกิจ โดยคาดการได้ว่า กนง. จะมีมติให้คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้
“โดยส่วนตัวเชื่อว่าหากอังกฤษออกจาก EU จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีต่อประชาชนอย่างรุนแรง จึงเชื่อมั่นได้ว่าผลมติวันที่ 23 มิถุนายนนี้ เสียงข้างมากจากประชาชนจะลงมติให้อังกฤษคงอยู่ใน EU ต่อไป” รศ.ดร.มนตรี กล่าว
ข่าวเด่น