ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ประชาชน 63.59 %อยากให้เพิ่มการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเนื้อหาร่างรธน.-ลงประชามติ


 


ประชาชนร้อยละ 63.59 ระบุต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติให้มากขึ้น 56.05% ตั้งใจจะออกไปลงประชามติ 73.16% เชื่อจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังเลือกตั้งหากผ่านประชามติ

ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจความรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,181 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ทำการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปลายเดือนมีนคม พ.ษ. 2559 และได้มีการกำหนดให้มีการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิหาคม พ.ศ. 2559 นี้ ซึ่งระยะเวลากว่าสองเดือนหลังจากที่มีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสมบูรณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งใน โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือในสื่อออนไลน์ต่างๆ รวมถึงให้ประชาชนสามารถติดตามอ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ผ่านช่องทางต่างๆ
 
ด้วยเหตุดังกล่าว ประชาชนในสังคมส่วนหนึ่งเริ่มตื่นตัวในการศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงประชามติซึ่งย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ทราบเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญและอีกส่วนหนึ่งไม่ได้ให้ความสนใจเนื่องจากมองว่ารัฐธรรมนูญยังเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ได้มีผลต่อการดำรงชีวิตของตน ดังนั้นจากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ 

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นหญิงร้อยละ 50.55 และชายร้อยละ 49.45 ส่วนใหญ่มีอายุ 25 ถึง 34 ปีคิดเป็น 30.57% สามารถสรุปผลได้ดังนี้ สำหรับแหล่งข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างรับรู้รับทราบเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติมากที่สุด 5 อันดับคือ สื่อโทรทัศน์คิดเป็นร้อยละ 83.32 สื่อออนไลน์ต่างๆคิดเป็นร้อยละ 81.03 สื่อหนังสือพิมพ์คิดเป็นร้อยละ 78.15 ฟังผู้อื่นเล่าคิดเป็นร้อยละ 75.19 และสื่อวิทยุคิดเป็นร้อยละ 72.14 ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.59 มีความคิดเห็นว่าจำเป็นต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน 

ในด้านพฤติกรรมการอ่านร่างรัฐธรรมนูญนั้น กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 61.3 ยอมรับว่าตนเองยังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีการลงประชามติเลย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.54 ระบุว่าได้อ่านเป็นบางส่วนแล้ว โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ  10.16 ที่ได้อ่านหมดทั้งฉบับแล้ว

ในด้านความคิดเห็นต่อจุดเด่นในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะมีการลงประชามติจากการที่ได้รับรู้รับฟังและอ่านมานั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.57 มีความคิดเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะลงประชามติมีจุดเด่นในด้านการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุด รองลงมามีความคิดเห็นว่ามีจุดเด่นในด้านการแก้ไขปัญหา/ความวุ่นวายทางการเมืองมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 22.69 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.21 ร้อยละ 10.58 และร้อยละ 7.37 มีความคิดเห็นว่ามีจุดเด่นในด้านการให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชน ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาสาธารณะสุขสังคมและด้านการให้บริการพื้นฐานกับประชาชนมากที่สุดตามลำดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 6.27มีความคิดเห็นว่ามีจุดเด่นในด้านการให้ความเท่าเทียมกันระหว่างประชาชน โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9.31 มีความคิดเห็นว่าไม่มีจุดเด่นใดใดเลย
 
ในทางกลับกันสำหรับจุดด้อยในร่างรัฐธรรมนูญนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะลงประชามติมีจุดด้อยในด้านการให้บริการพื้นฐานกับประชาชนมากที่สุดซึ่งคิดเป็นร้อยละ 29.38 รองลงมาร้อยละ 23.29 มีความคิดเห็นว่ามีจุดด้อยในด้านการให้ความเท่าเทียมกันระหว่างประชาชนมากที่สุด ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.63 และร้อยละ 10.84 มีความคิดเห็นว่าด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาสาธารณะสุขสังคม และด้านการให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนมีจุดด้อยมากที่สุดตามลำดับ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9.48 มีความคิดเห็นว่าด้านการแก้ไขปัญหา/ความวุ่นวายทางการเมืองมีจุดด้อยมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.54 มีความคิดเห็นว่าด้านการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นมีจุดด้อยมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างที่เหลือระบุว่าไม่มีจุดด้อยใดใดเลๆคิดเป็นร้อยละ 5.84

สำหรับความตั้งใจในการออกไปลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.05 ระบุว่าตนเองตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิ์ลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.77 ตั้งใจจะไม่ออกไป ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.18 ยังไม่แน่ใจ

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 73.16 เชื่อว่าหากในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติจะถูกนักการเมืองทำการแก้ไขหลังการเลือกตั้งแน่นอน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 19.56 ไม่เชื่อ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.28 ไม่ขณะเดียวกันมีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แต่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48.94 มีความคิดเห็นว่าการมีคำถามพ่วงประชามติจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.46 ยอมรับว่าส่งผล และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.

และในด้านความคิดเห็นต่อกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามตินั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 51.65 มีความคิดเห็นว่าหากในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติควรนำรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาปรับปรุงแก้ไขแล้วประกาศใช้ รองลงมามีความคิดเห็นว่าควรเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 28.11 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.24 มีความคิดเห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาใช้ทันที ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าว
 
 

บันทึกโดย : วันที่ : 08 ก.ค. 2559 เวลา : 10:22:09

19-09-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 19, 2024, 10:17 pm