นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ดีขึ้น โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก เฉลี่ยมีน้ำฝนเข้าวันละ 40 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบันมีน้ำใช้การได้รวม 2.1 พันล้าน ลบ.ม.มากกว่าปีที่แล้วถึง 4 เท่าตัว โดยช่วงเดียวกันนี้ปี 58 เขื่อนภูมิพล มีน้ำใช้การได้ 122 ล้าน ลบ.ม.ปีนี้ 373 ล้าน ลบ.ม. , เขื่อนสิริกิติ์ 284 ล้าน ลบ.ม.ปีนี้ 1,120 ล้าน ลบ.ม. , เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 81 ล้าน ลบ.ม.ปีนี้ 389 ล้าน ลบ.ม.และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 35 ล้าน ลบ.ม.ปีนี้ 301 ล้าน ลบ.ม.
"คาดหวังว่าจากฤดูฝนที่เหลืออีก 3 เดือน สถานการณ์น้ำจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ปริมาณฝนตอนนี้เข้าเกณฑ์เฉลี่ยของฤดูฝนปีปกติแล้ว มีน้ำเข้าเขื่อนทุกวัน ขณะที่ระบายออกวันละ 18 ล้านลบ.ม. จากช่วงเริ่มต้นฤดูที่มีน้ำเข้าน้อย เพราะสภาพดินแห้งมาก แต่ในระยะหลังมีฝนตกต่อเนื่อง กลายเป็นมีน้ำเข้าอ่างมากกว่าต้นฤดู เขื่อนสิริกิติ์ปริมาณน้ำดี แต่ฝั่งเขื่อนภูมิพล ยังน้อยอยู่แม้ไหล เข้าทุกวัน 5-6 ล้านลบ.ม.
"เริ่มต้นฤดูฝนเมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา มีน้ำใน 4 เขื่อนหลัก 1,700 ลบ.ม. ตอนนี้มีปริมาณ 2,100 ล้านลบ.ม. หักจากที่ใช้เหลือสะสมมา 400 ล้านลบ.ม. ได้ปรับลดการระบายจากเขื่อนสิริกิติ์ จาก 10 ล้านลบ.ม. เหลือ 8 ล้านลบ.ม. เขื่อนภูมิพลคงที่ 3 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 8 ล้านลบ.ม. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 7 ล้านลบ.ม. ได้ปรับขึ้นในเขื่อน 2 แห่งๆละ5 ล้าน ลบ.ม. เพื่อมาช่วยพื้นที่ปลูกข้าว 2.8 ล้านไร่ จากแผนปลูกข้าววางไว้ 7.6 ล้านไร่ ช่วงนี้มีฝนตกและเขื่อนปล่อยน้ำมาสนับสนุนเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ1 ล้านไร่ เปิดประตูน้ำเข้าพื้นที่ชลประทาน 22 จังหวัด เข้าสู่ระบบทั้งลุ่มเจ้าพระยา คลองชัยนาท-ป่าสัก แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองส่งน้ำตามน้ำปิง ลำน้ำน่าน คลองส่งน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง คลองระพีพัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าเขื่อนแควน้อยฯ และป่าสักฯ น้ำจะเต็มเขื่อนเมื่อเข้าหน้าฝนเต็มตัว ต้องปล่อยระบายทิ้งช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. จึงมาระบายช่วงนี้ จะได้ช่วยพื้นที่เกษตรจะมีประโยชน์กับเกษตรกรมาก ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ แม้มีน้ำไหลมาแต่ยังติดลบ นำน้ำสำรองมาใช้วันละ 5 ล้านลบ.ม. ยังต้องเฝ้าระวังต่อไปและเก็บน้ำฝนให้มาก"รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว
ข่าวเด่น