ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
หนี้สาธารณะคงค้าง สิ้นพ.ค.59 คิดเป็น 43.35 %ของ GDP


 


สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ  หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 พฤษภาคม 2559 มีจำนวน 5,977,353.33 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.35 ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,415,020.02 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็น      สถาบันการเงิน จำนวน 1,028,771.82 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 521,614.04 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 11,947.45 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับ    เดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างลดลงสุทธิ 72,218.49 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,415,020.02 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 59,199.13 ล้านบาทโดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 7,301.95 ล้านบาท
การลดลงของตั๋วเงินคลัง จำนวน 60,000 ล้านบาท
การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 1,696.15 ล้านบาท 
 

โดยเป็นการกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ แบ่งเป็น (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 1,205.16 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง และ (2) การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 490.99 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง โครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 
 
 
การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 168 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)
การชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย จากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 10,442.80 ล้านบาท แบ่งเป็น
- การชำระหนี้เงินต้นที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 
และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 3,366.52 ล้านบาท
- การชำระหนี้เงินต้นที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จำนวน 4,400 ล้านบาท
- การชำระหนี้เงินต้นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกันและรับภาระแทน จำนวน 691.66 ล้านบาท 

- การชำระดอกเบี้ย จำนวน 1,984.62 ล้านบาท 
การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 11,854.35 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แบ่งเป็นชำระเงินต้น จำนวน 10,015.52 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย จำนวน 1,838.83 ล้านบาท
ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ เพิ่มขึ้น 108.47 ล้านบาท


หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,028,771.82 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 9,893.61 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
 
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร จำนวน 1,000 ล้านบาท
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร จำนวน 1,000 ล้านบาท
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด จำนวน 5,970 ล้านบาท
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด จำนวน 2,000 ล้านบาท
การชำระคืนหนี้เงินต้นจากสัญญาเงินกู้ (Term Loan) จากแหล่งเงินกู้ต่างๆ ที่มากกว่าการเบิกจ่าย ทำให้หนี้ลดลง 2,912.20 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยและบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 3,000 ล้านบาท และ 929.55 ล้านบาท
ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ เพิ่มขึ้น 1,692.23 ล้านบาท

หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 521,614.04 ล้านบาท      ลดลงสุทธิ 2,788.53 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร จำนวน 2,793 ล้านบาท 


หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 11,947.45 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 337.22 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานธนานุเคราะห์ จำนวน 328 ล้านบาท
 
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2559 จำนวน 5,977,353.33 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 5,628,811.51 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.17 และหนี้ต่างประเทศ 348,541.82 ล้านบาท (ประมาณ 9,956.80  ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 5.83 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,201,665.56 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.02 และหนี้ระยะสั้น 775,687.77 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.98 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด 
 


 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 ก.ค. 2559 เวลา : 11:32:22

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 4:00 am