หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน บมจ.ไทยออยล์ รายงานสถานการณ์น้ำมัน ประจำวันที่ 3 ส.ค. 2559
ราคาน้ำมันดิบปรับลดจากภาวะน้ำมันดิบล้นตลาดและตลาดหุ้นสหรัฐฯ อ่อนแอ
(-) ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับลดลงต่อเนื่อง สาเหตุจากตลาดคลายความกังวลจากสถานการณ์อุปทานน้ำมันตึงตัวและหันมาสนใจการผลิตน้ำมันดิบจากผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกที่มีแนวโน้มแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยปริมาณน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นเป็น 33.41ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน กค.ซึ่งมากกว่า 33.31 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก่อนหน้า
(-) นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันดิบได้รับผลกระทบจากการที่นักลงทุนมีการเทขายน้ำมันดิบเพื่อจากัดการขาดทุนหลังราคาน้ำมันดิบเริ่มกลับมาลดลง เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด ทำให้ตลาดหุ้นในสหรัฐปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 1ปีวานนี้
(-) รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ปรับลดราคาน้ำมันที่ส่งออกมาทางเอเชีย รวมถึงเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณถึงการแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรงขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด
(+) สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ(API)ประกาศตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังในสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 29 ก.ค.ปรับลดลงราว 1.34 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามรายงานน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)ซึ่งจะเปิดเผยตัวเลขในวันนี้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคยังคงทรงตัว อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับสูงและอุปสงค์ที่มีในตลาดยังไม่สามารถชดเชยอุปทานส่วนเกินได้
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ยังคงซบเซาทั่วโลก แม้ว่าอุปสงค์ในทวีปเอเชียจะฟื้นตัวขึ้นมาเล็กน้อย ขณะที่อุปทานภายในภูมิภาคยังคงล้นตลาดและไม่สามารถระบายไปยังทวีปยุโรปได้ เนื่องด้วยส่วนต่างราคาที่ยังไม่มากพอที่จะชนะค่าขนส่ง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ39-44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 41-46 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดยังไม่คลี่คลายหลังจากล่าสุดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากอัตราการกลั่นของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ที่ลดลง ประกอบกับปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น
ตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานจากสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี หลังจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวได้ดีก่อนหน้านี้
ลิเบียอาจชะลอการเปิดดำเนินการท่าส่งออกน้ำดิบสาคัญของประเทศ ได้แก่ Es-Sider และ Ras Lanuf ออกไปก่อน หลังจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับค่าตอบแทนของหน่วยรักษาความปลอดภัย รวมถึงการคัดค้านการรวมตัวกันของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยก่อนหน้านี้ ลิเบียเคยแสดงความพร้อมที่จะฟื้นฟูกำลังการผลิตน้ำมันดิบสู่ระดับ 700,000บาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปีนี้ หากท่าส่งออกที่ใหญ่ที่สุดดังกล่าวกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ
โดยหน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน บมจ.ไทยออยล์ ประจำวันที่ 3 ส.ค. 2559
ข่าวเด่น