วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ประชาชนคนไทยจะได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยการลงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ท่ามกลางความคิดเห็น ที่หลากหลาย และกระแสสังคมที่เป็นห่วงสถานการณ์บ้านเมืองว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปหลังจากการลงประชามติ เสร็จสิ้น เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,279 คน สำรวจระหว่างวันที่ 1-6 สิงหาคม 2559 สรุปผลได้ ดังนี้
เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่า “การเมืองไทย” หลังการลงประชามติจะเป็นอย่างไร?
อันดับ 1 เหมือนเดิม 55.43%เพราะ ยังคงมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์มีให้เห็นทุกยุคทุกสมัย ไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฯลฯ
อันดับ 2 ดีขึ้น 31.75%เพราะ ได้มีการลงประชามติ ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นอีกขึ้นตอนหนึ่งที่สำคัญก่อนจะมีการเลือกตั้ง ครั้งใหม่ บ้านเมืองมีเป้าหมาย มีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 แย่ลง 12.82%เพราะ ผลที่ออกมาอาจสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ที่ไม่เห็นด้วย อาจเกิดการแบ่งขั้วแบ่งฝ่าย มีการออกมาเรียกร้องหรือคัดค้าน สถานการณ์อาจรุนแรงมากขึ้น ฯลฯ
เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่า “การเมืองไทย” หลังการลงประชามติ (ถ้าผ่าน) จะเป็นอย่างไร?
อันดับ 1 พรรคการเมืองและนักการเมือง ได้รับผลกระทบ 81.24%
อันดับ 2 มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะได้มีการเลือกตั้ง 79.52%
อันดับ 3 ผู้ที่ไม่เห็นด้วยออกมาเคลื่อนไหว เกิดความขัดแย้ง วุ่นวาย 77.01%
อันดับ 4 สถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น 66.93%
อันดับ 5 บ้านเมืองจะได้เดินหน้า พัฒนาต่อไปได้ 64.74%
เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่า “การเมืองไทย” หลังการลงประชามติ (ถ้าไม่ผ่าน) จะเป็นอย่างไร?
อันดับ 1 ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง 84.05%
อันดับ 2 อาจมีความขัดแย้ง มีการเคลื่อนไหว คัดค้าน จากผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย 70.91%
อันดับ 3 อยู่ภายใต้การดูแลของ คสช. และรัฐบาลเหมือนเดิม 68.80%
อันดับ 4 รัฐบาลต้องทบทวน หาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม 67.63%
อันดับ 5 ต้องมีการชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชน 57.70%
ข่าวเด่น