ทีดีอาร์ไอแนะปรับยุทธศาสตร์การค้า ฝ่าทางตันส่งออกไทย 'เก่งการค้า เพิ่มมูลค่าการผลิต ทางฝ่าวิกฤตส่งออกไทย'
นายฉัตร คำแสง นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพั ฒนาประเทศไทย เปิดเผยถึงการศึกษาการสร้างความเข้มแข็งทางการค้าของไทย ในด้านการส่งออก โดยระบุว่า สถานการณ์ส่งออกของไทย กำลังเผชิญวิกฤตอย่างๆน้อยๆ 3 ด้าน ด้านแรกคือ การส่งออกสินค้าของประเทศไทยติ ดลบ 3 ปีซ้อน และมูลค่าในการส่งออกในแต่ละปี ที่ตกต่ำลง ซึ่งยังไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นตั วกลับมาเติบโตได้เร็วๆนี้
ด้านที่สอง คือ ทั้งนักลงทุนชาวไทยและต่างชาติ เริ่มย้ายและขยายฐานการผลิตไปยั งประเทศเพื่อนบ้านทั้ง อาหารแปรรูป เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนยานยนต์
และสุดท้ายคือ เรากำลังขาดแคลนแรงงานทั้ งแรงงานฝีมือและแรงงานไร้ทักษะ ทั้งในมิติคุณภาพและปริมาณ อันเนื่องมาจากสาเหตุสำคัญคือ ไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้นักลงทุนคิดหนักว่า จะลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นดีหรือไม่
ประเด็นทางเศรษฐกิจข้างต้นล้ วนแต่เป็นปัจจัยที่น่ากั งวลสำหรับพัฒนาการทางเศรษฐกิ จของประเทศไทย ซึ่งตั้งแต่เกิดการลอยตัวค่าเงิ นบาทเมื่อปี 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยใช้โมเดลการพั ฒนาเศรษฐกิจรูปแบบเดียวมาตลอด คือ การวางตำแหน่งตัวเองให้เป็ นฐานการผลิตและส่งออกสินค้า
หากลองนึกภาพตามว่าธุรกิจที่มี ขนาดใหญ่ในประเทศไทยมีธุรกิ จใดบ้าง ก็คงหนีไม่พ้นธุรกิจยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและเกษตรแปรรูป แล้วหากถามต่อว่าธุรกิจเหล่านี้ สร้างมูลค่าเพิ่มต่อประเทศไทยสู งหรือไม่ ก็คงไม่มีใครกล้าตอบเต็มปากเต็ มคำ เพราะรูปแบบของธุรกิจขนาดใหญ่ เหล่านี้มักเป็นการรับจ้างผลิต ซึ่งคนไทยและประเทศไทยมีส่วนแบ่งในมูลค่าเพิ่มไม่มาก
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลการส่ งออกในระยะหลัง บ่งชี้ว่าสินค้าที่ไทยเคยส่ งออกได้สูงมักเป็นสินค้าที่เริ่ มอิ่มตัวในตลาดโลก หรือไม่ก็ถูกประเทศอื่นแย่งชิ งส่วนแบ่งตลาดไป ในขณะที่สินค้าที่มีความต้ องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ วในตลาดโลก เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคม ประเทศไทยกลับมีส่วนร่วมในห่ วงโซ่มูลค่าน้อยและตามประเทศอื่ นไม่ทัน
ทั้งหมดนี้หมายความว่า ประเทศไทยกำลังหมุนตามโลกไม่ทัน ประเทศไทยเก่งในการค้าสินค้าที่ ความต้องการในตลาดโลกเติบโตต่ำ แต่เรากลับไม่สามารถค้าสินค้าที่ โลกกำลังให้คุณค่ากับมัน ดังนั้น พัฒนาการในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาจึงช้าเกินไป กล่าวคือ ธุรกิจใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้ องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ยังไม่สามารถทดแทนธุรกิจเดิมที่ เป็นหัวจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้
ในช่วงเวลาที่ธุรกิจแบบเดิม ๆ กำลังเผชิญปัญหาขี ดความสามารถในการแข่งขันลดลง รวมทั้งมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่มน้อย ประเทศไทยจะต้องวางแผนเพื่อผ่ าทางตันอย่างเร่งด่วน ก่อนที่จะกระทบต่อกำลังซื้ อและความเป็นอยู่ ของประชาชนจากการที่รายได้ลดลง
ทั้งนี้ หนึ่งในหนทางผ่าทางตัน ที่ถือว่าเกิดขึ้นอย่างถูกจั งหวะคือ การเดินหน้ายุทธศาสตร์ผลักดั นไทยเป็นชาติการค้า หลังจากเรื่องนี้นิ่งมานานเนื่ องด้วยของการส่งออกเติบโตอย่ างก้าวกระโดดในอดีต การเดินหน้าผ่าทางตันครั้งนี้ เป็นความพยายามของผู้เกี่ยวข้ องกับนโยบายการค้าของประเทศโดยตรงคือ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์เพื่อทำความเข้าใจที่มาที่ไปของนโยบายนี้ ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็ นประเทศขนาดเล็ก การที่เราพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศเพียงอย่างเดียวจะทำให้ขาด Economies of scale ดังนั้น จึงต้องพึ่งพาการส่งออกด้วยถึงจะสามารถผลิตได้ในระดับที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งยุทธศาสตร์การเป็นชาติการค้ าพยายามหาช่องทางยกระดับการค้ าของประเทศไทยให้ดีขึ้น
ในการยกระดับการค้านั้น มีเรื่องจำเป็นต้องปรับเปลี่ ยนหลายเรื่อง ทั้งการทำธุรกิจของภาคเอกชนก็ดี กฎระเบียบของภาครัฐ ตลอดจนมาตรการส่งเสริมและระบบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยมีหัวใจหลักคือ จะต้องเข้าใจลูกค้าที่เป็นผู้ บริโภคขั้นสุดท้ายและเข้ าใจตลาดอย่างถ่องแท้ และเอาความต้องการของลูกค้าเป็ นตัวตั้งเสมอ ไม่ใช่มองเพียงแค่ว่าเรามีดี อะไรบ้าง
การคิดถึงลูกค้าให้มากขึ้ นสามารถแปลงเป็นนัยต่อการปรับกลยุทธ์ เช่น เอกชนต้องเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ ขาย ใช้การตลาดนำการผลิต และเรียนรู้ที่จะทำช่องทางจำหน่ ายสินค้ามากกว่าเน้นแต่จะพึ่งพาบริษัทต่างชาติ และผู้ผลิตสินค้าที่มีความเก่งในการผลิตอยู่แล้ว ก็อาจต้องพัฒนาสินค้า หรือทำการออกแบบสินค้าเองให้เป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อให้ได้
ทั้งนี้ ภาครัฐก็จะต้องปรับบทบาทหน้าที่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เอกชน พร้อมทั้งดูแลมาตรฐานการทำธุรกิจของเอกชน โดยเฉพาะการผ่อนคลายกฎในการนำเข้าสินค้าที่ ไม่มีในประเทศไทย และการกำหนดมาตรฐานสินค้าให้เท่าเทียมกันสำหรับสินค้ าขายในประเทศและสินค้าที่มี การนำเข้าส่งออก เพื่อให้สินค้าที่ไม่ได้ มาตรฐานไม่มีช่ องทางในการระบายสินค้า
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ หมายความว่าประเทศไทยจะต้องเลิกทัศนคติการขายสินค้าแบบเน้นปริมาณดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น แข่งขันกันว่าใครส่งออกข้าวได้ เป็นที่ 1 ของโลก มิเช่นนั้น แม้เราจะลงแรงมากเท่าไหร่ เราก็ไม่มีทางก้าวทันหรือแซงหน้าคู่แข่งได้ หรือ เรียกได้ว่าเราจะตกอยู่ในภาวะยิ่งแข่งยิ่งแพ้ ดังนั้น เราต้องหันหลับมาดูและให้ ความสำคัญกับมูลค่าเพิ่มว่าสินค้าที่ส่งออกไปนั้น สร้างคุณค่าให้แก่ผู้ซื้อได้ มากขนาดไหนแล้วผู้ขายอย่ างเราจะสามารถเก็บมูลค่าเพิ่ มเหล่านั้นไว้ได้มากเพียงใดมากกว่า
ข่าวเด่น