ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
หยิบเงินหยิบทอง - บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง


 


ตลาดหุ้นไทยวานนี้
          SET INDEX วันศุกร์ที่ผ่านมายังคงปรับฐานลงต่อ ทดสอบแนว 1,435-1,440 จุด กลุ่มโรงพยาบาล, กลุ่มค้าปลีก, กลุ่มธนาคารปรับตัวลงแรง เพียงแต่แนวรับ ดังกล่าวยังทำงานได้ดี ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX ลบอีก 10.10 จุด มาอยู่ที่ 1,445.28 จุด มูลค่าการซื้อขาย 64,449 ล้านบาท
ทั้งนี้ต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 3 อีก 425 ล้านบาท Short สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 5,727 สัญญา และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 2 เพียง 145 ล้านบาท 

ปัจจัยสำคัญวันนี้
          DJIA ปรับตัวลงแรงคืนวันศุกร์ 394.46 จุด จากความกังวลต่อโอกาสเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย
          Bloomberg consensus คาดโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. ขยับเป็น 30% จากวันก่อนหน้า 28%
          Valuation PER17 ของ SET INDEX คลายตัวลงเป็น 13.56x เทียบกับ +1SD ค่าเฉลี่ย 2Yr Forward PER 2 ปีที่ผ่านมา 13.94x
          CDS ของพันธบัตรไทยอายุ 5 ปี ล่าสุดปิดที่ 80.25bps ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ 20 เดือนที่ 80.25bps
          หุ้นที่ถูก SBL สูงสุด 3 อันดับแรกระหว่างวันที่ 29 ส.ค. – 9 ก.ย. SCC 1.1 พันล้านบาท/ PTT 1.0 พันล้านบาท/ KBANK 962 ล้านบาท

มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลาง (วันที่ 20)
          แม้ว่าบรรยากาศการลงทุนวันนี้จะถูกกดดกันจาก DJIA – NYMEX ที่ปรับฐานลงแรงในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา เราประเมินว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะ Valuation ของ DJIA อยู่ในโซนที่แพง บวกกับ DJIA ที่ขึ้นมาตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักหนึ่งมาจากโครงการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ด้วยการกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำมาซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ขยับขึ้น เป็นบวกต่อ ESOP Program ของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเหล่านั้นเช่นกัน ทำให้ EPS ของตลาดหุ้นโดยรวมเพิ่มขึ้น และเมื่อเฟดเริ่มส่งสัญญาณให้สถาบันการเงินใหญ่ในสหรัฐฯ งดกิจกรรมลักษณะดังกล่าว และเร่งปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบการเงินอย่างแท้จริง ทำให้เกิดแรงขายเพื่อ Lock-in-Profit  
          ขณะที่ SET INDEX ปรับฐานลงมาก่อนในรอบนี้ 115 จุด ตลอด 7 วันทำการที่ผ่านมา น่าจะสะท้อนปัจจัยที่กังวลไปมากแล้ว แรงกดดันต่อ DJIA ต่อตลาดหุ้นไทยในวันนี้จะเป็นไปอย่างจำกัดในความเห็นของเรา อาจเกิด Sector Rotation จากกลุ่มพลังงานที่เผชิญกับแรงกดดันของราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง สู่ Domestic Play ที่ Valuation คลายตัวไปมาก
          ดังนั้นในเชิงกลยุทธ์การลงทุน เรายังคงแนะนำให้นักลงทุน “สะสมหุ้นหลักที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง แนวโน้ม 2H59 ยังเห็นการเติบโตของผลการดำเนินงานโดดเด่น” การปรับฐานลงของหุ้นในช่วงนี้ จึงเป็นจังหวะที่เข้าสะสมหุ้น ประเมินกรอบแกว่ง 1,420-1,450 จุด 

Strategy of the Day          
          1. เก็งกำไร SCC : ราคาปิด 516.00 บาท ราคาเหมาะสม 600.00 บาท
          a) MBKET คาดว่าหุ้น SCC จะปรับตัวได้ดีกว่าตลาด หาก SET INDEX เข้าสู่การฟื้นตัว จากการเกิด Short Covering เนื่องจากถูก SBL ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (29 ส.ค. – 9 ก.ย.) สูงถึง 1,128 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 530 บาท 
          b) มีปัจจัยบวกรออยู่ คือการถูกเพิ่มเข้าสู่ดัชนี FTSE Asia Pacific Ex Japan ในวันศุกร์นี้ (16 ก.ย.) โดยคาดว่า SCC จะได้อานิสงค์จากการปรับเพิ่มน้ำหนักในรอบนี้สูงถึง US$180 ล้าน
          c) คงมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างใน 2H59 จากแผนลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ จะผลักดันความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ให้ฟื้นตัว และ SCC มีความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนและมีการขยายธุรกิจต่อเนื่องจาก EBITDA สูงถึงปีละ 8 หมื่นล้านบาท จะเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตในระยะยาว          
          2. สะสม GPSC : ราคาปิด 32.50 บาท ราคาเหมาะสม 38.00 บาท
          a) ราคาหุ้นปรับตัวลง -11% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เทียบกับ SET INDEX ที่ปรับตัวลง -6% ส่งผลให้ Upside เข้าสู่ระดับที่น่าสนใจ และเป็นธุรกิจ Defensive ที่รายได้มั่นคง จึงเป็นที่พักเงินได้ดีภายใต้ภาวะตลาดผันผวน 
          b) ทิศทางกำไรสุทธิ 3Q59 เติบโตทั้ง  yoy และ qoq จากการรับรู้รายได้เงินปันผลจาก RPCL และจะเป็นไตรมาสแรกที่รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้า NNEG เต็มไตรมาส 
          c) คาดกำไรสุทธิปี 2559 เติบโต +17.5% yoy เป็น 2,500 ล้านบาท ต่อเนื่อง +12.2% ในปี 2560 และโครงการไซยะบุรีในปี 2561 จะผลักดันให้กำไรสุทธิปี 2561 เร่งตัวขึ้นอีก +23.2% yoy คิดเป็นการเติบโตของกำไร 3 ปีข้างหน้าเฉลี่ย (CAGR) ที่ 18.4% ขณะที่ Valuation น่าสนใจ ระดับ PER2560 ที่ 17.4 เท่า และลดลงเหลือ 14.1 เท่าในปี 2561 รวมทั้งให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลในเกณฑ์ดีที่ราว 3.8% ต่อปี 

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
กลับมาขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 6 วันทำการ US$324 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$210 ล้าน 
ตลาด PSE / VEX / JSE ถูกลดน้ำหนักต่อเนื่อง          

Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติชะลอทั้งการซื้อและขายสุทธิ
          นักลงทุนต่างชาติ คงการซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 3 เพียง 425 ล้านบาท รวม 3 วันทำการซื้อสุทธิ 1,473 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD ต่างชาติซื้อสุทธิขยับขึ้นเป็น 118,875 ล้านบาท 
          ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมา Short สุทธิเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 5,727 สัญญา เทียบกับ 2 วันทำการก่อนหน้า Long สุทธิ 8,913 สัญญา น่าจะเป็นการทยอยปิดสถานะ Long ที่เปิดไว้ก่อนหน้า เนื่องจาก S50U16 ยังคงปิดสูงกว่า SET50 Index เป็นวันที่ 2 เท่ากับ 0.02 จุด จากวันก่อนหน้า Premium เท่ากับ 0.58 จุด ทำให้นักลงทุนกลุ่มนี้ทยอยปิดสถานะ Long  ส่งผลให้ยอด QTD นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Short สุทธิขยับเป็น 27,049 สัญญา   
          และนักลงทุนกลุ่มนี้ คงการขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 2 เพียง 145 ล้านบาท รวม 2 วันทำการขายสุทธิ 946 ล้านบาท ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยเริ่มทรงตัวอีกครั้ง ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการเพียง 1.38bps จากวันก่อนหน้าลดลงมากถึง 5.75bps ปิดที่ 2.128%

Short-Selling วานนี้ 
ลดลงเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ แต่ยังคงหนาแน่นที่ 1,682 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 2,478 ล้านบาท และ SBL กระจายตัวไปใน 87 หุ้น           

NVDR Movement
NVDR ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 แต่ยังคงเป็นการปรับพอร์ตจาก Domestic เป็น Global Play 
          การซื้อขายผ่าน NVDR ขายสุทธิอีก 186 ล้านบาท ลดลงจากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 275 ล้านบาท และเป็นที่น่าสนใจว่า NVDR ยังคงเลือกลดกลุ่ม Domestic Play อย่างกลุ่ม ICT ขายสุทธิ 381 ล้านบาท กลุ่มขนส่งขายสุทธิ 273 ล้านบาท และกลุ่มค้าปลีก ขายสุทธิ 202 ล้านบาท และกลับมาสะสมกลุ่ม Globla Play อย่างกลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิ 515 ล้านบาท SCC ซื้อสุทธิ 523 ล้านบาท

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ – การเงินรายภูมิภาค

สหรัฐอเมริกา
          เฟดสาขาดัลลัสให้ความเห็นหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ จะต้องเร่งกระตุ้นการจ้างงาน: นาย Kaplan ประธานเฟดสาขา Dallas ให้ความเห็นถึงการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ รัฐบาลควรจะมุ่งเน้นไปยังประเด็นของอายุของแรงงาน หากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ การกระตุ้นการจ้างงานถือเป็นตัวแปรสำคัญ ประเด็นอื่นที่ควรให้ความสำคัญคือ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การเติบโตของระดับหนี้สาธารณะ และการปฎิรูปหลักเกณฑ์ของรัฐบาลและระบบการเงิน

ยุโรป
          เยอรมันคาดงบประมาณของอียูอาจเพิ่มขึ้น 4.5 พันล้านยูโรหลัง Brexit: เยอรมันประเมินว่า หลัง Brexit เยอรมันอาจเพิ่มงบประมาณในกลุ่มอียูราว 4.5 พันล้านยูโร/ปีในปี 2562-2563 จากค่าเฉลี่ยที่เยอรมันใส่งบประมาณเข้าไปในกลุ่มอียูมากกว่า 1.5 หมื่นล้านยูโรในแต่ละปี หรือคิดเป็น 21% ของ GDP ในอียู แต่เมื่อ Brexit ทำให้ผู้ใส่เงินงบประมาณใหญ่อันดับ 2 อย่างอังกฤษหายไป เยอรมันจะต้องเพิ่มสัดส่วนเข้ามา อาจแตะระดับ 25% ของ GDP 
          รมว.คลังของเยอรมันเสนอแนวคิดใช้อัตราภาษีนิติบุคคลเดียวกันในอียู: การปลักดันให้ European Commission ในการสร้างฐานภาษีนิติบุคคลเดียวกันในอียู ถือเป็นแนวคิดที่ดี รมว.คลัง เยอรมัน เชื่อว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกใน EC รวมถึงการเข้มงวดในการคิด VAT ที่ป้องกันการหลบภาษี และโครงข่ายการฟอกเงิน

จีน
          ไม่มี

เอเชียแปซิฟิก                                                                           
          ไม่มี

ไทย
          ไม่มี


         
 
โดย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด ประจำวันที่ 12 ก.ย. 2559

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 ก.ย. 2559 เวลา : 10:01:03

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 3:14 am