หัวเว่ย ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 72 ในรายงานการสำรวจแบรนด์ระดับโลกที่ดีที่สุดประจำปี 2016 ของอินเตอร์แบรนด์ (Interbrand's 2016 Best Global Brands Report) ซึ่งถือว่าเป็นการขยับสูงขึ้นถึง 16 อันดับจากการจัดอันดับในปี 2015 และเป็นการขยับอันดับสูงขึ้นเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันในรายงานของ อินเตอร์แบรนด์ นับตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่แบรนด์จากประเทศจีนได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในรายงานแบรนด์การสำรวจแบรนด์ที่ดีที่สุดในโลกนี้
จากรายงานของอินเตอร์แบรนด์ "เป็นอีกครั้งที่หัวเว่ยติดท็อปลิสต์ในการจัดอันดับจากรายงานการสำรวจ แบรนด์ระดับโลกที่ดีที่สุดประจำปี 2016 ของอินเตอร์แบรนด์ มูลค่าของแบรนด์ราว 5,835 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเพิ่มขึ้น 18% จากปีที่แล้ว ในรายงานประจำปีของอินเตอร์แบรนด์ หัวเว่ยยังถือว่าขยับอันดับสูงขึ้นมากที่สุดแบรนด์หนึ่งในกลุ่มแบรนด์ด้านเทคโนโลยี โดยขยับจากอันดับที่ 88 มาสู่อันดับ 72 ในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อของแบรนด์ที่มองผู้บริโภคเป็นอันดับหนึ่ง และความมุ่งมั่นที่จะมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณค่าให้กับพวกเขา ในการทำแคมเปญต่างๆ ของแบรนด์ หัวเว่ยยังแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชั่นส์ด้านไอซีทีที่มีความก้าวหน้านั้นสามารถผลักดันให้เกิดโลกที่เชื่อมโยงถึงกันได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน หัวเว่ยยังพบกับความเติบโตในเชิงการรับรู้ของผู้บริโภคในยุโรป ซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญสำหรับธุรกิจด้านการสื่อสารบริการโทรคมนาคม (carrier) องค์กร (enterprise) ของหัวเว่ย รวมถึงเป็นตลาดที่หัวเว่ยขยายการเติบโตอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งนำเสนอนวัตกรรมล่าสุดให้กับผู้บริโภค ในปีนี้ หัวเว่ยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องที่ทำให้ภาพลักษณ์ของ แบรนด์แข็งแกร่งขึ้น หัวเว่ยยังเป็นผู้นำตลาดในประเทศจีนมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งยังเริ่มต้นทำตลาดและวางกลยุทธ์ในระดับโลกด้วย"
ภาพลักษณ์ของแบรนด์หัวเว่ยที่แข็งแกร่งและมีความชัดเจนเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการเติบโตในด้านรายได้ที่แข็งแกร่ง และเป็นผลมาจากการเติบโตของกลุ่มคอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (CBG) ในช่วงเวลานับจากปี 2011 ถึง 2015 หัวเว่ยมีอัตราการเติบโตในแต่ละปีอยู่ที่ราว 18% และมีรายได้รวมในปีที่แล้ว 395,000 ล้านหยวน (หรือราว 60,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ในจำนวนนี้ ในกลุ่มธุรกิจ หัวเว่ย คอนซูเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ทำรายได้ทั้งหมด 129,100 ล้านหยวน (หรือราว 19,360 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 72.9% จากปี 2014 ทั้งนี้ หัวเว่ยได้จำหน่ายสมาร์ทโฟนทั่วโลกเป็นจำนวน 108 ล้านเครื่องในปี 2015 ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 44%
"หัวเว่ยต้องการสร้างโลกอันเชื่อมโยงถึงกันที่ดีกว่า (better connected world) โลกที่มีเทคโนโลยีไอซีที โดยเฉพาะคลาวด์ ระบบซอฟท์แวร์ที่เชื่อมโยงกันเป็นเน็ตเวิร์ค ( Internet of Things ) และปัญญาประดิษฐ์ เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ" มร.เควิน จาง ประธานบริษัท หัวเว่ย คอร์ปอเรท มาร์เก็ตติ้ง กล่าวก่อนเสริมว่า "ความมุ่งมั่นต่อการให้ความสำคัญกับลูกค้า และการมอบคุณค่าให้กับพวกเขา คือรากฐานสำคัญของความเป็นแบรนด์หัวเว่ย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังยึดมั่นในหลักการของการทำงานร่วมกันอย่างเปิดกว้างและการแชร์ความสำเร็จร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมแบบดิจิตอลที่ก้าวหน้า"
ในกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม (Carrier) หัวเว่ยพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการเครือข่ายในการให้บริการด้านดิจิตอลทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านธุรกิจ ด้านการปฏิบัติการ ด้านโครงสร้างสถาปัตยกรรม และด้านเน็ตเวิร์ค บริษัทมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ IoT ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับบทบาทของผู้ให้บริการด้านเทเลคอมในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกหลากหลายอุตสาหกรรม
สำหรับกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ (Enterprise) หัวเว่ยพัฒนาขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยบริษัทได้พัฒนาระบบแบบเปิดและผลักดันให้เกิดความร่วมมือทั้งกับลูกค้าและพันธมิตร ส่งผลให้องค์กรต่างๆ เริ่มรู้จักผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นส์ระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของหัวเว่ยมากขึ้น เทคโนโลยีคลาวด์ การจัดเก็บข้อมูล และผลิตภัณฑ์ SDN รวมถึงโซลูชั่นส์เซฟซิตี้และอิเล็คทริคพาวเวอร์ IoT ของหัวเว่ย ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในหลายๆ ภาคส่วนทั้งภาคการเงิน พลังงาน คมนาคม ความปลอดภัยสาธารณะ การศึกษา และในแวดวงสื่อสารมวลชน
สำหรับกลุ่ม คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (CBG) หัวเว่ยยังรักษาการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ผ่านผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนแฟลกชิพของบริษัท อาทิ P9, Mate 8 หัวเว่ย กลายเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนที่ติดอันดับท็อปแบรนด์หนึ่งในเกือบ 30 ประเทศ หัวเว่ยจำหน่ายสมาร์ทโฟนทั่วโลกเป็นจำนวน 108 ล้านเครื่องในปี 2015 ซึ่งนับว่าเป็นการจำหน่ายได้เกินกว่า 100 ล้านเครื่องเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ การเติบโตอย่างแข็งแกร่งในเรื่องการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า โดยเฉพาะการทำนายการเติบโตที่จะยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2021 จะช่วยให้แบรนด์หัวเว่ยยังคงอยู่ในตำแหน่งผู้นำในตลาดสมาร์ทโฟนโลกอย่างต่อเนื่องต่อไป
"อันดับที่ขยับสูงขึ้นในรายงานของอินเตอร์แบรนด์ช่วยตอกย้ำว่า กลยุทธ์ของหัวเว่ยที่มุ่งเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่เรามาถูกทางแล้ว และแบรนด์หัวเว่ยมีการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคทั่วโลก" มิสกลอรี่ จาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด หัวเว่ย คอนซูเมอร์ บิสซิเนส กรุ๊ป กล่าว "หัวเว่ยพยายามรักษาสมดุลของการเป็นผู้ผลิตนวัตกรรมคนสำคัญและการเป็นผู้ท้าทายโลกการตลาดคนใหม่ไปพร้อมๆ กัน และเราได้เห็นความสำเร็จจากกลยุทธ์ของบริษัทที่โฟกัสกับการวิจัยและพัฒนา การให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า"
ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ หัวเว่ยใช้งบประมาณมากกว่า 10% ของรายได้ต่อปีไปกับการทำการวิจัยและพัฒนา โดยบริษัทได้ก่อตั้งศูนย์วิจัย 16 แห่งทั่วโลก อาทิ ศูนย์การวิจัยสุนทรียศาสตร์หัวเว่ยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทีมวิศวกรหัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับแบรนด์ลักชัวรี่ของฝรั่งเศสในการคิดค้นเทคโนโลยีที่จะสอดรับกับเทรนด์แฟชั่น หรือแม็กซ์ บีเร็ค อินโนเวชั่น แล็บในเมืองเว็ทซ์เลอร์ เยอรมนี ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ของหัวเว่ย เป็นที่ที่หัวเว่ยและไลก้าร่วมกันคิดค้นเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกล้องถ่ายภาพบนสมาร์ทโฟนและเพิ่มคุณภาพของภาพที่ถ่ายได้ หัวเว่ยยังมีโอเพ่นแล็บมากกว่า 10 แห่งในประเทศจีน ยุโรป และในประเทศอื่นๆ ซึ่งหัวเว่ยทำงานร่วมกับพันธมิตรมากกว่า 600 ราย ในขณะเดียวกัน หัวเว่ยยังเปิดตัวโปรแกรม Developer Enablement Program มูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนพันธมิตรและผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วย
ข่าวเด่น