ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ดีเดย์ 25 ต.ค. นี้ รถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 2กรุงเทพฯไปตจว.ทุกคันต้องใช้สถานีขนส่งผู้โดยสารทั้ง 3 แห่ง


 


ดีเดย์ 25 ต.ค. นี้ รถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 2 กรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัดทุกคัน ต้องเข้าใช้สถานีขนส่งผู้โดยสารทั้ง 3 แห่ง คือจตุจักร, สายใต้ปิ่นเกล้า, เอกมัย พร้อมอำนวยความสะดวกประชาชนจัดรถ Shuttle bus ให้บริการฟรี รับ-ส่งจากอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปทุกสถานีอย่างเพียงพอ พร้อมตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วม 4 จุด ตามสถานีขนส่งทั้ง 3 แห่งและอนุสาวรีย์ชัยฯ เพื่อประเมินผลการให้บริการทุกวัน ส่วนรถตู้ต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ ต้องจอดให้บริการที่สถานีขนส่งผู้โดยสารประจำจังหวัดหรือสถานที่ที่ทางราชการกำหนด ย้ำ!! หากผู้ประกอบการฝ่าฝืนไม่เข้าใช้สถานีมีโทษปรับสูงสุด ผิดซ้ำเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการเดินรถ

 นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป รถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 2 ที่วิ่งให้บริการเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังต่างจังหวัด ระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร ต้องเข้าใช้สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งจตุจักร (หมอชิต), สถานีขนส่งสายใต้ (ปิ่นเกล้า) และสถานีขนส่งเอกมัย เป็นจุดจอดรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งคณะกรรมการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหารถตู้โดยสารสาธารณะจะติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิด ผ่านการทำงานประสานความร่วมมือในการกำกับดูแลการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างเป็นระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ทหาร, ตำรวจ, บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.), กรมการขนส่งทางบก, องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และกรุงเทพมหานคร เพื่อดูแลความปลอดภัย และป้องกันมิจฉาชีพและการเอาเปรียบ ด้าน บขส. ได้จัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับรถตู้เข้าใช้ในพื้นที่พร้อมทุกด้านแล้ว มีจุดจอดรอ จุดพักคอยสำหรับรถตู้รองรับเพียงพอ โดยสถานีขนส่งจตุจักรรองรับจำนวนรถได้ 2,046 คัน สถานีขนส่งสายใต้ (ปิ่นเกล้า) รองรับได้ 1,617 คัน และสถานีขนส่งเอกมัยรองรับได้ 542 คัน รวม 4,205 คัน โดยจัดจุดจอดแบ่งตามเกาะต่างๆ เหมือนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อความคุ้นชินของผู้โดยสาร และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ขสมก. ได้จัดรถ Shuttle bus วิ่งให้บริการรับส่งฟรี ในเส้นทางอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสารทั้ง 3 แห่ง อย่างเพียงพอ พร้อมทั้งมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วม 4 จุด คือที่สถานีขนส่งผู้โดยสารทั้ง 3 แห่งและที่อนุสาวรีย์ชัยฯ เพื่อร่วมติดตามประเมินผลการให้บริการเป็นประจำทุกวัน ซึ่งผู้โดยสารที่ใช้บริการสามารถแสดงความคิดเห็น แนะนำการให้บริการเพื่อปรับปรุงแนวทางการให้บริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารมากที่สุด ส่วนรถตู้โดยสารสาธารณะจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ ต้องจอดให้บริการที่สถานีขนส่งผู้โดยสารประจำจังหวัดด้วย หรือสถานที่ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดจัดไว้ให้ใช้เป็นจุดบริการ

 อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนไม่นำรถตู้เข้าใช้สถานีทั้ง 3 แห่ง มีความผิดทั้งพนักงานขับรถและผู้ประกอบการขนส่ง โดยกรมการขนส่งทางบกจะดำเนินการมาตรการลงโทษสูงสุดตามกฎหมายทุกกรณี และหากพบการกระทำผิดซ้ำซากพิจารณาเพิกถอนรถออกจากบัญชีประกอบการและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการเดินรถด้วย ทั้งนี้ การจัดระเบียบและกำหนดให้ต้องเข้าใช้สถานีขนส่งผู้โดยสาร เป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ทางราชการได้กำหนดให้รถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องใช้สถานีขนส่งผู้โดยสารเป็นต้นทางและปลายทาง โดยมีหน่วยงานกำกับดูแลการบริหารจัดการเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของประชาชน บริหารจัดการตารางการเดินรถ ควบคุมอัตราค่าโดยสาร การเรียกเก็บค่าโดยสาร แก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล และช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่เขตเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นการยกระดับการให้บริการให้มีมาตรฐาน สร้างความพึงพอใจและเชื่อมั่นในการเดินทาง ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามรายละเอียดการเดินทาง หรือร้องเรียนปัญหาจากการใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ โทร. 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด




ดีเดย์ 25 ต.ค. นี้ รถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 2 กรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัดทุกคัน ต้องเข้าใช้สถานีขนส่งผู้โดยสารทั้ง 3 แห่ง คือจตุจักร, สายใต้ปิ่นเกล้า, เอกมัย พร้อมอำนวยความสะดวกประชาชนจัดรถ Shuttle bus ให้บริการฟรี รับ-ส่งจากอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปทุกสถานีอย่างเพียงพอ พร้อมตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วม 4 จุด ตามสถานีขนส่งทั้ง 3 แห่งและอนุสาวรีย์ชัยฯ เพื่อประเมินผลการให้บริการทุกวัน ส่วนรถตู้ต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ ต้องจอดให้บริการที่สถานีขนส่งผู้โดยสารประจำจังหวัดหรือสถานที่ที่ทางราชการกำหนด ย้ำ!! หากผู้ประกอบการฝ่าฝืนไม่เข้าใช้สถานีมีโทษปรับสูงสุด ผิดซ้ำเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการเดินรถ

 นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป รถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 2 ที่วิ่งให้บริการเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังต่างจังหวัด ระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร ต้องเข้าใช้สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งจตุจักร (หมอชิต), สถานีขนส่งสายใต้ (ปิ่นเกล้า) และสถานีขนส่งเอกมัย เป็นจุดจอดรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งคณะกรรมการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหารถตู้โดยสารสาธารณะจะติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิด ผ่านการทำงานประสานความร่วมมือในการกำกับดูแลการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างเป็นระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ทหาร, ตำรวจ, บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.), กรมการขนส่งทางบก, องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และกรุงเทพมหานคร เพื่อดูแลความปลอดภัย และป้องกันมิจฉาชีพและการเอาเปรียบ ด้าน บขส. ได้จัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับรถตู้เข้าใช้ในพื้นที่พร้อมทุกด้านแล้ว มีจุดจอดรอ จุดพักคอยสำหรับรถตู้รองรับเพียงพอ โดยสถานีขนส่งจตุจักรรองรับจำนวนรถได้ 2,046 คัน สถานีขนส่งสายใต้ (ปิ่นเกล้า) รองรับได้ 1,617 คัน และสถานีขนส่งเอกมัยรองรับได้ 542 คัน รวม 4,205 คัน โดยจัดจุดจอดแบ่งตามเกาะต่างๆ เหมือนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อความคุ้นชินของผู้โดยสาร และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ขสมก. ได้จัดรถ Shuttle bus วิ่งให้บริการรับส่งฟรี ในเส้นทางอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสารทั้ง 3 แห่ง อย่างเพียงพอ พร้อมทั้งมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วม 4 จุด คือที่สถานีขนส่งผู้โดยสารทั้ง 3 แห่งและที่อนุสาวรีย์ชัยฯ เพื่อร่วมติดตามประเมินผลการให้บริการเป็นประจำทุกวัน ซึ่งผู้โดยสารที่ใช้บริการสามารถแสดงความคิดเห็น แนะนำการให้บริการเพื่อปรับปรุงแนวทางการให้บริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารมากที่สุด ส่วนรถตู้โดยสารสาธารณะจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ ต้องจอดให้บริการที่สถานีขนส่งผู้โดยสารประจำจังหวัดด้วย หรือสถานที่ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดจัดไว้ให้ใช้เป็นจุดบริการ

 อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนไม่นำรถตู้เข้าใช้สถานีทั้ง 3 แห่ง มีความผิดทั้งพนักงานขับรถและผู้ประกอบการขนส่ง โดยกรมการขนส่งทางบกจะดำเนินการมาตรการลงโทษสูงสุดตามกฎหมายทุกกรณี และหากพบการกระทำผิดซ้ำซากพิจารณาเพิกถอนรถออกจากบัญชีประกอบการและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการเดินรถด้วย ทั้งนี้ การจัดระเบียบและกำหนดให้ต้องเข้าใช้สถานีขนส่งผู้โดยสาร เป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ทางราชการได้กำหนดให้รถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องใช้สถานีขนส่งผู้โดยสารเป็นต้นทางและปลายทาง โดยมีหน่วยงานกำกับดูแลการบริหารจัดการเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของประชาชน บริหารจัดการตารางการเดินรถ ควบคุมอัตราค่าโดยสาร การเรียกเก็บค่าโดยสาร แก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล และช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่เขตเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นการยกระดับการให้บริการให้มีมาตรฐาน สร้างความพึงพอใจและเชื่อมั่นในการเดินทาง ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามรายละเอียดการเดินทาง หรือร้องเรียนปัญหาจากการใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ โทร. 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด











 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 ต.ค. 2559 เวลา : 10:41:51

23-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 23, 2024, 8:44 pm