ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
สศค.ให้ความรู้ทางการเงินสำหรับเยาวชน


 


นายพรชัย ฐีระเวช รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จัดสัมมนาระหว่างประเทศ เรื่อง การให้ความรู้ทางการเงินสำหรับเยาวชน (International Seminar on Financial Literacy for Youth) เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องกมลทิพย์ บอลรูม 3 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ สถาบันการเงินภาครัฐและเอกชน และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้นประมาณ 120 คน 

การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานการให้ความรู้ทางการเงินแก่เยาวชนในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำประสบการณ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งแบบอย่าง
การปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้รับไปปรับใช้กับการให้ความรู้ทางการเงินแก่เยาวชนไทย

ในการสัมมนาดังกล่าว ดร. วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้กล่าวเปิดงาน รวมทั้งกล่าวว่า ความรู้ทางเงินเป็นเรื่องสำคัญและมีส่วนช่วยให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีและส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น และในปี 2559 กระทรวงการคลังโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินได้ดำเนินโครงการการให้ความรู้ทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้าจำนวนกว่า 150,000 คน นอกจากนี้ สศค. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรความรู้ทางการเงิน สำหรับให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มนักศึกษา จากนั้น ดร. แมน ชุติชูเดช ผู้ช่วยเลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ได้กล่าวต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา 

ช่วงของการสัมมนา มีวิทยากรร่วมให้ความรู้จำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย Mr. Naoyuki Yoshino จาก Asian Development Bank Institute ประเทศญี่ปุ่น Professor Roslyn Russell จาก Australian Government Financial Literacy Board Mr. Bernd Weethenbach จาก Saving Banks Foundation   for International Cooperation สหพันธรัฐเยอรมนี และ ดร. กุลวีร์ สภาวสุ จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีนายพิศุทธ์ สัมปทานุกุล จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งวิทยากรแต่ละท่านได้ถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางการดำเนินนโยบายการให้ความรู้ทางการเงินของแต่ละประเทศ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยเพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป 


การสัมมนาระหว่างประเทศ เรื่อง การให้ความรู้ทางการเงินสำหรับเยาวชน (International Seminar on Financial Literacy for Youth)

การสัมมนาระหว่างประเทศ เรื่อง การให้ความรู้ทางการเงินสำหรับเยาวชน (International Seminar on Financial Literacy for Youth) จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องกมลทิพย์ บอลรูม 3 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ สถาบันการเงินภาครัฐและเอกชน และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้นประมาณ 120 คน ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานการให้ความรู้ทางการเงินแก่เยาวชนในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำประสบการณ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งแบบอย่างการปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้รับไปปรับใช้กับการให้ความรู้ทางการเงินแก่เยาวชนไทย

ในการสัมมนาดังกล่าว ดร. วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้กล่าวเปิดงาน รวมทั้งกล่าวว่า ความรู้ทางเงินเป็นเรื่องสำคัญและมีส่วนช่วยให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีและส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น และในปี 2559 กระทรวงการคลังโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินได้ดำเนินโครงการการให้ความรู้ทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้าจำนวนกว่า 150,000 คน นอกจากนี้ สศค. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรความรู้ทางการเงิน สำหรับให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มนักศึกษา จากนั้น ดร. แมน ชุติชูเดช ผู้ช่วยเลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ได้กล่าวต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา 

ช่วงของการสัมมนา มีวิทยากรร่วมให้ความรู้จำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย Mr. Naoyuki Yoshino จาก Asian Development Bank Institute ประเทศญี่ปุ่น Professor Roslyn Russell จาก Australian Government Financial Literacy Board Mr. Bernd Weethenbach จาก Saving Banks Foundation 
for International Cooperation สหพันธรัฐเยอรมนี และ ดร. กุลวีร์ สภาวสุ จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีนายพิศุทธ์ สัมปทานุกุล จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นผู้ดำเนินรายการสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. Mr. Naoyuki Yoshino ได้นำเสนอว่า ประเทศญี่ปุ่นได้ตระหนักว่า ปัญหาด้านการขาดความรู้ทางการเงินเกิดจากการไม่ให้ความสำคัญของประชาชน ความไม่เข้าใจ การขาดองค์ความรู้ของผู้สอน และเอกสารการเรียนยังมีไม่มากนัก หน่วยงานผู้รับผิดชอบ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ ธนาคารกลาง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงร่วมกันจัดตั้งสภาการศึกษาทางการเงินโดยมีเป้าหมายว่า การให้ความรู้ทางการเงินต้องครอบคลุมตั้งแต่ระบบการออมเพื่อการชราภาพ การประกันชีวิต การลงทุนระยะยาว การลงทุนส่วนบุคคล และการบริหารความเสี่ยงทางการเงินส่วนบุคคล และดำเนินการให้กระทรวงศึกษาธิการสร้างตำราและหลักสูตร ฝึกผู้สอน โดยเน้นเรื่องความรู้ด้านการเงิน การบริหารเงินและทรัพย์สิน การตัดสินใจทางการเงิน การลงทุน ภาพรวมทางเศรษฐกิจและนโยบายภาครัฐ ความเสี่ยงและการป้องกันความเสี่ยง และให้มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ Mr. Yoshino ได้มีข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรจัดทำแบบสำรวจความรู้ทางการเงินเป็นรายปี ตลอดจนสร้างตำราและฝึกสอนครูและผู้ปกครองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้พร้อมไปกับนักเรียน

2. Professor Roslyn Russell นำเสนอว่า ปัญหาเกี่ยวกับความรู้ทางการเงินในกลุ่มเยาวชน เกิดจากผู้ปกครองซึ่งยังมีความรู้ทางการเงินต่ำ ส่งผลให้เยาวชนไม่ได้รับการศึกษาในเรื่องดังกล่าวจนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ภายใต้ความท้าทายของระบบบริโภคนิยม การเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายขึ้น และการส่งเสริมการออมซึ่งยังไม่ครอบคลุม ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกันให้ความรู้ตั้งแต่ระดับเยาวชนโดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อให้สังคมมีพื้นฐานทางการเงินที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ ยังต้องมีการกำหนดเป้าหมาย เช่น ให้เยาวชนมีความรับผิดชอบทางการเงินในระยะยาวเพื่อความยั่งยืนทางการเงินในอนาคตของตน โดยตั้งคำถามแก่เยาวชนถึงเป้าหมายทางการเงินและเป้าหมายของชีวิต เป็นต้น สำหรับแนวทางการดำเนินงาน ควรมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา การกำหนดกฎระเบียบและการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม การจัดบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เข้าถึงได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม และการส่งเสริมพฤติกรรมด้านการวางแผนทางการเงินและเป้าหมายของการออม ทั้งนี้ ประเทศออสเตรเลียได้กำหนดให้มีแผนการให้ความรู้ทางการเงินแห่งชาติ โดยมีสถาบันการเงิน องค์กรเอกชน รัฐบาล และภาคการศึกษาร่วมกันกำหนดแผนงาน/โครงการ และขับเคลื่อนผ่านการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ การกำหนดหลักสูตรแห่งชาติซึ่งออกแบบมาเฉพาะสำหรับเยาวชน และการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ โดยมีเยาวชนเป็นเป้าหมายหลักในปี 2557 - 2560 ทั้งในกลุ่มที่อยู่ในระบบและนอกระบบการศึกษา

3. Mr. Bernd Weethenbach นำเสนอว่า ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันพัฒนาแนวทางการให้ความรู้ทางการเงินให้ครอบคลุมตั้งแต่การเข้าถึงบริการทางการเงิน การแบ่งปันองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มเยาวชนควรให้รู้จักการวางแผนการใช้จ่าย การออม การประกันภัย สินเชื่อ การลงทุน และการใช้เครื่องมือทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อที่ทันสมัย เช่น เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น กิจกรรม เกมส์ เป็นต้น เพื่อให้เยาวชนได้ทดลองบริหารรายได้และรายจ่ายได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยว่า ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนการประเมินผลเพื่อปรับปรุงนโยบายให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องการกำหนดแผนงานและขอบเขตองค์ความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว

4. นางกุลวีร์ สภาวสุ นำเสนอว่า กระทรวงการคลังเห็นความสำคัญของการที่คนไทยต้องมีความรู้และทักษะทางการเงินขั้นพื้นฐานที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน สามารถตัดสินใจทางการเงินได้อย่างมีเหตุผล สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและบริการทางการเงิน สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับตนเอง รวมทั้งสามารถวางแผนและบริหารจัดการการเงินของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการจัดทำร่างแผนการให้ความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2560 - 2564 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานด้านการให้ความรู้ทางการเงินระดับประเทศ ตลอดจนมีกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ 
 

 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 15 พ.ย. 2559 เวลา : 18:50:04

24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 8:10 pm