ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนกรุงเทพฯ รู้สึกอย่างไรเมื่อพบเจอคนเร่ร่อน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2559 จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาของคนเร่ร่อนทั่วไปและคนเร่ร่อนที่มีอาการจิตเภทตามพื้นที่สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนเมื่อพบเจอคนเร่ร่อนทั่วไป ที่ไม่ใช่คนมีอาการจิตเภท ตามพื้นที่สาธารณะในเขตกรุงเทพฯ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.40 ระบุว่า อยากแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหา รองลงมา ร้อยละ 24.88 ระบุว่า สงสาร และอยากจะช่วยเหลือ ร้อยละ 20.16 ระบุว่า สงสาร แต่ไม่อยากยุ่งด้วย ร้อยละ 17.12 ระบุว่า กลัวว่าจะไม่ปลอดภัยกับทั้งตัวเอง และ/หรือ คนในครอบครัว ร้อยละ 16.48 ระบุว่า อยากตำหนิหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องว่า ทำไมไม่เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหา ร้อยละ 10.32 ระบุว่า อยากตำหนิญาติพี่น้อง ลูกหลานว่าทำไมไม่ดูแล ปล่อยให้เขาออกมาเป็นคนเร่ร่อน ร้อยละ 10.08 ระบุว่า รู้สึกว่าคนเร่ร่อนทำให้ทัศนียภาพกรุงเทพฯ ไม่สวยงามและไม่เป็นระเบียบ ร้อยละ 8.32 ระบุว่า อยากรู้ว่าคนเร่ร่อนเป็นใคร ทำไมจึงเป็นคนเร่ร่อน ร้อยละ 7.84 ระบุว่า อยากอยู่ห่าง ๆ ไม่อยากเข้าใกล้ ร้อยละ 3.36 ระบุว่า การเป็นคนเร่ร่อนเป็นเสรีภาพส่วนบุคคล อย่าไปยุ่งกับเขา ร้อยละ 0.80 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ มองว่าเป็นคนขี้เกียจ, ต้องดูเป็นรายกรณีว่า เหมาะสมที่จะช่วยเหลือหรือไม่, เกรงว่าจะถูกทำร้าย, ถ้าไม่สร้างปัญหาก็น่าจะอยู่ร่วมกันได้, และบางทีก็สงสัยว่าเป็นเร่ร่อนจริงหรือไม่ และร้อยละ 4.08 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ
ความรู้สึกของประชาชนเมื่อพบเจอคนเร่ร่อน ที่มีอาการจิตเภท ตามพื้นที่สาธารณะในเขตกรุงเทพฯ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.16 ระบุว่า อยากแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหา รองลงมา ร้อยละ 38.96 ระบุว่า กลัวว่าจะไม่ปลอดภัยกับทั้ง ตัวเอง และ/หรือ คนในครอบครัว ร้อยละ 17.28 ระบุว่า สงสาร และอยากจะช่วยเหลือ ร้อยละ 16.64 ระบุว่า อยากอยู่ห่าง ๆ ไม่อยากเข้าใกล้ ร้อยละ 15.44 ระบุว่า อยากตำหนิหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องว่า ทำไมไม่เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหา ร้อยละ 13.44 ระบุว่า สงสาร แต่ไม่อยาก ยุ่งด้วย ร้อยละ 9.12 ระบุว่า อยากตำหนิญาติพี่น้อง ลูกหลานว่าทำไมไม่ดูแล ปล่อยให้คนที่มีอาการจิตเภทออกมาเป็นคนเร่ร่อน ร้อยละ 8.56 ระบุว่า รู้สึกว่าคนเร่ร่อนที่มีอาการจิตเภท ทำให้ทัศนียภาพกรุงเทพฯไม่สวยงามและไม่เป็นระเบียบ ร้อยละ 8.40 ระบุว่า รู้สึกเป็นห่วง กลัวว่าเขาจะถูกหลอกหรือโดนทำร้าย ร้อยละ 4.00 ระบุว่า อยากรู้ว่าคนเร่ร่อนที่มีอาการจิตเภทเป็นใคร ทำไมจึงมีอาการเช่นนั้น ร้อยละ 1.76 ระบุว่า น่าเห็นใจ ควรได้รับการรักษาและเยียวยา ร้อยละ 0.24 ระบุว่า แล้วแต่กรณี และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าควรได้รับการช่วยเหลือหรือไม่อย่างไร และร้อยละ 1.44 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน ทั้งที่เป็นคนเร่ร่อนทั่วไปและคนเร่ร่อนที่มีอาการทางจิต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.76 ระบุว่า เป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนมาก ร้อยละ 37.68 ระบุว่า เป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขค่อนข้างเร่งด่วน ร้อยละ 10.88 ระบุว่า เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยเร่งด่วน ร้อยละ 2.00 ระบุว่า เป็นปัญหาที่ไม่เร่งด่วนเลย ร้อยละ 1.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่บางส่วน ร้อยละ 0.24 ระบุว่า คนเร่รอนทั่วไปไม่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่คนเร่ร่อนที่มีอาการทางจิตต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ข่าวเด่น