ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
นายกฯกล่าวปาฐกถาแก่สมาชิกหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย


 


วันนี้ (25 พ.ย. 59) เวลา 14.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงปาฐกถาแก่สมาชิกหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (Joint Foreign Chambers of Commerce in Thailand) ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพฯ ภายหลังเสร็จสิ้นการปาฐกถา พลโทวีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรีมีความยินดีและเป็นเกียรติที่ได้พบปะกับผู้บริหารและสมาชิกหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย ขณะนี้ประชาชนชาวไทยอยู่ในช่วงเวลาแห่งความสูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รัก เทิดทูนและทรงเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ รัฐบาลมีเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ที่จะมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน เพื่อสืบสานพระราชปณิธานและเจริญตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของประเทศให้มีความเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการค้า การลงทุนและให้การสนับสนุนผุ้ประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ ทั้งการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง คมนาคม การประสานนโยบายการเงินและการคลัง การวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. สถานการณ์ประเทศไทย 2. สิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการ 3. ทิศทางของประเทศไทยในอนาคต
 
 
 
 

สถานการณ์ประเทศไทย

สถาบันจัดอันดับระหว่างประเทศ 3 แห่ง คือ International Institute for Management Development (IMD) ได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 28 จาก 61 ประเทศทั่วโลก World Economic Forum (WEF) ได้จัดให้อยู่ในลำดับที่ 34 จาก 138 ประเทศทั่วโลก  และธนาคารโลก (World Bank) ได้จัดให้อยู่ในลำดับที่ 46 จาก 190 ประเทศทั่วโลก ผลการจัดอันดับของทั้ง 3 สถาบัน สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีจุดแข็งทางด้านเศรษฐกิจ

สิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการในระยะที่ผ่านมา และต้องดำเนินการต่อเนื่อง

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยได้ดำเนินการให้มีการปฏิรูปครอบคลุมในทุกมิติ

รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ปัญหาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงเดือนกันยายน 2558 – เมษายน 2559 โดยรัฐบาลได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อดูแลรายได้และสวัสดิการของเกษตรกรและประชาชนผู้มีรายได้น้อย และสนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs

รัฐบาลได้วางกรอบการบริหารด้านสถาบัน ดำเนินการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ผ่านกลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลได้เร่งรัดเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ให้รวดเร็วขึ้น โดยออกกฎหมายที่จะช่วยให้ประชาชนได้รับบริการจากภาครัฐได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม

การปฏิรูปศึกษา รัฐบาลได้เริ่มวางรากฐานโดยการลงทุนพัฒนาเพิ่มศักยภาพเด็กปฐมวัย ปรับปรุงระบบการศึกษาโดยขยายผลโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ การส่งเสริมระบบการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) และการผลิตกำลังคนเพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเชื่อมโยงให้สถานศึกษามีการเตรียมกำลังคนที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและคุ้มครองแรงงาน รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานและการขาดแคลนแรงงานของสถานประกอบการ รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพฝีมือแรงงานไทยในอุตสาหกรรมที่ขาดแคลนเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ภาคบริการและการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง รวมถึงพัฒนาฝีมือแรงงานให้รองรับการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจชายแดน  จึงได้พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมสมรรถนะแรงงานให้ได้มาตรฐานตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเพิ่มประสิทธิภาพระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแห่งชาติ กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกสาขาสำคัญ การพัฒนา Mobile Application ในชื่อ Smart Labor เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านแรงงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตพัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ (National Labor Center: NLIC)

การวางรากฐานการพัฒนาประเทศที่จะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจการค้าและการลงทุน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในอนาคต ซึ่งจะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจการค้าและการลงทุนด้วยอีกทางหนึ่ง รัฐบาลดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความเชื่อมโยงให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค การบริหารจัดการพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและคุ้มครองแรงงาน การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การส่งเสริมการลงทุนรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการค้าและการลงทุนภูมิภาค  รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการส่งเสริมการลงทุนที่เอื้อต่อการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย เพื่อให้สามารถต่อยอดไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันตลอดห่วงโซ่มูลค่า ประกอบด้วย นโยบาย Super Cluster เพื่อดึงดูดการลงทุนในพื้นที่เป้าหมายที่เป็นการสร้างฐานอุตสาหกรรมแห่งอนาคตนโยบาย Double S-Curve มุ่งให้เกิดการลงทุนเพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 5 อุตสาหกรรมปัจจุบัน ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  (4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และ (5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และกลุ่ม 5 อุตสาหกรรมในอนาคต (New S-curve) ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (4) อุตสาหกรรมดิจิทัล และ (5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่เหนือกว่านโยบาย Super Cluster

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ โดยกำหนดนโยบายพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนซึ่งเป็นช่องทางการค้าสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน อันจะนำไปสู่การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ด้านการพัฒนาธุรกิจเอกชน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภาพและประสิทธิภาพของภาคการผลิตรัฐบาลตระหนักดีว่า SMEs ซึ่งเป็นวิสาหกิจส่วนใหญ่และเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม โดยได้ผลักดันเพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาผ่านกลไกการสนับสนุนจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนทั้งบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติในระยะเบื้องต้น (Pre R&D Lab) รวมทั้งจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลและให้คำปรึกษาผู้ประกอบการใหม่ สร้าง incubation facilities (เช่น co-working space) ในเมืองหลัก ศูนย์ดิจิทัลชุมชนบ่มเพาะผู้ประกอบการ Tech Startup, SME และ Micro SMEs และสร้างผู้ประกอบการใหม่

การอำนวยความสะดวกด้านการค้า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้การเจรจาระหว่างประเทศเพื่อสร้างความคล่องตัวและลดอุปสรรคด้านการนำเข้าส่งออก ส่งเสริมขยายการค้าในตลาดศักยภาพใหม่ๆ สร้างสังคมผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม โดยได้ผลักดันเพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนา ด้านการเกษตรรัฐบาลได้ผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในภาพรวมของประเทศ ตลอดจนปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้ออำนวย จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานสากล ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลได้ยกระดับมาตรฐานบริการท่องเที่ยวในทุกสาขา โดยการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการคมนาคมขนส่ง ประชาสัมพันธ์มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย การดูแลรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว

ทิศทางของประเทศไทยในอนาคต

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560– พ.ศ. 2579) เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายที่เป็นเอกภาพและเป็นที่ยอมรับร่วมกันในสังคมไทย คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีสาระสำคัญ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร?ด้านความมั่นคง (2) ยุทธศาสตร์ด?านการสร?างความสามารถในการแข?งขัน (3) ยุทธศาสตร?การพัฒนาและเสริมสร?างศักยภาพคน (4) ยุทธศาสตร?ด?านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท?าเทียมกันทางสังคม (5) ยุทธศาสตร?ด?านการสร?างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป?นมิตรกับสิ่งแวดล?อม และ(6) ยุทธศาสตร?ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

สิ่งสำคัญที่สุดคือ การขับเคลื่อนหรือแนวทางที่จะเดินไปสู่เป้าหมายอนาคตประเทศไทยดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นนโยบายหนึ่งในการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ คือ “ประเทศไทย 4.0” เพื่อนำพาประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมและมีรายได้สูงได้ในอนาคต

รัฐบาลจะดำเนินการผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตาม Roadmap ที่รัฐบาลได้วางไว้ การแก้ไขปัญหาที่คั่งค้างและวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว นายกรัฐมนตรีย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุนและการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการผลักดันให้การดำเนินโครงการของภาครัฐมีประสิทธิภาพ โปร่งใสและบรรลุผลสัมฤทธิ์ ที่จะส่งผลให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจดีขึ้น สนับสนุนให้โอกาสในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเปิดกว้างมากขึ้น มีความคล่องตัวทั้งในด้านกฎระเบียบ การได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ การมีระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่ดี การมีกำลังคนที่มีคุณภาพเข้าร่วมในกระบวนการผลิตการบริการธุรกิจ  การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป






 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 พ.ย. 2559 เวลา : 17:23:58

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 3:21 am