+ ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นราว 9 เปอร์เซ็นต์เกินระดับ 49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังกลุ่มโอเปกบรรลุข้อตกลงการลดกำลังการผลิตของประเทศสมาชิกเมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ปริมาณน้ำมันดิบจากทางฝั่งผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกลดลงราว 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยการลดกำลังการผลิตในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ม.ค. 60 และจะมีการทบทวนข้อตกลงดังกล่าวอีกครั้งในการประชุมโอเปกครั้งถัดไป ณ วันที่ 25 พ.ค. 60
+ โดยซาอุดิอาระเบียตกลงที่จะปรับลดกำลังการผลิตลง 486,000 บาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ 10.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ทางด้านอิรัก จากเดิมที่ไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงในการลดกำลังการผลิต ได้ปรับลดกำลังการผลิตราว 210,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 4.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ทางฝั่งอิหร่าน ลิเบีย และไนจีเรีย ได้รับการยกเว้นจากการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน เนื่องจากการผลิตน้ำมันของประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร และความไม่สงบภายในประเทศ
+ จับตาการประชุมระว่างผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 9 ธ.ค. เพื่อหาข้อตกลงในการลดกำลังการผลิตต่อไป โดยกลุ่มโอเปกเสนอให้ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตลงทั้งสิ้นราว 600,000 บาร์เรลต่อวัน ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกคาดว่าจะให้ความร่วมมือในการลดกำลังการผลิตเพื่อช่วยพยุงราคาน้ำมัน โดยกว่า 300,000 บาร์เรลต่อวันคาดว่าจะมาจากรัสเซียที่ปรับลดกำลังการผลิตลง ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะเพิ่มกำลังการผลิตจนแตะระดับสูงสุดกว่า 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 25 พ.ย. ปรับลดลง 884,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 485.0 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 636,000 บาร์เรล จากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจากทางฝั่งตะวันออกจากการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลง
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 25 พ.ย. ปรับลดลง 884,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 485.0 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 636,000 บาร์เรล จากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจากทางฝั่งตะวันออกจากการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากอุปทานที่มากขึ้นในภูมิภาค หลังปริมาณน้ำมันเบนซินสำรองในประเทศญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 10.28 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ยังคงแข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังและกำลังการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศเกาหลีใต้ที่ยังอยู่ในระดับสูง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมระหว่างผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 9 ธ.ค. เพื่อหาข้อตกลงในการลดกำลังการผลิต โดยกลุ่มโอเปกเสนอให้ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตลงทั้งสิ้นราว 600,000 บาร์เรลต่อวัน โดยกว่า 300,000 บาร์เรลต่อวันคาดว่าจะมาจากรัสเซีย
ภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดในสหรัฐฯ เริ่มคลี่คลายและส่งกดดันต่อราคาลดลง หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันดิบในสหรัฐฯ กลับมาจากการปิดซ่อมบำรุงและเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น โดยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 25 พ.ย. 2559 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น หลังปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 158 แท่นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา หลังราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวแตะระดับ 45 - 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด วันที่ 25 พ.ย. ปรับเพิ่ม 3 แท่นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนที่ระดับ 474 แท่น
ข่าวเด่น