ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
จีที เวลธ์ รายงานภาวะตลาด Gold Futures รายวัน ภาคค่ำ แนะ พอร์ตเล่นสั้นเน้น long เมื่ออ่อนตัว, พอร์ตเล่นรอบถือ long ต่อไป


Gold Futures (Night Session)

  ราคาทองคำตลาดโลกพยายามทรงตัวบนแนวโน้มขาขึ้นเพื่อรักษาทิศทางการรี บาวน์ให้ต่อเนื่องต่อไป จึงยังไม่หลุดลงไปต่ำกว่า US$1,190 ในวันนี้ โดยนักลงทุนในตลาดการเงินมีการปรับพอร์ตหลังประเมินความเสี่ยงเทียบกัน ระหว่างผลกระทบจาก Brexit และการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเปลี่ยนขั้วทางการเมืองในหลายประเทศของยุโรป กับ ผลบวกในระยะสั้นจากนโยบายเศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่คาดว่าจะสร้างผลทางลบย้อนกลับมายังเศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะกลางถึงยาว ซึ่งในระยะสั้น การใช้นโยบายของทรัมป์สร้างความเสี่ยงต่อตลาดมากกว่า ทำให้เงินทุนบางส่วนไหลกลับเข้ามาถือพันธบัตรและทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่ควรต้องติดตามมากขึ้นว่า จะมีแรงซื้อมากพอจะช่วยดันราคากลับขึ้นไปเหนือ US$1,200 ได้หรือไม่ เพื่อยืนยัน sentiment ดังกล่าวข้างต้น
  แนวต้าน Spot Gold :  US$1,207 / US$1,217
  แนวรับ Spot Gold :  US$1,189 / US$1,178
  แนะนำ :  พอร์ตเล่นสั้นเน้น long เมื่ออ่อนตัว, พอร์ตเล่นรอบถือ long ต่อไป

News Update

  • เยอรมนีเผยเศรษฐกิจปี 2559 เติบโตแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 5 ปีที่ 1.9% จากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้น 2.0% และการสนับสนุนกลุ่มผู้อพยพของรัฐบาลที่ทำให้การใช้จ่ายภาครัฐพุ่งขึ้นสูง ถึง 4.2% ขณะที่การจ้างงานก็พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2534 ที่ 43.5 ล้านคน และผลิตภาพแรงงานเยอรมนียังเติบโตที่ 1.2%
  • เจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เปิดเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงมีความแข็งแกร่ง แต่ในระยะยาวแล้ว เศรษฐกิจเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มช่องว่างรายได้ที่ขยายตัวเพิ่ม ขึ้นในอนาคต เช่นเดียวกับการเติบโตของผลิตภาพ ซึ่งทาง Fed ไม่สามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการปรับดอกเบี้ย ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาจัดการในเรื่องนี้
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้น้อยอาจเผชิญกับภาวะเปราะบางทางเศรษฐกิจ ต่อเนื่องในระดับสูง ท่ามกลางสถานการณ์ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำ ทั้งนี้ อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของผลผลิตของประเทศส่งออกเชื้อเพลิง ลดลงจากระดับ  5.7% ในปี 2557 สู่ระดับ -1.6% ในปี 2559 ในขณะที่ประเทศส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่นับรวมเชื้อเพลิง เผชิญกับสถานการณ์ที่รุนแรงน้อยกว่า โดยอัตราการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยลดลงจากระดับ 5.3% ในปี 2557 เหลือ 3.8% ในปี 2559

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 13 ม.ค. 2560 เวลา : 17:46:41

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 3:07 am