ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บก.ป.ช.สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ ผลกระทบและการให้ความช่วยเหลือ


กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกป.ช.) สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ ผลกระทบและการให้ความช่วยเหลือ

สถานการณ์อุทกภัย ช่วงภัยวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงปัจจุบัน
    

เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมและการให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมในพื้นที่ ณ วันที่ 25 ม.ค. 60 มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 10 จังหวัด และเข้าได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ 2 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ดังนี้

1. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่น้ำท่วม สถานการณ์ในพื้นที่เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว การช่วยเหลือ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 6 เครื่อง บริเวณทั้งด้านหน้าและด้านท้ายโรงพยาบาลบางสะพาน ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 3 เครื่อง ขนาด 5 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง และขนาด 3 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง อย่างไรก็ตาม ยังคงไม่ถอนเครื่องสูบน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์กรณีฝนตกในช่วงวันที่ 16 – 25 มกราคม 2560

2. จังหวัดชุมพร พื้นที่น้ำท่วม ปัจจุบันเข้าสู่ภาวะสภาวะปกติ การช่วยเหลือ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 5 เครื่อง และ ขนาด 4 นิ้ว จำนวน 3 เครื่อง

3. จังหวัดสุราษฏร์ธานี พื้นที่น้ำท่วม ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำอำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และอำเภอบ้านนาเดิม

การคาดการณ์
    

อำเภอพระแสง ระดับน้ำสูงสุด สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.42 เมตร ในวันที่ 10 ม.ค. 60 ปัจจุบันวันที่ 25 ม.ค. 60 เวลา 08.00 น. ระดับน้ำลดลงต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.31 เมตร มีแนวโน้มลดลง คาดว่าระดับน้ำจะไม่ล้นตลิ่ง
    

อำเภอเคียนซา ระดับน้ำสูงสุดสูงกว่าระดับตลิ่ง 1.88 เมตร ในวันที่ 12 ม.ค. 60 ปัจจุบันวันที่ 25 ม.ค. 60 เวลา 08.00 น. ระดับน้ำลดลงแต่ยังสูงกว่าระดับตลิ่ง 0.06 เมตร แนวโน้มลดลง คาดว่าระดับน้ำจะลดลงต่ำกว่าตลิ่งในวันที่ 26 ม.ค. 60
    

อำเภอพุนพิน ปัจจุบันวันที่ 25 ม.ค. 60 เวลา 08.00 น. ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.25 เมตร (ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนในบางช่วงเวลา) แต่ไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจในเขตเทศบาลเมืองท่าข้าม
    

อำเภอเมือง ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่งไม่มีผลกระทบ
    

การช่วยเหลือ โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี ได้เร่งผลักดันน้ำ ตัดยอดน้ำออกสู่ทะเลทางคลองพุนพิน เพื่อลดปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และได้ติดตั้ง เครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 32 เครื่อง ที่ ปตร.คลองท่าโพธิ์ 2 เครื่อง ปตร. ไชยา 2 เครื่องคลองวัดทุ่งยาว 2 เครื่อง คลองบางกล้วยใหญ่ 6 เครื่อง และสะพานศรีวิชัยข้ามคลองพุนพิน 15 เครื่อง พร้อมทั้งดำเนินการตามข้อสั่งการ รมว.กษ. โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ สนับสนุนเรือผลักดันน้ำ จำนวน 26 ลำ ดำเนินการติดตั้งบริเวณสะพานพระจุลฯจำนวน 16 เครื่อง บริเวณสะพานพุนพิน จำนวน 10 เครื่อง และเพิ่มเครื่องผลักดันน้ำบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำตาปี(ร้านอาหารอาเตี่ย) จำนวน 10 เครื่อง (สั่งการเมื่อวันที่  19 ม.ค. 60)

4. จังหวัดตรัง พื้นที่น้ำท่วม มีน้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังวิเศษ และอำเภอกันตัง ระดับน้ำท่วมเฉลี่ยสูงประมาณ 0.20 – 0.50 เมตร
    

การคาดการณ์ อำเภอเมือง ระดับน้ำสูงสุดสูงกว่าระดับตลิ่ง 1.11 เมตร ในวันที่ 9 ม.ค.60 ปัจจุบันวันที่ 25 ม.ค.60 เวลา 06.00 น. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.86 ม. มีแนวโน้มลดลง
    

การช่วยเหลือ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 9 เครื่องในเขตอำเภอเมืองและเตรียมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ ในเขตอำเภอเมืองจำนวน 9เครื่อง เพื่อเร่งการระบายน้ำออกจากพื้นที่อำเภอเมืองตรัง ซึ่งปริมาณน้ำนี้จะไหลลงสู่อำเภอกันตัง ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณปากแม่น้ำตรัง ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน ก่อนจะไหลลงสู่ทะเลต่อไปอีกทั้งได้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลืออุทกภัย ได้แก่ รถขุด จำนวน 2 คัน และรถบรรทุก จำนวน 2 คันและเตรียมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ ในเขตอำเภอเมืองจำนวน 10 เครื่อง


5. จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่น้ำท่วม สถานการณ์น้ำท่วมในเขตอำเภอรอนนอกเทศบาลนครศรีธรรมราชเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง(ปากพนัง เชียรใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ ชะอวด) ในพื้นที่ลุ่มต่ำยังคงมีน้ำท่วมขัง 0.40 – 0.50 เมตร ปัจจุบันมีปริมาณน้ำคงเหลือในพื้นที่ประมาณ 550 ล้านลบ.ม.
    

การคาดการณ์ สภาพน้ำท่าในคลองสายหลักในพื้นที่ด้านล่าง บริเวณออกสู่ทะเล จะมีแนวโน้มเริ่มทรงตัว รอการระบายออก พื้นที่ลุ่มต่ำยังคงมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่
    

การช่วยเหลือ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำจำนวน 112 เครื่อง แยกเป็น โครงการชลประทานนครศรีธรรมราช จำนวน 3 เครื่อง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครศรีธรรมราช จำนวน 29 เครื่อง  โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังบน จำนวน 8 เครื่อง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังล่าง จำนวน 72 เครื่องติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 69 เครื่อง แยกเป็น โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครศรีธรรมราช จำนวน 6 เครื่อง  โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังบน จำนวน 8 เครื่อง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังล่าง จำนวน 55 เครื่องเครื่องจักรเปิดทางน้ำ จำนวน 1 คัน รถขุดแบคโฮ จำนวน 3 คัน เครื่องปั่นไฟ จำนวน 1 เครื่อง รถบรรทุกขนเครื่องจักร จำนวน 1 คัน รถบด จำนวน 1 คัน ช่วยเหลือที่โครงการอ่างเก็บน้ำคลองดินแดงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพิปูน และได้รับการสนับสนุนเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยจำนวน 70 เครื่องจากกองทัพเรือติดตั้งบริเวณปตร.ชะอวด-แพรกเมืองจำนวน 30 เครื่อง และปตร.ฉุกเฉิน จำนวน 20 เครื่องเพื่อเป็นการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร คลองระบายน้ำของกรมชลประทาน และคลองธรรมชาติ    

6. จังหวัดพัทลุง พื้นที่น้ำท่วม มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ควนขนุน อ.เมือง อ.บางแก้ว อ.เขาชัยสน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ทางด้านทิศเหนือน้ำไหลมาจาก ทางด้านอ.ชะอวด ทางด้านทิศตะวันตก น้ำไหลมาจากเทือกเขาบรรทัด ไหลมารวมกัน ซึ่งน้ำจะลดลงได้ต้องระบายผ่านทะเลน้อยสู่ทะเลสาปสงขลา ผ่านทางช่องปากรอ ออกสู่อ่าวไทย
    

การคาดการณ์ ปัจจุบันระดับน้ำในทะเลสาบอยู่ที่ระดับ+1.26 ม. ซึ่งค่าเฉลี่ยในภาวะปกติ อยู่ที่ +0.60 ม. สูงกว่าค่าเฉลี่ย 0.66 ม. คาดว่าใช้เวลา 15 – 20 วัน จึงลดสู่ภาวะปกติ แต่ยังคงมีน้ำส่วนหนึ่งท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ
    

การช่วยเหลือ โครงการชลประทานพัทลุง ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 7 เครื่อง ทั้งนี้ได้แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

7. จังหวัดสงขลา พื้นที่น้ำท่วม มีพื้นที่น้ำท่วม ทั้งหมด 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์  อ.สทิงพระ และอ.สิงหนคร จ.สงขลาระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.25 เมตร ปัจจุบันระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องโดยพื้นที่น้ำท่วมเป็นพื้นที่การเกษตรว่างเปล่า ประมาณ 43,000 ไร่ คงเหลือปริมาณน้ำท่วมขัง ประมาณ 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ศักยภาพการระบายน้ำผ่านคลองระบายน้ำ ประมาณ วันละ 1 - 5 ล้านลูกบาศก์เมตร

การคาดการณ์ ระดับน้ำทรงตัวและลดลง ต้องอาศัยระยะเวลาระบายน้ำออกจากพื้นที่ลงสู่ทะเลสาบสงขลา จนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ
    

การช่วยเหลือ บริหารจัดการน้ำโดยใช้คั้นกั้นน้ำกระแสสินธุ์และอาคารชลประทานเช่น ประตูระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ พร้อมสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 18 เครื่องสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 4 สถานี เครื่องผลักดันน้ำ 11 เครื่อง ออกจากพื้นที่การเกษตร บ้านเรือน จากคลองระโนด คลองพลเอกอาทิตย์กำลังเอก และคลองสาขาไปสู่ทะเลสาบสงขลาและทะเลอ่าวไทยพร้อมทั้งได้มีการติดตั้งสะพานแบรี่ขนาดกว้าง 3.15 ม.ยาว 15 ม.รับน้ำหนักได้ 40 ตัน เพื่อใช้ในการสัญจรที่คลองโคกทอง ต.ระโนด อ.ระโนด จ.สงขลา

8. จังหวัดนราธิวาส (ลุ่มน้ำโก-ลก ลุ่มน้ำบางนราและลุ่มน้ำสายบุรี)
    

สาเหตุ เกิดจากฝนตกหนักช่วงวันที่ 18 - 19 ม.ค.60 มีปริมาณฝนสะสม 2 วัน ที่อำเภอยี่งอ อำเภอแว้ง อำเภอระแงะ อำเภอเมือง อำเภอบาเจาะ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอสุคิริน และอำเภอรือเสาะ วัดได้ 309มม. 285มม. 261มม. 237มม. 225 มม. 224 มม. 212 มม. 207 มม.และ 201มม. ตามลำดับ ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ
    

พื้นที่น้ำท่วม  มีพื้นที่น้ำท่วม 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอเจาะไอร้อง  อำเภอยี่งอ อำเภอบาเจาะ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุคิริน อำเภอตาก และอำเภอแว้ง
    

การคาดการณ์ อำเภอสุไหงโก-ลก ปัจจุบันวันที่ 24 ม.ค. 60 เวลา 06.00 น. ระดับน้ำวัดได้ 9.07 ม. สูงกว่าระดับตลิ่ง 0.87 เมตร แนวโน้มลดลง มีแน้วโน้มลดลง คาดว่าระดับน้ำจะลดลงต่ำกว่าตลิ่งในวันที่ 25 ม.ค. 60

การช่วยเหลือ โครงการชลประทานนราธิวาส ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง และขนาด12 นิ้ว 4 เครื่อง  โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโก-ลก สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเขตโครงการขนาด 8 นิ้ว จำนวน 5 เครื่อง และขนาด 10 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ร่วมกับสูบน้ำด้วยสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 6 สถานี เพื่อช่วยระบายน้ำในพื้นที่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางนรา สนับสนุนเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง และขนาด 8 นิ้ว จำนวน 3 เครื่อง

9. จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
    

สาเหตุ เกิดจากฝนตกหนักช่วงวันที่ 18 - 19 ม.ค.60 มีปริมาณฝนสะสม 2 วัน ที่อำเภอกะพ้ออำเภอทุ่งยางแดง อำเภอยะรัง และอำเภอไม้แก่น วัดได้ 172มม. 171 มม. 139 มม. และ 134มม. ตามลำดับ
    

พื้นที่น้ำท่วม น้ำท่วมพื้นที่ในเขตอำเภอเมืองปัตตานี  อำเภอกะพ้อ อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอแม่ลาน อำเภอหนองจิก อำเภอยะรัง อำเภอมายอ และอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีและมีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำบางแห่งของอำเภอเมืองยะลา อำเภอรามัน และอำเภอยะหา จังหวัดยะลา
    

การคาดการณ์
    ลุ่มน้ำปัตนานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น บ้านบริดอ อ.เมือง จ. ปัตตานี ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.50 เมตร สะพานเดชานุชิต อ.เมือง จ.ปัตตานี ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.32 เมตร

จ.ยะลา สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง ลุ่มน้ำสายบุรี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง บ้านลาคอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง 0.07 เมตร

จ.ปัตตานี สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง

จ.ยะลา สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง คาดว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติ 3 – 4 วัน
    

การช่วยเหลือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว 2 เครื่อง สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 1 สถานี โครงการชลประทานยะลา ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง

การช่วยเหลือเฉพาะหน้า
    

1)    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระราชทานหญ้าแห้ง จำนวน 80,000 กิโลกรัม  โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา 50,000 กิโลกรัม อยู่ระหว่างจัดส่งลงพื้นที่ และจากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล 30,000 กิโลกรัม
เริ่มแจกจ่ายให้เกษตรกรแล้วในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา
        กรมปศุสัตว์
        - แจกเสบียงสัตว์แล้ว 594,843 กิโลกรัมและอาหารสำเร็จรูป 180,140 กิโลกรัม
        - อพยพสัตว์ 933,940 ตัว รักษาสัตว์ 14,764 ตัว และสร้างเสริมสุขภาพสัตว์ 8,206 ตัว
        - จัดสรรพกำลัง เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางและหน่วยงานนอกพื้นที่ 160 คน ยานพาหนะในการขนส่งเสบียงสัตว์ วัสดุอุปกรณ์ 52 คัน เรือ 5 ลำ
        - สนับสนุนอาหารแห้ง เครื่องดื่ม นม 3,369 ลัง ถุงยังชีพ 500 ชุด
        - เต็นท์/คอกสัตว์เคลื่อนที่ 31 ชุด
        - จัดหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ 17 ชุด
    

2)    กรมชลประทาน
        - สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 170 เครื่อง
        - เครื่องผลักดันน้ำ 112 เครื่อง
        - สูบน้ำด้วยสถานีสูบน้ำไฟฟ้า 11 สถานี
        - รถขุดดินแบคโฮ 15 คัน

3)    กรมประมง
        - นำเรือตรวจการประมงขนาด 15 ฟุต จำนวน 50 ลำ ออกช่วยเหลือราษฎรและร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ แจกจ่ายถุงยังชีพในพื้นที่ประสบอุทกภัย
        - เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 60 ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดภาคใต้ (สฎ) กองตรวจการประมง ร่วมกับ สนง.ประมงจังหวัดนครศรีฯ และเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ทุ่งท่าลาด จับจระเข้เพศเมียขนาดเกิน 5 เมตร หนักประมาณ 1 ตัน ชื่อน้องนาเดีย ที่ได้หลุดออกจากกรงเลี้ยงของสวนสัตว์มาหลายวัน ที่บริเวณคลองท่าแพ ม.9 ต.ปากพูน เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้ทำการจับมัดและส่งมอบคืนแก่สวนสัตว์ทุ่งท่าลาดเพื่อดำเนินการดูแลต่อไป ส่วนจระเข้อีกตัวที่จับได้ ที่ ม.9 ต.ปากพูน วันนี้ เป็นจระเข้จากกรงทุ่งท่าลาด เทศบาล ชื่อเจ้ายักษ์ ขนาดยาว 3.55 เมตร ได้เคลื่อนย้ายมาอยู่ในกรงจระเข้ ทุ่งท่าลาด เช่นเดียวกัน
    

4)    กรมส่งเสริมสหกรณ์ สนับสนุนน้ำดื่ม 1,290 โหล ถุงยังชีพ 9,403 ชุด ข้าวกล่อง 13,450 กล่อง ไข่ไก่ 11,500 ฟอง กล้วยหอมทอง 2,625 ลูก เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 25,553 ราย

5)    กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ส่งเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 5 ลำ เพื่อปฏิบัติภารกิจส่งเสบียง อาหารแห้งและน้ำดื่มให้กับ ประชาชนและเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย และสำรวจพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการผันน้ำออกจากพื้นที่และการอพยพสัตว์

6)    กรมพัฒนาที่ดิน ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่น้ำท่วมขังและน้ำเน่าเสีย ในเขตชุมชนและพื้นที่การเกษตร พร้อมเก็บตัวอย่างน้ำเน่าเสียไปวิเคราะห์ และคำนวณพื้นที่ปริมาณที่น้ำเน่าเสีย ตลอดจนปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นที่น้ำเน่าเสียด้วยน้ำหมักพด.6

7)    หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือปัจจัยยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 920 ชุด
หน่วยงานสนับสนุน สปฉ.11 กระทรวงพาณิชย์  มอบถุงยังชีพ 1,000 ชุด เสื้อดำ 400 ตัว และน้ำดื่ม 1,000 แพ็ค และสั่งการให้พาณิชย์จังหวัดติดตามสถานการณ์การค้าในพื้นที่อย่างใกล้ชิดและกำกับดูแลไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบทางการค้าแก่ผู้ประสบอุทกภัย

ผลกระทบด้านการเกษตรพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 59 – ปัจจุบัน (ณ วันที่ 23 ม.ค. 60 ณ เวลา 15.00 น.) พื้นที่ประสบภัย 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และประจวบคีรีขันธ์


 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 ม.ค. 2560 เวลา : 18:39:50

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 3:58 am