+ ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังยังได้รับแรงหนุนจากการปฏิบัติตามข้อตกลงลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของผู้ ผลิตกลุ่มโอเปกและรัสเซีย ในการลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลง 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 โดยในเดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมา 11 ประเทศของกลุ่มโอเปกที่ได้ตกลงลดกำลังการผลิตมีการผลิตน้ำมันดิบลดลงเหลือ เพียง 29.89 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นการลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงประมาณร้อยละ 93 ทั้งนี้ ซาอุดิอาระเบีย ผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ได้ทำการลดกำลังการผลิตลงมากกว่า 700,000 บาร์เรลต่อวันลงไปอยู่ที่ระดับ 9.75 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมกราคม
- อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของ สหรัฐฯ โดยสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) ที่เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 9.9 ล้านบาร์เรลขึ้นมาแตะที่ระดับ 513.5 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ถึงสามเท่า ในขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันชนิดกลาง (Middle Distillate) คงคลังได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 717,000 บาร์เรลและ 1,500,000 บาร์เรลตามลำดับ
- นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในชั้นหินดินดาน (Shale Oil) ของสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมนี้ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 79,000 บาร์เรลต่อวัน ขึ้นไปแตะระดับ 4.87 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน
- ทั้งนี้นักลงทุนในตลาดน้ำมันดิบยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบ โดยเฉพาะการปรับตัวเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ และระยะเวลาที่ผู้ผลิตน้ำมันดิบในกลุ่มโอเปกจะปฏิบัติตามข้อตกลงลดกำลังการ ผลิต
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ในประเทศอินเดียปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศเวียดนามและ อินโดนีเซีย
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากอุปทานในภูมิภาคที่ยังอยู่ในระดับสูง หลังโรงกลั่นน้ำมันในหลายประเทศโดยเฉพาะมาเลเซียที่ได้เร่งกำลังการผลิตและ ส่งออกน้ำมันดีเซลออกมาอย่างต่อเนื่อง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 51-56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 53-58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมระหว่างผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและ นอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 21 – 22 ก.พ. ว่าจะมีประเด็นพิ่มเติมเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่ จากรายงานล่าสุดของโอเปกพบว่าผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกสามารถปรับลดกำลังการผลิต ลงกว่า 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวันจากระดับที่ตกลงกันไว้ในเดือน พ.ย. 59 ซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 93 ของข้อตกลง นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อตลาดน้ำมันค่อนข้างมากเนื่องจากระดับดังกล่าวสูงกว่า ในอดีตที่สามารถปรับลดได้เพียงร้อยละ 60
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่ทรงตัวในระดับสูงและโรงกลั่นที่ปรับลดกำลัง การกลั่นลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงประจำฤดูกาล โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 3 ก.พ. 60 ปรับเพิ่มขึ้นถึง 13.83 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 508.59 ล้านบาร์เรล
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น หลังราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าระดับต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตน้ำมัน ดิบจากชั้นดินดานในสหรัฐฯ ที่ประมาณ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ส่งผลให้ผู้ผลิตเพิ่มการขุดเจาะขึ้นต่อเนื่อง โดย Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 ก.พ. 60 ปรับเพิ่มขึ้น 8 แท่น มาอยู่ที่ 591 แท่น ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 58
ข่าวเด่น