- ราคาน้ำมันดิบปรับลดหลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เผยถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.5 ล้านบาร์เรลมากกว่าที่คาดการณ์ถึงสามเท่า ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบสะสมสิ้นสุด ณ วันที่ 10 ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 518.12 ล้านบาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2525 หลังโรงกลั่นน้ำมันดิบดำเนินการผลิตลดลง 435,000 บาร์เรลต่อวันหรือราวร้อยละ 2.3
- นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มราว 2.8 ล้านบาร์เรลสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินอ่อนตัวลงร้อยละ 5.3 เหลือ 8.43 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิ้นสุด ณ สัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 259 ล้านบาร์เรล
- กำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียมีแนวดน้มปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 700,000 บาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ระดับประมาณ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในเดือน ส.ค. 60 หลังได้รับการยกเว้นเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตภายใต้ข้อตกลงระหว่างกลุ่ม ประเทศโอเปก (OPEC) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก (Non-OPEC) นอกจากนี้ แท่นขุดเจาะ El Feel ยังมีแนวโน้มที่จะกลับมาดำเนินการผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียเพิ่มขึ้นอีกราว 75,000 บาร์เรลต่อวัน โดยในปี 2561 คาดว่ากำลังการผลิตรวมของประเทศจะกลับมาอยู่ที่ระดับ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวันเท่ากับปี 2554
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ยุโรปจะส่งออกน้ำมันเบนซินมาที่เอเชีย เนื่องจากคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อจากอินโดนีเซีย และเวียดนาม
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากโรงกลั่นเริ่มเข้าสู่ช่วงปิดซ่อมบำรุง นอกจากนี้ ยังได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อจากศรีลังกา อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดีเซลยังถูกกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันดีเซลในญี่ปุ่นที่ปรับ เพิ่มขึ้น 10.2% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 51-56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 53-58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมระหว่างผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและ นอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 21 – 22 ก.พ. ว่าจะมีประเด็นพิ่มเติมเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่ จากรายงานล่าสุดของโอเปกพบว่าผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกสามารถปรับลดกำลังการผลิต ลงกว่า 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวันจากระดับที่ตกลงกันไว้ในเดือน พ.ย. 59 ซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 93 ของข้อตกลง นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อตลาดน้ำมันค่อนข้างมากเนื่องจากระดับดังกล่าวสูงกว่า ในอดีตที่สามารถปรับลดได้เพียงร้อยละ 60
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่ทรงตัวในระดับสูงและโรงกลั่นที่ปรับลดกำลัง การกลั่นลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงประจำฤดูกาล โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 3 ก.พ. 60 ปรับเพิ่มขึ้นถึง 13.83 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 508.59 ล้านบาร์เรล
ปริมาณ การผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น หลังราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าระดับต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตน้ำมัน ดิบจากชั้นดินดานในสหรัฐฯ ที่ประมาณ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ส่งผลให้ผู้ผลิตเพิ่มการขุดเจาะขึ้นต่อเนื่อง โดย Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 ก.พ. 60 ปรับเพิ่มขึ้น 8 แท่น มาอยู่ที่ 591 แท่น ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 58
ข่าวเด่น