+ ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังนาย Khalid al-Falih รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกอาจขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตหลังจาก เดือนมิ.ย. 60 หากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังโลกยังอยู่สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปี
- อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากการที่ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกไม่สามารถปรับลด กำลังการผลิตได้ตามข้อตกลง หลังแหล่งข่าวเผยว่า ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกปรับลดปริมาณการผลิตในเดือนก.พ. 60 เพียงร้อยละ 64 ของข้อตกลง ซึ่งน้อยกว่าที่ผู้ผลิตกลุ่มโอเปกสามารถปรับลดได้
- ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ รายงานโดย Baker Hughes สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 14 แท่น มาอยู่ที่ 631 แท่น ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 9 สัปดาห์ และเป็นจำนวนแท่นขุดเจาะที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 58
- CFTC รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขาย NYMEX ที่นิวยอร์ก และ ICE ที่ลอนดอน ประจำสัปดาห์สิ้นสุดในวันที่ 14 มี.ค. พบว่าผู้จัดการกองทุนปรับลดปริมาณการถือครองสัญญาน้ำมันดิบสุทธิ (Net Long Position) จากสัปดาห์ก่อน 86,582 สัญญา มาอยู่ที่ 315,077 สัญญา ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดในประวัติการณ์ และส่งผลให้ปริมาณการถือครองสัญญาน้ำมันดิบสุทธิแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ กลางเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง และความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อจากประเทศเวียดนาม
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากการที่ยังมีอุปทานภายในภูมิภาคปริมาณมาก เนื่องจากไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจที่ส่งออกน้ำมันดีเซลไปขายทางฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตาม ยังได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อจากประเทศศรีลังกา
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมของผู้ ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 25–26 มี.ค. ว่ากลุ่มโอเปกจะมีมาตรการในการควบคุมการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมหรือไม่ โดยล่าสุด การประชุมของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 17 มี.ค. รายงานว่า กลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตในเดือนก.พ. ได้ร้อยละ 106 ซึ่งมากกว่าเดือน ม.ค. ที่ปรับลดลงได้ร้อยละ 93 เนื่องจากซาอุดิอาระเบียคงกำลังการผลิตในระดับที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวันและกำลังคาดผลิตคาดจะปรับลดลงต่อเนื่องในเดือน มี.ค. ภายหลังจากอิรักและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมัน ดิบ
การผลิตน้ำมันดิบของลิเบียคาดจะปรับตัวลดลงราว 100,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ในระดับ 600,000 บาร์เรลต่อวัน ภายหลังจากเหตุความไม่สงบภายในประเทศในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Es Sider และ Ras Lanuf ปรับลดลง แม้ว่าล่าสุดกลุ่ม Libyan National Army สามารถควบคุมพื้นที่ดังกล่าวได้แล้วแต่ความตึงเครียดปรับเพิ่มมากขึ้นหลัง ข้อตกลงในการรวมบริษัทน้ำมันแห่งชาติสิ้นสุดลง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง สหรัฐฯ คาดจะทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง จากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ปรับลดลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น น้ำมันในสหรัฐฯ และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาสูงกว่าระดับ 9.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 10 มี.ค. 60 ปรับลดลงเพียง 0.2 ล้านบาร์เรล มาสู่ระดับ 528.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 3.7 ล้านบาร์เรล
ข่าวเด่น