- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลงร้อยละ 1.2 ท่ามกลางความวิตกกังวลของตลาดที่มีต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตน้ำมัน ดิบในสหรัฐฯ โดยล่าสุด Baker Hughes ได้ออกมาเปิดเผยจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 มีนาคม 2560 ปรับเพิ่มขึ้นอีก 14 แท่น มาอยู่ที่ 631 แท่น ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2558
- JP Morgan ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในปี 2560 และ 2561 จากปัจจัยความกังวลของปริมาณการผลิตในสหรัฐฯ โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ถูกปรับลงเป็น 55.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 55.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลตามลำดับ ในขณะที่คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสถูกปรับลงเป็น 53.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 53.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลตามลำดับ
+ อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบโอเปกเริ่มแสดงถึงความจำนงในการปรับลดกำลังการผลิต น้ำมันดิบเพิ่มเติมจากเดือนมิถุนายน 2560 หลังผู้ช่วยว่าการของกลุ่มโอเปกได้ออกมาเผยว่า การขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตเป็นปัจจัยหลักในการรักษาเสถียรภาพของตลาด น้ำมันดิบ โดยจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตน้ำมันดิบนอกกลุ่มโอเปกด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ โอเปกมีความต้องการที่จะลดปริมาณน้ำมันคงคลังโลกลงให้อยู่ที่ระดับเฉลี่ย 5 ปี
+ นอกจากนี้ ทางการของซาอุดิอาระเบียได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน มกราคม 2560 ที่ 7.713 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 8.014 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่ปรับลดลงเช่นเดียวกัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง ประกอบกับอุปทานภายในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ตลาดได้รับแรงกดดันจากข้อมูลการผลิตน้ำมันเบนซินในประเทศจีนประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2560 ที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ของน้ำมันดีเซลกำมะถันสูงในภูมิภาคที่ปรับ ตัวดีขึ้น แม้ว่าอุปทานของน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำที่มีปริมาณมากยังคงเป็นปัจจัยกดดัน ภาพรวมของตลาด
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมของผู้ ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 25–26 มี.ค. ว่ากลุ่มโอเปกจะมีมาตรการในการควบคุมการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมหรือไม่ โดยล่าสุด การประชุมของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 17 มี.ค. รายงานว่า กลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตในเดือนก.พ. ได้ร้อยละ 106 ซึ่งมากกว่าเดือน ม.ค. ที่ปรับลดลงได้ร้อยละ 93 เนื่องจากซาอุดิอาระเบียคงกำลังการผลิตในระดับที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวันและกำลังคาดผลิตคาดจะปรับลดลงต่อเนื่องในเดือน มี.ค. ภายหลังจากอิรักและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมัน ดิบ
การผลิตน้ำมันดิบของลิเบียคาดจะปรับตัวลดลงราว 100,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ในระดับ 600,000 บาร์เรลต่อวัน ภายหลังจากเหตุความไม่สงบภายในประเทศในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Es Sider และ Ras Lanuf ปรับลดลง แม้ว่าล่าสุดกลุ่ม Libyan National Army สามารถควบคุมพื้นที่ดังกล่าวได้แล้วแต่ความตึงเครียดปรับเพิ่มมากขึ้นหลัง ข้อตกลงในการรวมบริษัทน้ำมันแห่งชาติสิ้นสุดลง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง สหรัฐฯ คาดจะทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง จากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ปรับลดลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น น้ำมันในสหรัฐฯ และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาสูงกว่าระดับ 9.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 10 มี.ค. 60 ปรับลดลงเพียง 0.2 ล้านบาร์เรล มาสู่ระดับ 528.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 3.7 ล้านบาร์เรล
ข่าวเด่น