- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากคำแถลงการประชุมระหว่างรัฐมนตรีจากประเทศทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก แสดงความไม่แน่นอนในการต่อระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ จากที่ได้ทำข้อตกลงลดกำลังการผลิตรวม 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 โดยนักวิเคราะห์มองว่าการที่คำแถลงของการประชุมไม่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับการ ต่อระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตนั้น จะเป็นปัจจัยส่งผลกดดันราคาน้ำมันดิบต่อไป
- นาย Alexander Novak รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของรัสเซียได้ให้ความเห็นว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปเรื่องการต่อระยะเวลาการปรับลดการผลิตน้ำมันดิบลง เนื่องจากตอนนี้ประเทศที่เข้าร่วมทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกก็ได้ทำการปรับลด กำลังการผลิตตามที่ได้ตกลงไว้ โดยปรับลดได้ถึง 94% ในเดือน ก.พ.
+ อย่างไรก็ตาม นาย Jabar Ali al-Luaibi รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของอิรักกล่าวว่า ตลาดน้ำมันกำลังฟื้นตัว และอิรักจะให้การสนับสนุนหากประเทศกลุ่มโอเปกตกลงที่จะดำเนินมาตรการพยุง ราคาน้ำมัน โดยกำลังการผลิตน้ำมันดิบของอิรักในเดือน มี.ค. อยู่ที่ 4.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งอิรักได้ปรับลดการส่งออกน้ำมันไปแล้วกว่า 187,000 บาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะปรับลดถึงระดับ 210,000 บาร์เรลต่อวันได้ภายในไม่กี่วัน
- ผู้จัดการกองทุนปรับลดสถานะการถือครองสุทธิ (Net Long Position) มาอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2559 โดย Commodity Futures Trading Commission (CFTC) รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ICE ที่ลอนดอนและ NYMEX ที่นิวยอร์ก สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 มี.ค. ปรับลดลง 33,272 สัญญา มาอยู่ที่ระดับ 281,804 สัญญา
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการน้ำมันเบนซินในตลาดยังคงเบาบาง อย่างไรก็ดี ยังคงมีอุปสงค์จากประเทศเวียดนามที่จะเริ่มปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในเดือน พ.ค.
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบเล็กน้อย เนื่องจากมีอุปสงค์จากศรีลังกา ปากีสถาน เวียดนามและอินโดนีเซียที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลยังถูกกดดันโดยปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังและอุปทานในภูมิภาค เอเชียที่ค่อนข้างสูง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก โดยคาดการณ์ว่าผู้ผลิตในกลุ่มจะปรับลดปริมาณการผลิตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ผลิตกลุ่มโอเปกจะขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการ ผลิตหลังจากเดือนมิ.ย. 60 หลังนาย Khalid al-Falih รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานซาอุดิอาระเบีย เผยว่า อาจมีการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิต หากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังโลกยังอยู่สูงกว่าระดับเฉลี่ย 5 ปี อย่างไรก็ตาม กลุ่มโอเปกจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกด้วยเช่นกัน
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะกดดันราคาน้ำมันดิบต่อเนื่อง หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูงสุดในประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ รายงานโดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 17 มี.ค. 60 ปรับเพิ่มขึ้น 5.0 ล้านบาร์เรล มาสู่ระดับ 533.1 ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นราว 0.02 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาสู่ระดับ 9.13 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณการผลิต น้ำมันดิบของลิเบียมีแนวโน้มฟื้นตัว หลังจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศที่พื้นที่ฝั่งตะวันออกเริ่มคลี่คลาย ลง ส่งผลให้กำลังการผลิตของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 700,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย (NOC) ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตของลิเบียไปสู่ระดับ 800,000 บาร์เรลต่อวัน ภายในเดือนเม.ย. 60
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
27 มี.ค. 17 เปลี่ยนแปลง
เงินดอลลาร์ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ยูโร) 1.0864 0.0067
ดัชนีอุตสหกรรมดาวโจนส์ (จุด) 20,550.98 -45.74
ราคาขายปลีก (บาท/ลิตร)
UG95 GSH95 GSH91 E20 E85 Diesel
ราคาขายปลีก 33.66 26.55 26.28 24.04 19.34 24.89
หมายเหตุ ราคาดีเซลปรับลด 40 ส.ต./ลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. 60
ราคาน้ำมันเป็นราคาขายปลีก กทม. และปริมณฑล ที่ยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องถิ่น
ราคาน้ำมันตลาดจร 27/3/17 Change
โอมาน 40.30 -0.17
ทาปิส 50.28 -0.25
ข่าวเด่น