+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการที่ตลาดคาดว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ปรับลดลง 1.0 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นคาดจะเพิ่มกำลังการกลั่นสูงขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ น้ำมันที่เพิ่มขึ้น
- นาย Arkady Dvorkovich รองนายกรัฐมนตรีของประเทศรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียยังสามารถรักษาระดับกำลังการผลิตน้ำมันดิบให้คงที่ต่อไปได้ แต่อาจพิจารณาปรับเพิ่มกำลังการผลิตหากไม่ส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบ โดยให้ความเห็นเรื่องการต่อระยะเวลาในลดกำลังการผลิตในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 ว่าจะขึ้นอยู่กับความเคร่งครัดในการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มโอเปกและผู้ ผลิตรายอื่นที่ร่วมทำข้อตกลง
+ ผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มสถานะการถือครองสุทธิ (Net Long Position) เป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน โดย Commodity Futures Trading Commission (CFTC) รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ICE ที่ลอนดอนและ NYMEX ที่ตลาดนิวยอร์ก สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 14,135 สัญญา มาอยู่ที่ระดับ 323,364 สัญญา
- อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากตลาดปิดการซื้อขาย สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 21 เม.ย. 60 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 897,000 บาร์เรล สวนทางกับคาดการณ์ และรายงานปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.4 ล้านบาร์เรล หลังอุปสงค์ของน้ำมันเบนซินในสัปดาห์ก่อนหน้าต่ำกว่าคาดหมาย โดยสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าสต็อกน้ำมันเบนซินสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง 1 ล้านบาร์เรล จากการเข้าสู่ฤดูกาลขับขี่ในหน้าร้อน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ล้นตลาดในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเบนซินได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์จากภูมิภาคตะวันออกกลางที่แข็ง แกร่ง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกน้ำมันดีเซลจากประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลยังมีแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาค ประกอบกับอุปทานที่ตึงตัวจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในแถบตะวันออกกลาง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมระหว่างผู้ผลิตน้ำมันดิบในและ นอกโอเปกก่อนการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 24-25 พ.ค. 60 ว่าจะมีจะมีการขยายระยะเวลาของมาตรการปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่ ภายหลังปริมาณน้ำมันคงคลังเชิงพาณิชย์ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังอยู่ในระดับ ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีค่อนข้างมาก แม้ว่ากลุ่มโอเปกจะปรับลดกำลังการผลิตมากกว่าที่ได้ตกลงไว้ก็ตาม โดยล่าสุดซาอุดิอาระเบีย คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีความเห็นไปพ้องกันว่าควรขยายระยะเวลาของมาตรการแต่ข้อตกลงดังกล่าวขึ้นกับ เงื่อนไขว่าผู้ผลิตนอกกลุ่มจะต้องปรับลดกำลังการผลิตลงด้วยเช่นกัน ซึ่งทางด้านของรัสเซียยังไม่ได้มีการออกมาให้ความเห็นแต่อย่างใด
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับตัวลดลงหลังโรงกลั่นน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการกลั่นขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนที่ราวร้อยละ 93 เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลขับขี่ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยลดผลกระทบของการผลิตน้ำมันดิบในประเทศที่เพิ่มขึ้น ต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 9.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 เม.ย. ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน โดยปรับลดลงราว 1.0 ล้านบาร์เรล
การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นต่อเนื่องมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี โดย Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 11 แท่น มาอยู่ที่ระดับ 683 แท่น นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 13 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยกว่า 2 ใน 3 ของการปรับเพิ่มขึ้นมาจากแหล่งผลิต Permian ที่มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำ
ข่าวเด่น