|
|
|
|
|
|
Today Strategy: Gold ราคาทองปิดปรับตัวลดลงเกือบ 1% โดยปริมาณซื้อขายในฝั่งเอเชียเมื่อวานนี้เบาบางเนื่องจากหลายประเทศเป็นวัน หยุดในวันแรงงาน โดยราคาทองคำถูกกดดันจาก 3 ปัจจัยหลักคือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มดีต่อเนื่อง การบรรลุข้อตกลงการจัดสรรงบใช้จ่ายสำหรับหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ทำให้ราชการสหรัฐฯ ไม่ต้องปิดทำการ และความกังวลการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในเดือนนี้ สัปดาห์นี้ติดตามดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ ตัวเลขภาคการจ้างงาน และการประชุมเฟด
วิเคราะห์ราคาทองคำ
ราคาทองคำปิดปรับตัวลดลง 11.35 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ หรือคิดเป็น -0.90% โดยปิดที่ 1,256.30 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ โดยราคาเมื่อวานนี้เคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 1,253.66 – 1,271.10 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์และราคาเคลื่อนไหวในเช้านี้บริเวณ 1,256 เหรียญ ราคาทองได้รับแรงกดดันหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องรวมทั้งประเด็นการจัดสรรงบใช้จ่ายสำหรับหน่วยงาน ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ ทำให้หน่วยงานราชการของสหรัฐไม่ต้องปิดทำการ ทำให้ทองคำเจอแรงขายทำกำไรในเมื่อคืนนี้ แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายๆ ตัวจะออกมาเริ่มชะลอตัว แต่นักลงทุนยังเชื่อว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะเกิดขึ้นในเดือนหน้า ส่งผลให้ราคาทองคำถูกกดดันด้วยปัจจัยนี้เช่นกัน และในสัปดาห์นี้ติดตามดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ แถลงการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และตัวเลขภาคการจ้างงาน ที่มีโอกาสสร้างความผันผวนให้ตลาดได้
แนะนำ trading short ได้เปรียบหากราคาเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1,260 เหรียญ
Key Point
Positive( + )
- ความต้องการถือทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนผันผวนแรง
Negative( - )
- เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
- การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
- การใช้นโยบายทางการเงินเชิงผ่อนคลายของธนาคารกลางต่างๆ
Neutral ( * )
- การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
- การประชุมของเฟดเรื่องอัตราดอกเบี้ยและภาพรวมเศรษฐกิจ
- ถ้อยคำปราศัยของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป
Exclusive News
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลง 1% ในวันจันทร์ ในขณะที่ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นในลิเบียและสหรัฐบดบังมาตรการปรับลดการ ผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ ส่งมอบเดือนมิ.ย.ดิ่งลง 49 เซนต์ หรือ 1 % มาปิดตลาดที่ 48.84 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 48.59-49.32 ดอลลาร์
- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเยนในวันจันทร์ หลังนักลงทุนไม่ สนใจการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมการผลิตและข้อมูลเงินเฟ้อที่อ่อนแอของ สหรัฐ เนื่องจากมีมุมมองว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอไม่มีแนวโน้มที่จะขัด ขวางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนมิ.ย.
- ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่ไม่รวมอาหารและ พลังงานลดลง 0.1% ในเดือนมี.ค. ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2001 และต่ำกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของเฟดที่ระดับ 2%
- สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตลดลงสู่ ระดับ 54.8 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับอ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.
- ผู้เจรจาต่อรองของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันของสหรัฐสามารถบรรลุข้อ ตกลงกันได้ ในเรื่องการจัดสรรงบใช้จ่ายสำหรับหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐจน ถึงวันที่ 30 ก.ย. โดยการบรรลุข้อตกลงดังกล่าวส่งผลให้หน่วยงานราชการของ สหรัฐไม่ต้องปิดทำการ
|
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
02 พ.ค. 2560 เวลา : 11:44:40
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น