คำแนะนำ
หากรับความเสี่ยงได้อาจรอเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาใกล้ 1,243-1,232 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (เน้นทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว) พิจารณาถึงความเสี่ยงจากผลการประชุมเฟด
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,243 1,232 1,223
แนวต้าน 1,268 1,279 1,288
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 11.35 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันหลังพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันของสหรัฐ สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในเรื่องการจัดสรรงบใช้จ่ายสำหรับหน่วยงานของ รัฐบาลกลางสหรัฐจนถึงวันที่ 30 ก.ย. ซึ่งช่วยให้หน่วยงานราชการของสหรัฐไม่ ต้องปิดทำการ(Shut down) ประเด็นดังกล่าวกดดันทองคำที่อยู่ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการแข็งค่าของดอลลาร์ถึงแม้ตัว เลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายรายการที่ถูกเปิดเผยวานนี้จะอ่อนแอกว่าคาดก็ตาม อาทิ ดัชนี Core PCEลดลง 0.1%ในเดือนมี.ค.ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2001 และ ต่ำกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของเฟดที่ระดับ 2% ด้าน ISM เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตลดลงสู่ระดับ 54.8 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็น ระดับอ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. เช่นกัน ทั้งนี้นักลงทุนมองว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอไม่ได้ส่งผลต่อแผนการในการ ปรับขึ้นในเดือนมิ.ย.ของเฟดแต่อย่างใด ขณะที่วันนี้ไม่มีการเปิดเผยตัวเศรษฐกิจของสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
หลังจากราคาทองคำปรับตัวขึ้นแต่ ก็มีแรงขายทำกำไรสลับออกมาเพิ่มขึ้นเช่นกัน เบื้องต้น หากราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,268 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ โดยนักลงทุนต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรออกมาที่อาจเพิ่มขึ้นซึ่งอาจกดดัน ราคาทองคำให้ลงสู่แนวรับในระดับ 1,243-1,232 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
ถือสถานะซื้อโดยอาจปิดสถานะทำกำไรในบริเวณ 1,268 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือถ้าเกิดการอ่อนตัวลงมาอาจเปิดสถานะซื้อเพิ่มเติมหากราคาทองคำไม่หลุด 1,243-1,232 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตาม(ลดพอร์ตการลงทุนหากราคาหลุด 1,232 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
ข่าวเด่น