ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น ขานรับตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ที่สดใส


+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 หลังตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น และซาอุดิอาระเบียมีความเชื่อมั่นว่ารัสเซียพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับผู้ ผลิตกลุ่มโอเปกในการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตในครึ่งปีหลัง
   + กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานในเดือน เม.ย. ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับร้อยละ 4.4  แตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยตัวเลขการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นความต้องการใช้น้ำมันให้มากขึ้น
  + เจ้าหน้าที่กลุ่มโอเปก ให้ความเห็นว่า ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก มีแนวโน้มที่จะขยายเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตลง ขณะที่การปรับลดการผลิตที่มากขึ้นนั้นอาจเป็นไปได้ยาก
  - กลุ่มผู้จัดการกองทุนลดสถานะถือครองสุทธิ (Net Long Position) ลง เนื่องจากไม่เชื่อว่าการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้ง ในและนอกกลุ่มโอเปก จะเพียงพอที่จะทำให้ตลาดกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้
  - Baker Hughes รายงานจำนวน แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 5 พ.ค. 60 ปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 6 แท่น มาอยู่ที่ 703 แท่น แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 58 และถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นติดต่อเป็นสัปดาห์ที่ 16

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความกังวลในเรื่องของอุปทานล้นตลาด หลังปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในสหรัฐฯ และยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูง
   ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่ปรับเพิ่มขึ้นจากแอฟริกา อย่างไรก็ตาม อุปทานมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นในคูเวตจะเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งในสัปดาห์หน้า หลังปิดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 30 วัน

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 45-50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
   ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง
  จับตาการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งใน และนอกกลุ่มโอเปก หลังล่าสุดรัสเซียเผยว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียในวันที่ 1 พ.ค. ปรับลดลงราว 300,790 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับระดับการผลิตในเดือนต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่ารัสเซียปรับลดกำลังการผลิตมากกว่าข้อตกลงที่จะปรับลดกำลัง การผลิตลงราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ยังต้องจับตาการขยายระยะเวลาการของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ซึ่งจะมีการตกลงกันในวันที่ 25 พ.ค. 60
  ปริมาณการน้ำมันดิบคงคลัง สหรัฐฯ คาดว่าจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 4 สัปดาห์ติดต่อกัน จากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ น้ำมันในช่วงฤดูกาลขับขี่ อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงกังวลกับปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นราว 191,000 บาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ในช่วง 4 สัปดาห์ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบปรับตัวลดลง
  ปริมาณการผลิต น้ำมันดิบของลิเบียมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Sharara กำลังการผลิตประมาณ 330,000 บาร์เรลต่อวัน และแหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Feel กำลังการผลิตประมาณ 90,000 บาร์เรลต่อวัน กลับมาดำเนินการอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังการประท้วงปิดกั้นท่อขนส่งน้ำมันดิบสิ้นสุดลง ส่งผลให้ล่าสุด ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 760,000 บาร์เรลต่อวัน จากระดับก่อนหน้านี้ที่ 491,000 บาร์เรลต่อวัน  นอกจากนี้ รัฐบาลลิเบียยังตั้งเป้าหมายที่จะผลิตน้ำมันดิบแตะระดับ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในเดือนส.ค. 60


บันทึกโดย : วันที่ : 08 พ.ค. 2560 เวลา : 14:06:53

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 3:41 am