+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่มอียูและแอฟริกันสนับสนุนการลดกำลังการผลิตลง และการส่งสัญญาณจากกลุ่มโอเปก และนอกกลุ่มโอเปกที่พร้อมให้ความร่วมมือปรับลดกำลังการผลิตลง เพื่อรักษาสมดุลของราคาและตลาดน้ำมัน ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
+ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ามันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความมั่นใจของประชาชนที่คาดว่า ปัจจุบันปริมาณน้ำมันดิบคงคลังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
+ นอกจากนี้ ผู้ผลิตรายใหญ่อย่างประเทศ อิรัก แอลจีเรีย และคูเวต ได้ออกมาสนับสนุนกลุ่มโอเปกในการลดกำลังการผลิตลง โดยกระทรวงพลังงานของประเทศแอลจีเรีย ได้ออกมาให้การสนับสนุนในการลดกำลังการผลิตเป็นระยะเวลานานถึง 6เดือน
+ EIA รายงานว่า ประเทศเติร์กเมนิสถาน ได้ออกมาให้ความร่วมมือในการลดกำลังการผลิตลง อย่างไรก็ตามประเทศเติร์กเมนิสถาน เป็นผู้ผลิตรายเล็ก กำลังการผลิตอยู่ที่ 250,000 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น ประกอบกับไม่มีศักยภาพในการส่งออก เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไม่มีความพร้อม
- อย่างไรก็ตาม ประเทศอียิปต์ที่มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบอยู่ที่ 700,000 บาร์เรลต่อวัน จะไม่ปรับลดการผลิตลง โดยรัฐมนตรี Tarel El Molla ได้รายงานว่า ประเทศอียิปต์จะเข้าร่วมการประชุมการปรับลดกำลังการผลิตลงในวันที่ 25 พฤษภาคม 2560 นี้ แต่จะไม่มีการปรับลดกำลังการผลิตลงแต่อย่างใด ประกอบกับ กลุ่มโอเปค รายงานว่า ประเทศนอกกลุ่มโอเปก ยังมีท่าทีในการปรับปริมาณน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็น 950,000 บาร์เรลต่อวัน จากที่เคยคาดการณ์ไว้จะอยู่ที่ 580,000บาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำและ โรงกลั่นที่ปิดซ่อมบำรุง ส่งผลให้อุปทานตึงตัวในช่วงนี้
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ามันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณอุปสงค์ที่ลดลง เนื่องจากการห้ามจับปลาในประเทศจีน
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 45-50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งใน และนอกกลุ่มโอเปก หลังล่าสุดรัสเซียเผยว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียในวันที่ 1 พ.ค. ปรับลดลงราว 300,790 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับระดับการผลิตในเดือนต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่ารัสเซียปรับลดกำลังการผลิตมากกว่าข้อตกลงที่จะปรับลดกำลัง การผลิตลงราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ยังต้องจับตาการขยายระยะเวลาการของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ซึ่งจะมีการตกลงกันในวันที่ 25 พ.ค. 60
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของ ลิเบียมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Sharara กำลังการผลิตประมาณ 330,000 บาร์เรลต่อวัน และแหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Feel กำลังการผลิตประมาณ 90,000 บาร์เรลต่อวัน กลับมาดำเนินการอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังการประท้วงปิดกั้นท่อขนส่งน้ำมันดิบสิ้นสุดลง ส่งผลให้ล่าสุด ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 760,000 บาร์เรลต่อวัน จากระดับก่อนหน้านี้ที่ 491,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ รัฐบาลลิเบียยังตั้งเป้าหมายที่จะผลิตน้ำมันดิบแตะระดับ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในเดือนส.ค. 60
ข่าวเด่น