ทิศทางตลาด
Sideway? คาดมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบแคบ อย่างไรก็ตามคาดยังมีความผันผวนตามตลาดต่างประเทศที่ไร้ทิศทาง หลังราคาน้ำมันปรับขึ้น คาดกลับมาส่งผลดีต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงาน หลังตลาดสะท้อนไปบ้างแล้วต่อประเด็นผลการประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (Opec และ Non-Opec) ขยายระยะเวลาปรับลดการผลิตออกไป 9 เดือน ถึงมี.ค.’61 จากก่อนหน้านี้ที่คาดอาจขยายออกไป 12 เดือน และยังคงปริมาณผลิตที่ลดลงไว้ที่ 1.8 ล้านบาร์เรล/วัน
ขณะที่ประเด็น การพิจารณาขึ้น / ไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด คาดเป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับภาพรวมตลาดจนถึงวันประชุม แม้เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากผลสำรวจล่าสุด พบว่า มีโอกาสสูงถึง 83% ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 13 – 14/6/60 รวมถึงประเด็นที่เฟดส่งสัญญาณทยอยปรับลดงบดุล ปัจจุบันที่ 4.5 ล้านล้านUSD ภายในปีนี้
ส่วนประเด็นในประเทศ คาดยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ แม้ได้รับปัจจัยหนุนจาก Fund Flow ภายใต้แรงซื้อสุทธิของต่างชาติในช่วงที่ผ่านมาบ้าง แต่ยังคงมีความผันผวน ขณะที่แนะติดตามค่าเงินบาท ล่าสุด 34.09 – 34.11 บาท แข็งค่าเมื่อเทียบกับประมาณ 34.50 บาท เมื่อช่วงต้นพ.ค. ที่ผ่านมา
นอก จากนี้ยังแนะติดตามประเด็นที่สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็น 1 ใน 16 ประเทศ ที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ล่าสูงสุดในรอบ 3 ปี มูลค่า 18,920 ล้านUSD หรือประมาณ 650,000 ล้านบาท และคาดสหรัฐฯ อาจมีมาตรการตอบโต้ออกมา (เช่น มาตรการด้านภาษี) ภายใน 90 วัน หรือประมาณต้น 3Q/60 โดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงประมง เป็นต้น
ส่วนทาง ด้านปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนในการเปิดประมูลของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คาดเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น จากการขายซองประมูลราคา โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. มูลค่า 7,305 ล้านบาท ซึ่งกำหนดเปิดซองราคาในวันที่ 27/7/60 คาดมีแรงเก็งกำไรในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างจนถึงวันประมูล โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ซื้อซองราคา เช่น ITD, CK, STEC, NWR, UNIQ และ PLE เป็นต้น
SET SET50 SET100
1,569.27 -0.14 991.97 -0.46 2,238.36 -0.86
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -2.67, NASDAQ +4.94, S&P +0.75, FTSE +29.92, CAC -0.52 และ DAX -19.54
ภาย ใต้การซื้อขายที่เบาบาง ก่อนจะถึงช่วงวันหยุดยาวเนื่องในวัน Memorial Day ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจ (1) ปรับเพิ่มตัวเลข GDP – 1Q/60 เป็น 1.2% จากประมาณการครั้งแรกที่ 0.7% และดีกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 0.9% (2) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน – เม.ย. ลดลง 0.7% ซึ่งปรับลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน อย่างไรก็ตามดีกว่าที่คาดว่าจะลดลง 1.0% และ (3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
ขั้นสุดท้าย - พ.ค. อยู่ที่ 97.1 ดีขึ้นเล็กน้อยจาก 97.0 เมื่อเม.ย. แต่ต่ำกว่าตัวเลขขั้นต้นที่ 97.7
ขณะที่ NASDAQ และ S&P500 ทำสถิติปิดระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทางด้านตาดหุ้นยุโรป ยังได้รับปัจจัยกดดันจากหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังผิดหวังกับมติของที่ประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก ที่ตกลงจะขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตออกไปเพียง 9 เดือน และไม่ลดเพดานการผลิตเพิ่มเติม
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. +US$0.90 อยู่ที่US$49.80 ต่อบาร์เรล หลังสะท้อนต่อผลการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก ที่มีมติขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตออกไปอีกเพียง 9 เดือน จากก่อนหน้าที่คาดโอเปกจะขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตออกไป 12 เดือน
และไม่มีการปรับลดกำลังการผลิตมากขึ้น โดยคงปริมาณการผลิตที่ลดลง ไว้ที่ 1.8 ล้านบาร์เรล/วัน (Opec – 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน และ Non-Opec – 0.56 ล้านบาร์เรล/วัน)
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
16.30 1.89 3.12
ที่มา : www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 37,346.99
สถาบัน +634.20
บัญชีหลักทรัพย์ +40.18
ต่างประเทศ -751.19
ในประเทศ +76.81
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$11.7 อยู่ที่US$ 1,268.1 ต่อออนซ์ จากความไม่แน่นอนทางการเมืองของอังกฤษ และสถานการณ์ของเกาหลีเหนือ ช่วยชดเชยปัจจัยลบจากคาดการณ์ว่าเฟด อาจมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า (13 – 14/6/60)
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -751 ล้านบาท สะสม YTD +8,421 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 29 พ.ค. – 2 มิ.ย. 2560
29/5/60 ไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ เนื่องจากตลาดและหน่วยงาน ราชการสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันเมมโมเรียล เดย์
30/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนเม.ย.
ราคาบ้านเดือนมี.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือนพ.ค.
31/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนพ.ค.
ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย(pending home sales) เดือนเม.ย.
1/6/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐเดือนพ.ค.
ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค.
ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนเม.ย.
ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.
สต็อกน้ำมัน
2/6/60 สหรัฐฯ เปิดเผย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.
ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนเม.ย.
ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คเดือนพ.ค.
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ CBG เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี ’60 เช่น KBANK และ SCB เป็นต้น
(3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
(5) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาคเอกชนที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ เป็นต้น
(6) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ IRPC, TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น
(7) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK
(8) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วง 2Q/60 เช่น AOT
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ทรงตัว อยู่ที่ 2.25%(ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.18 อยู่ที่ 9.81
หุ้นแนะนำ : SPRC
ข่าวเด่น