- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจนำสหรัฐฯ ถอนตัวออกจาก "ความตกลงปารีสว่าด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ" ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาวะโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งนี้ ตลาดคาดการณ์ว่าการตัดสินใจดังกล่าวอาจส่งผลให้สหรัฐฯ สามารถปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบได้มากขึ้น ซึ่งสวนทางกับความพยายามลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออก น้ำมัน (โอเปก) และนอกกลุ่มโอเปก
- Baker Hughes รายงาน จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 2 มิ.ย. 60 ปรับเพิ่มขึ้น 11 แท่น มาอยู่ที่ระดับ 733 แท่น โดยนับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 20 สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 58
- การปรับตัวเพิ่มขึ้นของจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ สอดคล้องกับการรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ของ EIA ในสัปดาห์ก่อนหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 9.34 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนับเป็นระดับการผลิตสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 58 และคาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในปี 61 จะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแตะที่ระดับ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ใกล้เคียงกับระดับการผลิตของรัสเซียและซาอุดิอาระเบีย
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงาน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนพ.ค. 60 ปรับเพิ่มขึ้น 138,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่ง นอกจากนี้ยังมีการทบทวนปรับลดตัวเลขการจ้างงานในเดือนเม.ย. 60 โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 174,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 211,000 ตำแหน่ง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกน้ำมันเบนซินจากประเทศจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงในกรอบที่จำกัดจากแรงหนุนของอุป สงค์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลถือศีลอด
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากประเทศตะวันออกกลางและอินเดีย ประกอบกับอุปทานที่ยังคงอยู่ในภาวะตึงตัวในช่วงของการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น น้ำมัน
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หลังโรงกลั่นยังคงอัตราการกลั่นในระดับสูง ตามความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูกาลขับขี่ โดยล่าสุด สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 26 พ.ค. 2560 ปรับลดลง 6.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 509.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน
การขยายระยะเวลาการ ปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกคาดว่าจะช่วยให้ปริมาณ น้ำมันคงคลังโลกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด สำนักงานพลังงานสากล (IEA) รายงานปริมาณน้ำมันคงคลังของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD Oil Stocks) ในเดือนมี.ค. ปรับลดลง 32.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 3,025 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของผู้ผลิตกลุ่มโอเปกในเดือนพ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นราว 250,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา มาอยู่ที่ระดับ 32.22 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยหลักๆ ปรับเพิ่มขึ้นจากไนจีเรีย ซึ่งท่อขนส่งน้ำมันดิบ Forcados กำลังการผลิต 200,000-250,000 บาร์เรลต่อวัน เริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง และลิเบีย หลังสถานการณ์ความไม่สงบคลี่คลายลง โดยล่าสุดปริมาณกำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 827,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากปัญหาทางด้านเทคนิคที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Sharara และปัญหาไฟฟ้าขัดข้องที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Messla และ Sarir คลี่คลายลง นอกจากนี้ยังคาดว่าปริมาณการผลิตจะ
ข่าวเด่น