- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับการตัดสัมพันธ์ทางการทูตต่อกาตาร์จากซาอุ ดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิยิปต์ และบาห์เรน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อข้อตกลงลดกำลังการผลิตในและนอกกลุ่มโอเปกที่เพิ่ง ขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตออกไป อย่างไรก็ตาม การปิดพรมแดนระหว่างประเทศอาจจะส่งทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติของกาตาร์ โดยล่าสุดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ยกเลิกการอนุญาตให้เรือขนส่งน้ำมันที่จะ เข้า-ออกกาตาร์ผ่านน่านน้ำของประเทศแล้ว
- นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากถ้อยแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ปิโตรเลียมของซูดานใต้ที่จะทำการขุดเจาะน้ำมันดิบหลุมใหม่ 30 หลุมในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะทำให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบของซูดานใต้ขึ้นไปแตะระดับ 350,000 บาร์เรลต่อวันภายในกลางปี 2561 นี้ โดยในปัจจุบันซูดานใต้มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบอยู่ที่ 130,000 บาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 บาร์เรลต่อวันภายในปลายปีนี้
+ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนจากการผลิตน้ำมันดิบของประเทศลิเบียที่ปรับ ตัวลดลงจาก 827,000 บาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ลงมาแตะระดับ 809,000 บาร์เรลต่อวันในสัปดาห์นี้ หลังจากมีปัญหาการผลิตและมีการปิดซ่อมบำรุง
+ นอกจากนี้นักวิเคราะห์ของ Standard Chatered ยังได้คาดการณ์ว่า ถึงแม้ว่าการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความต้องการใช้น้ำมันในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 จะมากกว่าปริมาณการผลิตประมาณ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันและจะส่งผลทำปริมาณน้ำมันดิบคงคลังทั่วโลกปรับตัวลดลงได้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ในประเทศจีนที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศ ศรีลังกา
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในภูมิภาค อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่ลดลงในประเทศ อินเดียเนื่องจากช่วงฤดูมรสุม
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 46-51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หลังโรงกลั่นยังคงอัตราการกลั่นในระดับสูง ตามความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูกาลขับขี่ โดยล่าสุด สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 26 พ.ค. 2560 ปรับลดลง 6.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 509.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน
การขยายระยะเวลาการ ปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกคาดว่าจะช่วยให้ปริมาณ น้ำมันคงคลังโลกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด สำนักงานพลังงานสากล (IEA) รายงานปริมาณน้ำมันคงคลังของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD Oil Stocks) ในเดือนมี.ค. ปรับลดลง 32.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 3,025 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของผู้ผลิตกลุ่มโอเปกในเดือนพ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นราว 250,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา มาอยู่ที่ระดับ 32.22 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยหลักๆ ปรับเพิ่มขึ้นจากไนจีเรีย ซึ่งท่อขนส่งน้ำมันดิบ Forcados กำลังการผลิต 200,000-250,000 บาร์เรลต่อวัน เริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง และลิเบีย หลังสถานการณ์ความไม่สงบคลี่คลายลง โดยล่าสุดปริมาณกำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 827,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากปัญหาทางด้านเทคนิคที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Sharara และปัญหาไฟฟ้าขัดข้องที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Messla และ Sarir คลี่คลายลง นอกจากนี้ยังคาดว่าปริมาณการผลิตจะปรับเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 1.1 – 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในเดือน ส.ค. 60
ข่าวเด่น