+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีแรงหนุนจากปัจจัยเชิงเทคนิคในการกลับเข้ามาลงทุนของนักลงทุน หลังราคาน้ำมันดิบปรับลดลงมาอยู่ในระดับ 47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากความกังวลต่อความขัดแย้งในตะวันออกกลางและปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของ สหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับสูง
+ นาย Essam al-Marzouq รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของคูเวตได้ให้สัมภาษณ์ว่า กาตาร์ยังคงปฏิบัติตามข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิต น้ำมันทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ที่ได้มีการแถลงขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตไปเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 60 แม้ว่ากาตาร์จะถูกตัดสัมพันธ์ทางการทูตจากกลุ่มประเทศอาหรับ นำโดยซาอุดิอาระเบีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรนก็ตาม
+ การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกาตาร์ได้สร้างความยากลำบากในการส่งออก น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากกลุ่มประเทศที่ตัดสัมพันธ์ทางการทูตได้ยกเลิกการอนุญาตให้เรือขน ส่งน้ำมันที่เข้า-ออกจากกาตาร์ผ่านน่านน้ำของประเทศ
+ ภายหลังตลาดปิดการซื้อขาย ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มิ.ย. 60 ปรับตัวลดลง 4.62 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากอุปทานจากไต้หวันและยุโรป อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเบนซินยังมีแรงหนุนจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในภูมิภาคและอุป สงค์ที่เพิ่มขึ้นจากอินโดนีเซียและตะวันออกกลาง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากถูกกดดันจากการห้ามทำประมงในทะเลจีนใต้ อย่างไรก็ดี อุปสงค์ของน้ำมันดีเซลในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังอยู่ ในระดับสูง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 46-51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หลังโรงกลั่นยังคงอัตราการกลั่นในระดับสูง ตามความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูกาลขับขี่ โดยล่าสุด สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 26 พ.ค. 2560 ปรับลดลง 6.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 509.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน
การขยายระยะเวลาการ ปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกคาดว่าจะช่วยให้ปริมาณ น้ำมันคงคลังโลกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด สำนักงานพลังงานสากล (IEA) รายงานปริมาณน้ำมันคงคลังของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD Oil Stocks) ในเดือนมี.ค. ปรับลดลง 32.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 3,025 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของผู้ผลิตกลุ่มโอเปกในเดือนพ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นราว 250,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา มาอยู่ที่ระดับ 32.22 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยหลักๆ ปรับเพิ่มขึ้นจากไนจีเรีย ซึ่งท่อขนส่งน้ำมันดิบ Forcados กำลังการผลิต 200,000-250,000 บาร์เรลต่อวัน เริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง และลิเบีย หลังสถานการณ์ความไม่สงบคลี่คลายลง โดยล่าสุดปริมาณกำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 827,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากปัญหาทางด้านเทคนิคที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Sharara และปัญหาไฟฟ้าขัดข้องที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Messla และ Sarir คลี่คลายลง นอกจากนี้ยังคาดว่าปริมาณการผลิตจะปรับเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 1.1 – 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในเดือน ส.ค. 60
ข่าวเด่น