- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงราวร้อยละ 4 หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2.1 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 242.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีถึงร้อยละ 9 สาเหตุหลักเกิดจากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน และโรงกลั่นในสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการผลิตหลังโรงกลั่นบางส่วนกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง
- ตลาดน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดัน หลังกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศโอเปกในเดือน พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 336,000 บาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ 32.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากผู้ผลิตที่ได้รับข้อยกเว้นไม่ต้องลดกำลังการผลิตอย่างลิเบียและ ไนจีเรียเร่งผลิตและส่งออกน้ำมันดิบมากขึ้น
+ หากไม่รวมลิเบียและไนจีเรีย กำลังการผลิตของกลุ่มประเทศโอเปกเฉลี่ยอยู่ระดับ 29.729 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ค. ซึ่งนับเป็นการปรับลดกำลังการผลิตมากกว่าที่ตกลงไว้ที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการแสดงถึงความต้องการในการหนุนราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตทั้งในลิเบีย ไนจีเรียและสหรัฐฯ ยังคงเป็นที่ต้องจับตามองอย่างต่อเนื่อง
- หลายฝ่ายยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานในปี 2561 ที่คาดว่าจะปรับเพิ่มราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากประเทศนอกกลุ่มโอเปก (Non-OPEC) อย่างบราซิล แคนนาดาและสหรัฐฯ ขณะที่สำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดความต้องการใช้น้ำมันดิบจะเติบโตเพียง 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นราว 1.8 ล้านบาร์เรล และมีแนวโน้มที่จะถูกส่งมายังภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตน้ำมันเบนซินจากญี่ปุ่นปรับลดลงหลังโรงกลั่นในประเทศปิดซ่อม บำรุง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากแรงหนุนของอุปสงค์ที่ดีในภูมิภาค ขณะที่อุปทานยังคงตึงตัวเนื่องจากโรงกลั่นแห่งหนึ่งในประเทศอินเดียปิดซ่อม บำรุง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 44-49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 46-51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังซาอุดิอาระเบีย และชาติพันธมิตรเช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ บาห์เรน และเยเมน ประกาศตัดความสัมพันธ์กับกาตาร์ และตัดการติดต่อทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยกล่าวหาว่ากาตาร์ให้การสนับสนุนกับการก่อการร้าย ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้นักวิเคราะห์กังวลว่าความสัมพันธ์ของสมาชิกของกลุ่ม โอเปกจะเปราะบางมากยิ่งขึ้น และอาจกระทบต่อความร่วมมือเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปก
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับลดลง เนื่องจากคาดการณ์ว่าโรงกลั่นในประเทศจะปรับเพิ่มอัตราการกลั่นจากสัปดาห์ ก่อนหน้า ประกอบกับ ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบคาดว่าจะปรับลดลง โดยเฉพาะจากซาอุดิอาระเบียซึ่งต้องการสำรองน้ำมันดิบไว้ใช้สำหรับช่วงฤดู ร้อน อย่างไรก็ตาม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 2 มิ.ย. 2560 รายงานโดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ปรับเพิ่มขึ้น 3.3 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 513.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ซึ่งสร้างความกังวลว่าอุปทานน้ำมันดิบสหรัฐจะล้นตลาด
ตลาดยังคงกังวล กับความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง ท่ามกลางความคาดหวังว่าฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ จะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดอุปสงค์น้ำมันเบนซินในระยะเวลา 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงราวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 2 มิ.ย. 2560 ปรับตัวขึ้นราว 12.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 833.3 ล้านบาร์เรล
ข่าวเด่น