- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงราว 2 เปอร์เซ็นต์ โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลดแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 59 หลังถูกกดดันจากอุปทานน้ำมันดิบในตลาดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากประเทศลิเบีย และไนจีเรียซึ่งได้รับข้อยกเว้นในการปรับลดกำลังการผลิต
- กำลังการผลิตน้ำมันดิบของประเทศลิเบียปรับเพิ่มกว่า 50,000 บาร์เรลต่อวัน แตะระดับ 885,000 บาร์เรลต่อวัน และตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตได้จนถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในเดือน ก.ค. 60
- นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศไนจีเรียที่ ปรับเพิ่ม โดยการส่งออกน้ำมันดิบ Forcados สำหรับส่งมอบในเดือน ส.ค. 60 ได้ปรับเพิ่มเป็น 226,000 บาร์เรลต่อวัน โดยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกสำหรับส่งมอบในเดือน ก.ค. 60 ที่ 164,000 บาร์เรลต่อวัน
- จากความกังวลที่มีต่ออุปทานน้ำมันดิบล้นตลาด ผู้จัดการกองทุนปรับลดสถานะการถือครองสุทธิ (Net Long Position) ลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 โดยน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลด 24,366 สัญญา มาอยู่ที่ 283,157 สัญญา และน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลด 25,842 สัญญา มาอยู่ที่ 195,298 สัญญา
+ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกได้ให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิต น้ำมันดิบตามข้อตกลง โดยปริมาณการปรับลดกำลังการผลิตแตะระดับสูงสุดในเดือน พ.ค. ที่ 106 เปอร์เซ็นต์ มาจากการปรับลดของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปก 108 เปอร์เซ็นต์ และผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก 100 เปอร์เซ็นต์
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากถูกกดดันโดยอุปสงค์ของสหรัฐฯ ที่ต่ำกว่าคาดการณ์ และปริมาณการนำเข้าน้ำมันเบนซินของประเทศอินโดนีเซียที่ปรับตัวลดลง รวมถึงอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากการที่โรงกลั่นกลับมาดำเนินการหลังเสร็จสิ้นการ ปิดซ่อมบำรุง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปสงค์น้ำมันดีเซลของประเทศจีนที่ปรับตัวลดลงจากการห้ามทำประมงในทะเล จีนใต้ และอุปสงค์จากประเทศอินเดียที่เบาบางลงในช่วงฤดูมรสุม อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดีเซลยังมีแรงหนุนจากความต้องการในภูมิภาคเอเชียใต้และแอฟริกา
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 42-47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 45-50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินยังคงส่งผลกดดัน ต่อราคาน้ำมันดิบต่อเนื่อง แม้ว่าโอเปกจะสามารถตกลงยืดระยะเวลาข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตออกไปอีก 9 เดือน หลังกำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 835,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Sharara เปิดดำเนินการ และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในไนจีเรียที่เพิ่มขึ้น หลังน้ำมันดิบ Forcados กำลังการผลิตราว 200,000-250,000 บาร์เรลต่อวัน กลับมาดำเนินการส่งออก
ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐฯ อ่อนตัวลงในช่วงฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ โดยอุปสงค์น้ำมันเบนซินในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงกว่าร้อยละ 3.8 จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 9 มิ.ย. 2560 เพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 242.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีประมาณ 19.4 ล้านบาร์เรล
ปริมาณการน้ำมันดิบ ของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นต่อเนื่อง โดย Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด 16 มิ.ย. 2560 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 22 สัปดาห์ติดต่อกันมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ 747 แท่น ส่งผลให้สำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดในปี 2560 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้น 430,000 บาร์เรลต่อวันจากปีก่อนหน้า และจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องกว่า 780,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2561
ข่าวเด่น