+ ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังได้รับแรงหนุนจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ที่ระบุว่าการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงประมาณ 100,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมของปีที่ผ่านมา ลงมาแตะระดับ 9.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงมีสาเหตุมาจากพายุโซนร้อน Cindy ที่เคลื่อนตัวเข้าชายฝั่งของสหรัฐฯ ในอ่าวแม็กซิโก และการปิดซ่อมบำรุงแหล่งน้ำมันดิบในรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นเพียงแค่ปัจจัยชั่วคราวและคาดว่าระดับการผลิตน้ำมันดิบจะกลับมา เพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้
- นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 118,000 บาร์เรลขึ้นไปแตะระดับ 509.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ที่ได้คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะปรับตัวลดลง ประมาณ 2.6 ล้านบาร์เรล
- นักวิเคราะห์ยังคงมองว่าระดับราคาของน้ำมันดิบในตลาดโลกจะเคลื่อนไหวอยู่ใน กรอบ 40-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเท่านั้นใน 1-2 ไตรมาสข้างหน้านี้ เนื่องจากการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รวมไปถึงไนจีเรียและลิเบียซึ่งได้รับยกเว้นการลดกำลังการผลิต ยังคงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง และจะส่งผลทำให้ตลาดน้ำมันดิบกลับเข้าสู่สภาวะสมดุลช้าลง
- กลุ่มโอเปกยังไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดกำลังการผลิตลงไปมากกว่านี้หรือยืด ระยะเวลาข้อตกลงลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกและผู้ผลิตนอกกลุ่มออก ไปอีก ถึงแม้ว่าจะมีการประชุมระหว่างกลุ่มโอเปกและผู้ผลิตนอกกลุ่มในการหารือ เกี่ยวกับมาตรการต่อไปในการพยุงราคาน้ำมันดิบที่ประเทศรัสเซียในเดือนหน้า นี้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่มีแนวโน้มลดลงในประเทศเวียดนาม ประกอบกับแรงกดดันจากการส่งออกน้ำมันเบนซินจากประเทศจีน
ราคาน้ำมัน ดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดีเซลในประเทศจีนปรับตัวลดลงในเดือนที่ผ่าน มา หลังมีอุปสงค์จากภาคการเกษตรในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวในประเทศจีน นอกจากนี้ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมในประเทศ อินเดียและศรีลังกาอีกด้วย
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 42-47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 44-49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ตลาดยังคงกังวลกับการปรับเพิ่มขึ้นของปริมาณ การผลิตน้ำมันดิบของไนจีเรียและลิเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับการยเว้นจากข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิต โดยล่าสุด หลังท่อขนส่งน้ำมันดิบ Trans Forcados Pipeline กลับมาดำเนินการอีกครั้ง ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของไนจีเรียคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเกิน 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดรอบ 17 เดือน และปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนก.ค. ราว 0.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 0.885 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือนก.ค.
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับลดลง จากอัตราการกลั่นของโรงกลั่นในสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับ ความต้องการใช้น้ำมันในช่วงฤดูร้อนที่ปรับเพิ่มขึ้นในตะวันออกกลางโดยเฉพาะ ซาอุดิอาระเบีย ที่จะทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากซาอุดิอาระเบียมาสู่สหรัฐฯ ปรับลดลง โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 509.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลงราว 2.1 ล้านบาร์เรล
จับ ตาท่าทีของผู้ผลิตน้ำมันดิบเกี่ยวกับมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดิบที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคต หลังอิหร่านให้ความเห็นว่ากลุ่มโอเปกอาจพิจารณาปรับลดกำลังการผลิตมากกว่า 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
ข่าวเด่น