+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังได้รับแรงหนุนจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ที่รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าปรับตัวลดลง 6.3 ล้านบาร์เรลลงไปแตะระดับ 502.9 ล้านบาร์เรลซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนมกราคมในปีนี้ และปรับตัวลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 2.3 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงเป็นผลมาจากอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันใน สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 251,000 บาร์เรลต่อวัน
+ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง 3.7 ล้านบาร์เรลลงไปแตะระดับ 237.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังอุปสงค์น้ำมันเบนซินได้รับแรงหนุนจากฤดูท่องเที่ยวในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมากที่สุดของปี
- อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 88,000 บาร์เรลต่อวันขึ้นไปแตะระดับ 9.34 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังสองสัปดาห์ก่อนหน้าการผลิตน้ำมันดิบในบริเวณอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ ได้มีการชะลอการผลิตน้ำมันดิบเนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน Cindy ที่เคลื่อนตัวเข้าชายฝั่งของสหรัฐฯ ในเวลานั้น
- Bank of America Merrill Lynch สถาบันการเงินขนาดใหญ่ได้ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในปี 2560 และ 2561 จากระดับ 54 และ 56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ลงมาอยู่ระดับ 52 และ 54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้ปรับคาดการณ์อุปทานที่เพิ่มขึ้นจากลิเบีย ไนจีเรียและสหรัฐฯ ประกอบกับอุปสงค์ที่อ่อนแอลง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากได้รับแรงหนุนจากปริมาณสต็อกน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับมีอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศอินเดียและอิหร่าน
ราคาน้ำมัน ดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังแข็งแกร่ง นอกจากนี้ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงหนุนจากโรงกลั่นในประเทศอินเดียที่ปิด ซ่อมบำรุงในช่วงนี้อีกด้วย
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 43-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 45-50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับตัวลดลง จากโรงกลั่นน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มคงกำลังการกลั่นในระดับสูงต่อเนื่อง รวมถึงปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จากตะวันออกกลาง โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบีย คาดจะปรับลดลง โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 6.3 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 502.9 ล้านบาร์เรล
การผลิต น้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นต่อเนื่องมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี อย่างไรก็ตาม ทิศทางการเพิ่มขึ้นเริ่มชะลอตัวลงหลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก จากความกังวลปัญหาอุปทานล้นตลาด โดยจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพียง 94 แท่นในไตรมาส 2 ชะลอตัวลงจากไตรมาส 1 ที่เพิ่มขึ้นกว่า 137 แท่น
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของไนจีเรียและลิเบียมีแนวโน้มเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นต่อเนื่อง โดยไนจีเรียคาดจะกลับมาสามารถส่งออกน้ำมันดิบที่ระดับ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ส.ค. นี้ ซึ่งระดับดังกล่าวเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 17 เดือน ในขณะที่ลิเบียปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในสิ้นเดือน ก.ค. นี้
ติดตามการประชุมระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 24 ก.ค. ว่าจะปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมหรือกำหนดเพดานการผลิตของลิเบียหรือ ไนจีเรีย เพื่อช่วยสนับสนุนราคาน้ำมันดิบเพิ่มเติมหรือไม่
ข่าวเด่น