ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
สถานการณ์น้ำและการเตรียมพร้อมรับมือน้ำหลากในลุ่มน้ำยม จ.สุโขทัย


 ผลกระทบจากพายุโซนร้อนตาลัสทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำยมเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังไม่มีน้ำเอ่อล้นตลิ่ง กรมชลประทาน วางแผนรับมือก่อนน้ำไหลลงสู่เมืองสุโขทัย 

 

นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า พล..ฉัตรชัย  สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มต่ำที่มีน้ำท่วมขัง ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจ พร้อมกับเข้าไปบรรเทาทุกข์และลดความเดือดร้อนให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งขณะนี้มีระดับน้ำสูงขึ้นตามปกติของฤดูกาล และมีน้ำท่วมเป็นบางแห่งตามวิถีประจำที่เคยเกิดขึ้นมาแต่ครั้งอดีต ซึ่งกรมชลประทานไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนและบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 

สำหรับการติดตามสภาวะอากาศและสถานการณ์น้ำของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) พบว่าในช่วงวันที่ 17-23 ..60 ประเทศไทยจะมีฝนมากขึ้นสำหรับภาคเหนือตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 17-19 ..60 บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

สถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน(19 ..60)มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 42,954 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2559 รวม 8,873 ล้าน ลบ.. มีน้ำใช้การได้ 19,135 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 37 (ปี 2559  มีน้ำใช้การได้ 10,269 ล้าน ลบ..)สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 32,200 ล้าน ลบ.. เฉพาะในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 11,708 ล้าน ลบ.. คิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2559 รวม 2,958 ล้าน ลบ.. มีปริมาณน้ำใช้การได้ 5,012 ล้าน ลบ.. คิดเป็นร้อยละ 28 (ปี 2559 มีน้ำใช้การได้ 2,054 ล้าน ลบ..) สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 13,100 ล้าน ลบ..

สำหรับแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน(19 .. 60)มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานีC.2 .เมืองนครสวรรค์ 1,280 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 1,291 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 17 .. 60)แนวโน้มลดลงเล็กน้อย ประกอบกับปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังที่จะไหลมาสมทบมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเริ่มทรงตัว กรมชลประทานได้ควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ 1,166 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ยังคงมีน้ำท่วมที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำนอกคั้นกั้นน้ำบางพื้นที่ ในเขตอ.เสนา .บางบาล  .พระนครศรีอยุธยา ซึ่งกรมชลประทาน ได้ทำการควบคุมปิด-เปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ .สมุทรปราการ ตามจังหวะการขึ้นลงของน้ำทะเล เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

ด้านดร.ทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำยมบริเวณจ.แพร่ว่า ล่าสุด(19 .. 60) ระดับน้ำในแม่น้ำยมที่สถานี Y.20 บ้านห้วยสัก .สอง ลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือเพียง 353 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 6.58 เมตร ซึ่งปริมาณน้ำก้อนใหญ่ได้ไหลผ่านลงสู่เขตเทศบาลเมืองแพร่แล้ว ในช่วงเช้าของวันนี้(19 .. 60)วัดปริมาณน้ำที่สถานี Y.1C บ้านน้ำโค้ง .เมืองแพร่ได้ 724 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 1.76 เมตร ไม่มีเหตุการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งในเขตจ.แพร่แต่อย่างใด

สำหรับปริมาณน้ำในแม่น้ำยมจากจ.แพร่ จะไหลลงสู่จ.สุโขทัยเป็นลำดับต่อไป คาดว่าปริมาณน้ำจะมาถึงบริเวณจ.สุโขทัยประมาณวันที่ 21 .. 60 นี้ กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำหลากลุ่มน้ำยม ก่อนไหลลงสู่ตัวเมืองสุโขทัย ดังนี้ 

1. เร่งระบายน้ำบริเวณเหนือประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

2. เร่งระบายน้ำในคลองยมน่าน แม่น้ำยสายเก่า แมน้ำยมสายหลัก ลงสู่แม่น้ำน่านให้เร็วที่สุด

3. เมื่อปริมาณน้ำจำนวนมากจากสถานี Y.14 .ศรีสัชชนาลัย ไหลลงมาถึงบริเวณประตูระบายน้ำ

บ้านหาดสะพานจันทร์ จะทำการชะลอน้ำ ดังนี้ 

- ผันน้ำเข้าคลองผันน้ำสวรรคโลก-พิชัย (ยม-น่าน) ผ่าน ปตร.หกบาท ในอัตรา 100 ลบ../วินาที ลงสู่แม่น้ำน่าน

- ใช้พื้นที่ว่างเหนือปตร.บ้านหาดสะพานจันทร์ ชะลอน้ำและควบคุมปริมาณน้ำให้ไหลผ่านลงมาถึงสถานี Y.4 ในอัตราไม่เกิน 500 ลบ../วินาที พร้อมกันนี้ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังจังหวัดสุโขทัย ให้เสริมกระสอบทราย(Bigbag) ในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย บริเวณที่ยังก่อสร้างกำแพงป้องกันตลิ่งไม่แล้วเสร็จ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะมาถึงอีกประมาณ 4 วันข้างหน้า 

ทั้งนี้ ได้ให้โครงการชลประทานจังหวัดทุกจังหวัด แจ้งสถานการณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อแจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำ สำหรับในส่วนกลางกรมชลประทานได้ประสานกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้แจ้งเตือนผู้ว่าราชการจังหวัดอีกทางหนึ่งด้วย

ในส่วนของการเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์น้ำหลาก นั้น ได้สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่ ดำเนินการติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงทุกแห่งแล้ว รวมทั้งเตรียมพร้อมรถแบคโฮ รถขุด               รถเทรลเลอร์ เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ และเครื่องผลักดันน้ำ ให้สามารถนำไปช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมได้ทันที ทั้งนี้ ได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา สำหรับพี่น้องประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือหรืออยากสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ สามารถติดต่อมาได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) กรมชลประทาน โทร.สายด่วน 1460


บันทึกโดย : วันที่ : 19 ก.ค. 2560 เวลา : 16:07:49

19-09-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 19, 2024, 4:58 pm